ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผย “10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ปี 2566” ได้แก่ 1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม 2.ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โซเชียลมีเดียและออนไลน์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 3.ธุรกิจด้านฟินเทค (Fintech) และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจอีเวนต์

4.ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ YouTuber การรีวิวสินค้า และอินโฟเอนเซอร์ ธุรกิจโฆษณา และสื่อออนไลน์ 5.ธุรกิจแพลตฟอร์มธุรกิจตัวกลาง หรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจ Matching เช่น แพลตฟอร์ม หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถ อื่น ๆ

6.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ 7.ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจโมเดิร์นเทรด ร้านค้าปลีก สมัยใหม่ 8.ธุรกิจโลจิสติกส์ ดีลิเวอรี่ คลังสินค้า ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร และอื่น ๆ 9.ธุรกิจอีสปอร์ต ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 10.ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจความเชื่อความศรัทธา สายมูเตลู หมอดู ฮวงจุ้ย ธุรกิจบันเทิง เช่น ละคร หนังซีรีย์วาย และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา ใบกระท่อม

ขณะที่ 10 ธุรกิจดาวร่วง ได้แก่ 1.ธุรกิจฟอกย้อม ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร หนังสือพิมพ์ที่เป็นรูปแบบกระดาษ 2.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน ธุรกิจโรงพิมพ์ การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ 3.ธุรกิจคนกลาง 4.ร้านขายหนังสือ 5.ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก 6.ธุรกิจร้านถ่ายรูป ธุรกิจหัตถกรรม 7.ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือ หรือเสื้อผ้าโหล 8.ธุรกิจคลิปโต 9.โรงเรียนเอกชน 10.ธุรกิจร้านโชห่วย

ที่น่าสนใจก็คือ ในอันดับที่ 8 มีธุรกิจคริปโต ติดเข้ามาในอันดับดาวร่วง เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ตลาดคริปโตเข้าสู่วิกฤติปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง  หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลกระทบโดยตรง  ทำให้นักลงทุนย้ายการลงทุนจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

ในส่วนของธุรกิจดาวร่วงนั้น บรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย คนในแวดวงสื่อบ้านเราได้รับผลกระทบกันมาอย่างหนักหน่วงยาวนาน  เพื่อนในบรรณภิภพล้มหายตายจาก อำลาแผงหนังสือไป แม้บางรายจะอวตารมาในรูปแบบของออนไลน์ก็ตาม  ขณะที่มีการปรับตัวไปสู่มัลติมีเดีย แต่บางสำนักก็ยังหายใจรวยริน ซึ่งต้องปรับกลยุทธ์และวิธีการ ทั้งการบริหารจัดการและทิศทางการนำเสนอข่าว ที่ปัจจุบันอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย กดดันให้ต้องบุกตะลุยอย่างไม่มีเวลาที่จะได้วางแผน การทำงานอย่างเป็นระบบและความละเอียดลึกซึ้งอย่างแต่ก่อน ในวิถึปลาเร็ว กินปลาช้า

กระนั้น ก็หวังว่าในช่วงเวลาที่มืดมิดที่สุดนี้  จะใกล้สว่างมากที่สุด อย่างในต่างประเทศสื่อสิ่งพิมพ์บางราย กลับมายืนอยู่ได้จากพลังของมวลชน จากการเปิดรับการบริจาค  เพื่อสนับสนุนเนื้อหาที่ผู้บริโภคต้องการ ด้วยการทำโพลควบคู่ไปด้วย

นี่อาจเป็นทางรอดของดาวร่วง แต่ที่สำคัญกระบวนการฟื้นความน่าเชื่อถือ ให้กลับคืนมาจากบรรดาสื่อโซเชียลและสถานการณ์ที่ทุกคนมีสื่อในมือนั้นค่อนข้างสาหัส จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเต็มใจสนับสนุน เป็นโจทย์ที่ต้องคิด