แก้วกานต์ กองโชค ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยจำนวน 14 แห่งที่ไม่มีอธิการบดี ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นั่นหมายความว่า “กระบวนการสรรหาอธิการบดี” ของแต่ละแห่งยังไม่ได้ข้อยุติ จนให้ต้องการมีแก้ไขปัญหา โดยใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มหาวิทยาลัยที่ถูกคำสั่งไป 2 แห่งก่อนหน้านี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) ชัยภูมิ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) สุรินทร์ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาอธิการบดี คือมหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ก็ถูกคำสั่งให้รักษาการอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัยพ้นจากตำแหน่ง ตามคำสั่ง คสช.เรื่องการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา แปลไทยเป็นไทยก็คือ ปลดจากตำแหน่ง นั่นเอง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) บอกนักข่าวว่า เขาได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 1441/2559 เรื่อง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และแต่งตั้งบุคคลให้ปฏิบัติหน้าที่แทนในมหาวิทยาลัยบูรพา ตามความในข้อ 9 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2559 โดยมีคำสั่งดังนี้ 1.ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับผลจากตำแหน่งหน้าที่ 2.ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี หรือผู้รักษาการแทนอธิการบดี และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับผลจากตำแหน่งหน้าที่ 3.แต่งตั้งคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้ นายอานนท์ เที่ยงตรง เป็นประธานกรรมการ และมีกรรรมการประกอบด้วย นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ นายนิติพล นิติไกรพจน์ นายสุนทร บุญญาธิการ นายสุมนต์ สกลไชย นายสมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ นายบุญปลูก ชายเกตุ พล.ต.ต.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ นายสนธิ เตชานันท์ และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ นอกจากนี้เขายังได้ลงนามในคำสั่ง ศธ. ที่ สกอ.1142/2559 เรื่อง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งจากตำแหน่งหน้าที่และแต่งตั้งบุคคลให้ปฏิบัติหน้าที่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยแต่งตั้งคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ดังนี้ ให้ นายสุนทร บุญญาธิการ เป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วย นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ พล.ต.อ.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ นายสุมนต์ สกลไชย พล.ต.ต.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ นายอานนท์ เที่ยงตรง นายมานิตย์ จุมปา นายอารมย์ ตัตตะวะศาสตร์ นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ มหาวิทยาลัยบูรพานั้น มีปัญหาเรื่อง “การสืบทอดอำนาจอธิการบดี” โดย ศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ ผู้เคยนั่งเก้าอี้นี้มาแล้วถึง 2 สมัย แต่เนื่องจากระเบียบของมหาวิทยาลัย ไม่สามารถนั่งได้ติดต่อกัน 3 สมัย ทำให้ส่งตัวแทน นั่นคือ ศ.นพ. สมพล พงศ์ไทย เข้ามาทำหน้าที่อธิการบดี ทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 31 พฤาภาคม 2553 ถึง 30 พฤาภาคม 2557 จนทำให้สามารถร้างอำนาจของตัวเองขึ้นมาได้ จึงเกิด “ความอยาก” ในเก้าอี้อธิการบดีอีกครั้ง แต่ตามประกาศของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 ไม่ปรากฎชื่อ ศ.นพ. สมพล รายชื่อที่ประกาศ ประกาศด้วย รองศาสตราจารย์ชารี มณีศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วิรุณราช และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ แต่มีการงัดข้อกฎหมายเกี่ยวกับ คำพิพากษาของศาลอุธรณ์ จนส่งผลต่อสถานภาพของ ดร.สาธิต ปิติวรา นายกสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยบูรพา จนทำให้ “ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล” นายกสภามหาวิทยาลัย ลาออกจากตำแหน่งเมื่อการประชุมครั้ง 3/2557 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 แล้วมีการแต่งตั้ง ศ.นพ.สมพล พงศ์ไทย คนที่ไม่มีชื่อเป็นแคนดิเดท ขึ้นรักษาการอธิการบดี ทำให้การประท้วงวุ่นวายกันทั่วมหาวิทยาลัยนานนับปี ตัวอย่างเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วิรุณราช ผู้ได้รับการสรรหาเป็น 1 ในผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลับบูรพา รศ.ดร.เสรี ชัดแช้ม รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.มานะ เชาวรัตน์ คณบดีคณะโลจิสติกส์ รศ.ดร.ประเสริฐ มีรัตน์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคคลากรในมหาวิทยาลัยกว่า 100 คนได้รวมตัวคัดค้านกรณีการแต่งตั้งรักษาการอธิการบดี สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกที่มี ศ.(เกียรติคุณ) เกริกเกียรต ิ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และศ. ดร.สิน พันธุ์พินิจ เป็นอธิการบดี ก็มีความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับอธิการบดี จนมีการตั้งกรรมการสอบสวน และกรรมการสภามหาวิทยลัยมีมติ 20 ต่อ 1 ถอดถอนอธิการบดี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2558 จนกระทั่งถูกจัดระเบียบไปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า กระบวนการสืบทอดอำนาจผ่านการสรรหาในมหาวิทยาลัย เป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน !!