ชัยวัฒน์ สุรวิชัย พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช 2489 พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย อันเป็นคุณูประโยชน์ยิ่งต่อพสกนิกรไทย รวมถึงด้านการเมืองการปกครอง แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระมหากษัตริย์ไทย ทรงดำรงตนเป็นกลางทางการเมือง และ ให้ระบบการเมืองของไทยขับเคลื่อนไปตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย แต่ในฐานะองค์พระประมุขของชาติ ทรงมิได้เพิกเฉยละเลย พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง อาทิ การลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรธน.ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา หรือแม้ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆ ก็ทรงยื่นพระหัตถ์เข้าช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเสมอมา การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง พระองค์ได้ทรง พระกรุณาช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติจากวิกฤตการณ์ทั้งปวงและทุกครั้งทรงนำ ประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติสุขได้โดยเร็ว ซึ่งทุกครั้ง ด้วยเดชะพระบารมีด้วยพระปรีชาสามารถ ด้วยแรงศรัทธาเทิดทูนและด้วยความจงรักภักดี ที่อาณาประชาราษฎร์มีต่อพระองค์ ก็ได้ทรงขจัดปัดเป่ายุติภัยพิบัติและทรงนำบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาวะปกติโดย เร็ว พสกนิกรของพระองค์ก็ได้กลับคืนสู่ความผาสุกร่มเย็นเช่นเดิมพระเกียรติคุณจึง แผ่ไพศาล เป็นที่แซ่ซ้องสดุดีทั่วไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก การแก้ไขวิกฤตของชาติ ด้วยพระบารมีของในหลวง ทรงวางพระองค์อย่างพอเหมาะพอดี ในการใช้พระราชอำนาจ เพื่อการแก้ไขวิกฤตของชาติ เพราะทรงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ พระมหากษัตริย์ภายใตรัฐธรรมนูญ วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นฯ ในหลวงได้ทรงเตือนสติผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย ให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติโดยทรงเน้นว่า“พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจหน้าที่” และได้พระราชทานแนวคิดว่าสถาบันตุลาการควรร่วมปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ ซึ่งเป็นผลให้ทุกฝ่ายต่างน้อมรับพระบรมราโชวาทมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในชาติ ( พชร ยุติธรรมดำรง ) พระราชอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจของการเป็นพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระองค์อย่างพอเหมาะพอดี เรื่องการใช้พระราชอำนาจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติเป็นอย่างมาก เพราะทรงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสมอ การพระราชทานแนวทางแก้ไขความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์ในชาติทั้งในกรณี "14 ตุลาวันมหาวิปโยค" กรณี "พฤษภาทมิฬ" และกรณี "วิกฤตการณ์เลือกตั้งเมษายน 49" จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยุติวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน เพื่อระงับความเสียหายที่เกิดขึ้น และเตือนสติแก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้ระลึกถึงความถูกต้องชอบธรรม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แก่พสกนิกรชาวไทยทุกคน ( รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ ) เหตุการณ์ที่ผ่านมา เป็นความขัดแย้ง ระหว่าง “ ประชาชน กับ ทหาร” ได้ยุติลงด้วยพระบารมีของในหลวง แต่เหตุการณ์ยุคนายกฯพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับ ประชาชน ทำให้ในหลวงของปวงชนชาวไทย รักประชาชนทุกคนของพระองค์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ( พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ) ความสุขอยู่ที่ประชาชน และความทุกข์ อยู่ที่ไม่สามารถแก้ไขความทุกข์ของประชาชนได้ ท่านจึงทรงใช้เวลา70 ปี ลงพื้นที่ ศึกษาวิเคราะห์ หาทางแก้ทุกปัญหาให้ประชาชนของพระองค์ เมื่อประชาชนมีความสุข และเกิดความสงบสุข ก็จะนำความสุขมาสู่ในหลวง แต่ในหลวงทรงไม่สบายพระทัย ในเรื่องความแตกแยกและขัดแย้งกันของประชาชน ที่แก้ไขไม่ได้ และไม่สามารถเข้าไปร่วมแก้ไขได้ เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเด็น และสิ่งใดที่ในหลวงและสมเด็จเป็นห่วงมากที่สุด ….. พูดตรงๆ ทั้งสองพระองค์ เป็นห่วงความสามัคคีกลมเกลี่ยวกันในชาติไทย เพราะว่าถ้าคนไทยแตกแยกกัน ศัตรูภายนอกจะทำลายเราได้ง่ายมาก คนไทยเราต้องเข้มแข็ง มีมิตรกะจิตมิตรกะใจ ต่อกัน สามัคคีกัน ชาติจึงจะเจริญได้ ……เหตุการณ์ปีที่แล้ว ที่มีการเผาบ้านเผาเมืองกัน อันนั้นนำความทุกข์มาสู่พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเหลือเกินพระเจ้าอยู่หัวนี่ จากที่ทรงหัดเดินได้ ตอนนั้น ทรงทรุดเลย เป็นไข้ ต้องให้น้ำเกลือ นอนแว๊บเลย ….. สมเด็จเสียพระทัยมากเหลือเกิน ท่านรับสั่งว่า “ คราวที่เราถูกเผาเมืองนั้น ในสมัยเสียกรุง ต่อ พม่า กรุงศรีอยุธยา คราวนี้ ทรงสะเทือนใจยิ่งกว่า เพราะเป็นการที่ คนไทยเผาเมืองไทยเอง “( องค์หญิงเล็ก ทรงให้สัมภาษณ์ รายการวู๊ดดี้ ) ในการแก้ไขความขัดแย้งของประชาชนและประเทศ ในหลวงได้ทรงให้พระบรมราโชวาทไว้ว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ผู้นำรัฐบาล และแม่น้ำ 5 สาย ข้าราชการ ตำรวจทหารและกระบวนการยุติธรรม และประชาชนจะต้องนำใส่เกล้า และปฏิบัติ ให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ประชาชนมีความสุขได้จริง