ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายรัฐบาล ดูเหมือนว่าจะมีประเด็นปัญหาที่ท้าทายต่อ จริยธรรมปรากฏขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ในแวดวงข้าราชการ            

ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมอดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่ชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรณีเรียกรับสินบนการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่ง และล่าสุด กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกรับเงินนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่ทั้งสองกรณีเป็นข่าวโด่งดัง โดยเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกรับเงินนั้น กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในช่วงที่เครื่องยนต์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ อย่างการท่องเที่ยว กำลังเร่งเครื่องฟื้นฟูเศรษฐกิจ

“อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เห็นว่าการกระทำที่จะมี คุณค่าทางศีลธรรมได้นั้น ต้องเป็นการกระทำที่ เกิดจากเจตนาที่ถูกต้อง หรือเจตนารมณ์ที่ดี (good will)คานท์จึงเห็นว่าจริยธรรมนั้นต้องเกิดจากเจตนา ที่ดีเป็นพื้นฐาน มิใช่พิจารณาจากผลที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เจตนารมณ์ที่ดีย่อมนำไปสู่ผลที่ดีอยู่แล้ว หากผล ที่เกิดไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ก็เป็นเพราะปัจจัย เกื้อหนุนอื่นไม่เพียงพอหรือมีปัจจัยอุปสรรคอื่นมา ขัดขวางแต่ผู้มีเจตนาที่ดีควรได้รับการสรรเสริญและ ปกป้อง 6.แนวคิดว่าด้วยกฎธรรมชาติ-แนวคิดนี้ ถือว่าธรรมชาติมีกฎที่กำหนดว่ามนุษย์ควรทำอะไร ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดีกฎแห่ง จริยธรรมจึงเป็นกฎของความควรไม่ควร ทั้งนี้ กฎธรรมชาติคือกฎแห่งศีลธรรมโดยตัวของมันเอง เพราะสิ่งที่เราควรทำนั้นถูกกำหนดอยู่แล้วตาม ธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราควรพิจารณา ธรรมชาติของเราในฐานะที่เป็นมนุษย์ว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราในการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็น สมาชิกคนหนึ่งในสังคม เพราะฉะนั้น ไม่ต้องถามใคร ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี เพียงแต่เราดูธรรมชาติของเรา ในฐานะที่เป็นมนุษย์ และเป็นสมาชิกคนหนึ่ง ในสังคม เราก็ต้องมีเสรีภาพและความสามารถที่จะ ทำให้ตนเองและผู้อื่นเกิดความสุขได้เสรีภาพและ ความสามารถในการกระทำจึงเป็นสิทธิตามธรรมชาติ ไม่ใช่สิทธิที่รัฐกำหนดให้ที่เป็นสิทธิก็เพราะมนุษย์ จำเป็นต้องมี เพื่อทำหน้าที่ของมนุษย์ได้อย่างดี และขณะเดียวกันสิทธินี้ก็เป็นสิทธิทางศีลธรรมด้วย” (อ้างอิงจากบทความของ ศาสตราจารย์ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ จริยธรรม สำหรับ นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ombstudies.ombudsman.go.th/download/Journals/ebook55_1-12.pdf)

219 ปีที่ “คานท์”จากไป สถานการณ์จริยธรรมของสังคมยังคงดำดิ่งลงสู่ก้นเหว แน่นอนว่า ข้าราชการนั้นมีทั้งผู้ที่ประพฤติปฏิบัติดี และที่ไม่อยู่กับร่องกับรอยอยู่บ้างปะปนกัน

 แต่เราจะเอา “น้ำดี” ไล่ “น้ำเสีย” อย่างไร ไม่ให้สุดท้ายน้ำดีก็ถูกกลืนหายเป็นน้ำคลำไปด้วย การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จึงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาจริยธรรม ในทุกองคายพยพ ไม่เฉพาะข้าราชการแต่นักการเมือง หรือนาย หัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก