ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทางออนไลน์อีกระดับ หลังข้อมูลคนไทย 55 ล้านคนที่อ้างว่าถูกแฮก โดยแฮกเกอร์9near คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
ฟากสหรัฐอเมริกา สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ หรือFBI ได้ออกมา เตือนว่าแฮกเกอร์ได้ทำการปล่อยปล่อยมัลแวร์หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ทำให้สามารถเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้บริการชาร์จแบตเตอรี่ผ่านตู้ชาร์จเคลื่อนที่สาธารณะ จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่เคลื่อนที่สาธารณะแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามสนามบิน โรงแรมหรือศูนย์การค้า และควรพกพาอุปกรณ์ชาร์จและสายยูเอสบีของตนเอง แล้วใช้ปลั๊กไฟแทน
สำหรับบ้านเรา ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวกรณีสายชาร์จดูดเงิน แต่สุดท้ายกลับพบเกิดจากการติดตั้งแอปฯ หาคู่ของปลอม Sweet Meet ลงในมือถือ ไม่เกี่ยวกับสายชาร์จดูดข้อมูลตามที่ปรากฏเป็นข่าว แต่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ออกมายระบุว่า เรื่องสายชาร์จที่ดูดข้อมูล หรือแฮ็กระบบโทรศัพท์นั้นมีอยู่จริง และมีลักษณะเหมือนกับสายชาร์จปกติทั่วไป ลักษณะการใช้จะเป็นไปตามปกติคือเป็นสายชาร์จที่มีหัวเสียบ 2 ด้าน เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ และเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ที่รองรับทั้งระบบปฏิบัติการแบบแอนดรอยด์ ไอโอเอส ยูเอสบี การทำงานของสายชาร์จจะเป็นระบบไวไฟ (Wi-Fi) ถ้าแฮกเกอร์อยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่ผู้ใช้งานที่อยู่ระหว่างกำลังใช้อุปกรณ์ แฮกเกอร์สามารถเชื่อมต่อกับสายชาร์จนี้ และแฮ็กข้อมูลของผู้ใช้งานได้ ซึ่งกลไลการทำงานการดูดข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากระบบที่ฝั่งไว้ในในหัวสายชาร์จ โดยที่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้ แต่จะทำได้ในรัศมีที่ไม่ไกลมากนัก
ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการชาร์จโทรศัพท์เคลื่อนที่ในที่สาธารณะน่าจะเป็นสิ่งที่ดี และการพกพาแบตเตอรี่สำรอง น่าจะเป็นทางออกที่ปลอดภัยกว่า ในขณะเดียวกันก็ดูแลป้องกันตนเอง เพื่อให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์
1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร. หรือที่อยู่
2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน รหัสบัตรต่างๆ
3. ไม่ออกไปพบคนรู้จักตามอินเทอร์เน็ต หรือควรพาเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้าย
4. ระมัดระวังการซื้อของออนไลน์ รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขายให้ดีๆ
5. ไม่บันทึก UserName/PassWord ขณะใช้คอมพ์สาธารณะ เพราะอาจโดนสวมรอยและนำข้อมูลไปใช้ในทางผิดๆ ได้
6. ไม่บันทึกภาพวิดีโอไม่เหมาะสมบน คอมพ์ หรือบนมือถือ เพราะถึงแม้คุณจะลบไฟล์นั้นไปแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์จะยังตกค้างอยู่แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้
7. จัดการกับอีเมลขยะ เพราะถ้าเผลอไปเปิดอ่าน อาจถูก Spyware ซึ่งเป็นช่องทางให้แฮกเกอร์ขโมยข้อมูล หรือถูกไวรัสเล่นงานคอมพ์ของเราได้
8. ระวังการใช้เว็บไซต์ ไม่ควรเข้าเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้ใจเพราะอาจติด Spyware ได้เช่นกัน
9. ใช้รหัสผ่านที่เดายาก เพื่อป้องกันการแฮกเกอร์ รหัสผ่านที่ดีไม่ควรสั้นเกินไป และมีอักขระพิเศษ (@#$%-)
10. อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เพราะถ้าเหล่าแฮกเกอร์รู้รหัสผ่านของบัญชีหนึ่งๆ แล้ว จะทำให้พวกเขาเข้าไปโจมตีบัญชีอื่นๆ ได้ทันทีนั่นเอง (เพจสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)