มีผลสำรวจ "โครงการ สํารวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย" ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้ทำการสำรวจ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวนทั้งสิ้น 9,050 ชุด จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศ จํานวน 15 แห่ง จาก 5 ภูมิภาค ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ขอหยิบยกมาเผยแพร่ต่อดังนี้

ในประเด็นสุขภาพจิต พบว่ามีจํานวนนิสิตนักศึกษา ร้อยละ 30 รู้สึกเศร้าบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา โดยมี สัดส่วนถึงร้อยละ 4.3 ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีอาการทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) เกือบร้อยละ 40 มีความเครียดบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา โดยกว่าร้อยละ 4 ของนิสิตนักศึกษาทั้งหมด เคยคิดฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้งถึงตลอดเวลา ร้อยละ 12 ได้เคยลงมือทําร้ายร่างกายตนเองแล้ว โดยในจํานวนนี้มี ถึงร้อยละ 1.3 ที่ได้ลงมือทําร้ายร่างกายตนเองบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา

ส่วนประเด็นพฤติกรรมการใช้ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดอื่นๆ พบการสูบบุหรี่ภายใน มหาวิทยาลัยสูงกว่าร้อยละ 40 และร้อยละ 9 มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง ส่วนการใช้สารเสพติดอื่นๆ เช่น กัญชา กระท่อม พบได้น้อยร้อยละ 0.4 ที่ใช้บ่อยครั้ง และอีกร้อยละ 2 ที่ใช้บ้างนานๆ ครั้ง

ขณะที่ประเด็นเพศสภาพและพฤติกรรมทางเพศ ปัจจุบันมีการเปิดกว้างทางเพศมากขึ้น พบว่าประมาณ 1 ใน 4 ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และพบมากในนิสิตนักศึกษาชาย ร้อยละ 33.4 นิสิตนักศึกษาหญิง ร้อยละ 27.9 และ กลุ่ม LGBTQIA+ ร้อยละ 19.9 มีการคุมกําเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัยเป็นหลักถึงร้อยละ 46.6 แต่ยังมีอีกร้อยละ 5 ที่ไม่ได้ป้องกัน

ประเด็นภาระทางการเงิน พบสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยครึ่งหนึ่งไม่มีหนี้สินทาง การเงิน ส่วนมากอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกครึ่งหนึ่งมีภาระหนี้สิน พบมากในเขตพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยเกือบร้อยละ 40 เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้ที่ เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ค่าเล่าเรียน รองลงมาคือ หนี้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน และหนี้ค่าที่พักอาศัย ประเด็นที่ น่าสนใจอยู่ตรงที่พฤติกรรมการเป็นหนี้เป็นวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มหรือพื้นที่ ได้แก่ หนี้หวย หนี้พนันบอล ซึ่งมีการ เล่นภายในครัวเรือนและมีอิทธิพลต่อวิถีการใช้จ่ายของนิสิตนักศึกษาด้วย

ประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการเรียน พบความเครียดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 20 รองลงมาคือ ปัญหา ทางการเงิน ร้อยละ 11.5 ความรู้สึกวิตกกังวล ร้อยละ 10.7 คิดถึงบ้าน ร้อยละ 9.3 ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ร้อยละ 7.9 และปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ ร้อยละ 7.7 อีกร้อยละ 5 มีปัญหาการติดสื่อสังคมออนไลน์และเกม

และประเด็นความรุนแรงและการล่วงละเมิด พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.7 ไม่เคยโดนกระทําความรุนแรง หรือการถูกล่วงละเมิด ที่เหลือร้อยละ 10 เคยโดนกระทําแล้วด้วยการถูกทําร้ายจิตใจจากคนใกล้ชิด คิดเป็นร้อย ละ 32.2 ถูกคุกคามทางวาจา ร้อยละ 32.0 และถูกลวนลาม ร้อยละ 8.9 โดยนิสิตนักศึกษาที่เป็น LGBTQIA+ และในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสัดส่วนสูงสุด

จากผลสำรวจดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ครอบครัวและชุมชน จำเป็นต้องร่วมมือกันบูรณาการการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ ทั้งการส่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และการเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนวัยอนุบาล ประถมและมัธยม