ศาสตราจารย์ เดวิด สไตน์เบอร์ก David Steinberg แห่งมหาวิทยาลัยในกรุงวอชิงตัน เขียนบทความเรื่อง Monachs and men – พระเจ้าแผ่นดินและคนทั่วไป ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Far Eastern Economic Review เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นความคิดเห็นของฝรั่งต่างชาติ
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แปลลงพิมพ์ในคอลัมน์ “ซอยสวนพลู” เนื้อความตอนหนึ่งว่า “พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงแสดงบทของผู้ไกล่เกลี่ยด้วยศีลธรรมหลายครั้งหลายหนแล้วในอดีต เมืองไทยนั้นโชคดี พระเจ้าแผ่นดินไทยมิชั่วแต่จะเป็นประมุขแห่งรัฐเท่านั้น แต่ทรงเป็นที่เคารพบูชาของคนทั้งปวงใน,ฐานะที่ทรงเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาด้วย และพระมหากษัตริย์ไทยนั้น ได้ทรงวางพระองค์ไว้เหนือการเมือง พระองค์ทรงได้รับความจงรักภักดี จากชนชั้นสูงและประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป
เป็นความจริงที่ว่าบทบาทนี้ชนชั้นสูงแห่งประเทศไทยได้พยายามทำให้เกิดขึ้นนานมาแล้วเป็นสิบ ๆ ปี แต่ว่าถ้าจะถือว่าเป็นปัจจัยของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติแล้ว ก็นับว่าได้รับความสำเร็จมาก รัฐบาลที่ถูกต้องในทางกฎหมายก็ดี หรือการใช้อำนาจโดยรัฐบาลก็ดี ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบขององค์พระมหากษัตริย์ บทบาทนี้มีมากน้อยเท่าไรในพระองค์ชองพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันหรือว่าจะเป้นพระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็ได้นั้น เป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต
แต่อะไรเกิดขึ้นกับประเทศซึ่งไม่มีพลังทางศีลธรรมและทางการเมืองและไม่มีองค์พระมหากษัตริย์ผู้จะทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติหรืออุดมการณ์แต่อย่างใด ?
อะไร ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ทำให้รัฐกลายเป็นชาติขึ้นมา ? บุคคลใดหรือสถาบันใดสามารถจะใช้บทบาททำให้พลังซึ่งขัดแย้งต่อกันและกันเข้ามารวมได้เพื่อตัดสินใจ อย่างน้อยก็ชั่วคราวในเรื่องวิกฤติการณ์แห่งอำนาจ
ในสังคมบางแห่ง บทบาทนั้นอาจจะใช้ได้โดยศาลสถิตยุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น ศาลสูงสุดในสหรัฐอเมริกา แต่ถึงอย่างนั้นศาลสูงสุดนั้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งมากมายหลายอย่าง และถูกจำกัดในอำนาจอย่างมากในเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง และในเรื่องคุณสมบัติอันเป็นที่เชื่อถือได้ ประเทศในเอเชียส่วนมากแล้ว ขบวนการศาลยุติธรรมก็มีความผูกพันอยู่กับรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีอำนาจในทางศีลธรรมเช่นนั้น...
ผู้นำทางศาสนานั้นอาจยอมรับได้มากกว่า เพราะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในทางศีลธรรม แต่ในประเทศไทยนั้น แม้สมเด็จพระสังฆราชในพระพุทธศาสนาก็ไม่มีอำนาจในทางศีลธรรมเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์
ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น บทบาทที่ศาสนาคาทอลิกอันเป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือ จะเป็นในเรื่องการเมืองหรือการอื่น ๆ ก็ตามที ดูออกจะน้อยลงไปกว่าแต่ก่อน คงจะเหลืออยู่ก็แค่ในทางศาสนาเท่านั้น และสำหรับศาสนาอิสลามแล้ว นอกจากประเทศในตะวันออกกลาง ผู้นำศาสนาในประเทศอื่น ๆ ก้ไม่มีอำนาจเท่าที่จำเป็น
ผู้นำท่งการเมืองซึ่งได้นำเอกราชมาให้แก่ประเทศของตนนั้น ถึงทุกวันนี้ก็พากันหายหน้าหายตาล้มตายหายจากกันไปหมด เช่น ท่านผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อเอกราชได้แก่ท่านอองซาน สแกนโน และโฮจิมินห์นั้น ก็สิ้นบุญไปหมดแล้ว มหาตมะ คานธี และประธานเหมาเจ๋อตง ก็เช่นเดียวกัน”
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช สรุปเนื้อหาสำคัญของบทความนี้ไว้ว่า มองไปแล้วก็ยังไม่มีประเทศไหนในเอเชียที่จะมีผู้ทรงไว้.ซึ่งบทบาทอันสำคัญยิ่งเช่นพระมหากษัตริย์ของเมืองไทยได้