ผลกระทบทั้งจากปัญหาหมอกควัน ฝุ่น PM2.5 เป็นสัญญาณเตือนที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ของภาวะโลกร้อน ในขณะทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ที่จะต้องถือเป็นวาระของโลกในการที่มวลมนุษยชาติจะร่วมกัน “หยุดโลกร้อน”นี้ไว้ให้ได้ ไม่เพียงส่งต่ออนาคตที่ดีให้กับลูกหลาน หากแต่เราอาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางร้ายในยุคที่เราๆท่านๆยังมีชีวิตอยู่ท หากไม่เริ่มต้น ละเลย หรือเป็นส่วนหนึ่งขอผู้ก่อการให้เกิดโลกร้อน

การพัฒนา อุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุมชนเมือง อาจเป็นการซ้ำเติมวิกฤติโลกร้อน  นอกจากเหนือไปจากใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆเข้ามาปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรมเพื่อลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งการณรงรงค์ไม่ซื้อ ไม่ใช้สินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว

ประเทศไทยเอง นับว่ายังโชคดีอยู่มาก ที่มีปราชญ์แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องน้ำ อย่างพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง “น้ำ” อย่างจริงจังและลึกซึ้ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ว่า “น้ำคือชีวิต หากไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้” พระราชทานแนวพระราชดำริว่าการทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำจำนวนมากเป็นเหตุให้เกิดความแห้งแล้ง ก่อให้เกิดภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน และสร้างความเดือนร้อนให้แก่ประชาชน  

จึงมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ต้นน้ำเกิดขึ้นหลายโครงการ ที่สำคัญได้แก่ โครงการหลวงและศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ้องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานคำแนะนำให้แก่ราษฎรเรื่องการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและช่วยฟื้นฟูอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำโดยใช้วัสดุธรรมชาติก่อสร้าง ตามหลักความเรียบง่ายและประหยัด

พร้อมกันนี้ ยังมีโครงการพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ได้แก่ โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฝนแล้ง  ฝนทิ้งช่วง  และฝนไม่ตกในพื้นที่เกษตรที่ต้องการ และในช่วงวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 โครงการฝนหลวงก็ได้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา

 โครงการแก้มลิง โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน กังหันน้ำชัยพัฒนาช่วยบำบัดน้ำเสีย โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลม โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นโครงการป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็ม และการพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แก้ปัญหาน้ำท่วม และสำหรับใช้เป็นพลังงานผลิตไฟฟ้า เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี -สระบุรี เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากเราเร่งนำแนวทางตามพระราชดำริไปขยายผลต่อยอดและบริหารจัดการให้ครอบคลุมและทั่วถึง จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับภาวะโลกร้อนได้