การที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก : เอเปค 2022 ที่ผ่านมามีธีมหลักในการผลักดันการเจรจา คือ เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) หมายถึง การเปิดกว้างด้านการค้าและการลงทุน ความเชื่อมโยงทุกมิติทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายจัดทำเอกสารปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ Bangkok Goals on Bio-Circular-Green (BCG) Economy
ประเด็นคำถามที่ว่า ประเทศไทยได้อะไรจากการเป็นเจ้าภาพ น่าสนใจที่มีนักวิชาการได้วิเคราะห์เอาไว้ ดดยขออนุญาตยกบางช่วงบางตอนจากการให้สัมภาษณ์ของ รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทางสถานีโทรทัศน์ TNN ข่าวค่ำวันที่ 20 พฤศจิกายน หัวข้อ “APEC 2022” ฟื้นเศรษฐกิจ “ไทย-จีน”ยกระดับร่วมกันกำหนดอนาคต เชื่อว่าอ่านแล้วจะได้เข้าใจถึงประเด็นผลลัพธ์ของการประชุมมากขึ้น
โดยขออนุญาตตัดตอนมานำเสนอ ตอนหนึ่งระบุว่า "...การประชุมมีมาตั้งแต่เดือนมกราคมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ คณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี เงินกระจายไปทั่วทั้งประเทศตลอด วงเงินเริ่มต้น 3 พันกว่าล้านบาท เชื่อว่าผลประโยชน์ที่มากขึ้นทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีมูลค่าในลักษณะทวีคูณ มากมายประเมินขั้นต่ำเกิน 7 พันกว่าล้านบาทอย่างแน่นอนด้วยผลประโยชน์ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ประเด็นที่ได้ทันทีหลังจากนี้ เราได้ขายของและนำเสานอประเทศเราในเวทีโลก แต่ในระยะยาวสิ่งที่เราวางไว้ open connect balance จะทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสเพิ่มขึ้นแน่นอน
ในเรื่องของ open ผลักดันผู้นำ 21 เขต ในการเริ่มต้นกระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรี ถ้าเขตการค้าเสรีนี้เกิดขึ้นจะเป็นหลักประกันว่าประเทศไทยและ 21 เขตเขตเศรษบกิจ จะรวมตัวกันเป็นห่วงโซ่อุปทาน ค้าขายกันโดยไม่มีข้อกีดกัน ทางการค้า เรากำลังพูดถึงตลากว่า 2 พันล้านประชากร จีดีพี 2 ใน 3 ของทั้งโลก ถ้ารวมตัวกันเป็นห่วงโซ่อุปทานเดียวกันได้ หมายถึงอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานที่ดีขึ้น ความยากจนที่ลดลง
Conmect สร้างมาตการที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร อำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน เคลื่อนย้ายบุคคล ถ้ามีการระบาดของโรคระบาดในระดับโลก เราไม่จำเป็นจะต้องล็อกดาวน์แล้ว ยังสามารถค้าขายเชื่อมโยงกันได้ และลงทุนกาทำการค้าระหว่างกันได้
และเรื่อง Balance เราเน้นบาลานซ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น ที่เรียกว่าเป้าหมายกรุงเทพฯ ถูกดีไซน์ออกมาเพื่อที่จะทำให้ต่อไปนี้ 21 เขตเสรษบกิจ ในระดับรัฐ ก็จะทำนโยบายเศรษฐกิจ ในระดับเอกชน ก็จะทำนโยบายในการดำเนินธุกริจ และระดับประชาชน เราก็จะมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยิ่งขึ้น โดยมีโมเดล BCG เป็นแกนกลางที่ผลักดัน...”