ข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานการจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ครึ่งปีหลัง 2565 มี 10 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย 1. ธุรกิจการแพทย์และความงาม / ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 2. ธุรกิจแพลตฟอร์ม / ธุรกิจโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ คลังสินค้า / Cloud Storage3. ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต / ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ4. อี-สปอร์ต / โซเชียลมีเดีย และออนไลน์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์5. ธุรกิจทำคอนเทนต์ ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ รีวิวสินค้า / ธุรกิจสื่อโฆษณา6. ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา การขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ / ธุรกิจฟินเทค การชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี / คอนเสิร์ต มหกรรมแสดงสินค้า อีเวนท์ 7. ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ / ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน 8. ธุรกิจโมเดิร์นเทรด / ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ /ธุรกิจสมุนไพร เช่น กัญชง กัญชา ใบกระท่อม9. ธุรกิจสถานบันเทิง / ธุรกิจยานยนต์ 10. ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบ /ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร มีผลวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า “ในปี 2566 รายได้ของธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แต่เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง และการฟื้นตัวจะมีปัจจัยเฉพาะของประเภทของการให้บริการ ร้านอาหารและเฉพาะพื้นที่ โดยกลุ่มร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service) ร้านอาหารในพื้นที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารในศูนย์การค้ามีโอกาสฟื้นตัวได้ดี
สำหรับในปี 2566 การขยายตัวของมูลค่าธุรกิจร้านอาหาร มาจากปัจจัยสนับสนุน อาทิ
- ภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจร้านอาหารในพื้นที่ท่องเที่ยว ในปี 2566 คาดว่าจำนวน นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ 13-20 ล้านคน ซึ่งช่วยสนับสนุนให้เกิดเม็ดเงินกระจายลงสู่ธุรกิจร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว อย่างร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น และร้านอาหารข้างทางหรือ Street Food ตามตลาดนัดหรือถนนคนเดินที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเดินซื้อสินค้า
- การกลับมาขยายสาขาของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยปรับรูปแบบการให้บริการมาเป็นแบบ Limited Service เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจและรองรับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังโควิด โดยให้ความสำคัญกับตลาดในกลุ่มลูกค้าซื้อกลับ (Takeaway) รวมถึงการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในภาวะที่ต้นทุนทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การขาดแคลนแรงงาน และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีในการสั่งอาหาร ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารปรับรูปแบบการให้บริการเป็น การลงทุนในร้านอาหารขนาดเล็ก โดยปรับลดพื้นที่นั่งในร้าน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จึงช่วยหนุนรายได้ร้านอาหารกลุ่มนี้
- กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่ขับเคลื่อนได้ตามปกติ ผู้บริโภคส่วนใหญ่กลับมาทำกิจกรรมนอกบ้านได้ตามปกติ ทำให้มีการใช้บริการร้านอาหารนอกบ้าน และการจัดกิจกรรมสังสรรค์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อร้านอาหารอย่างร้านอาหารในศูนย์การค้า
อย่างไรก็ดี ในปี 2566 ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารยังเผชิญหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งกำลังซื้อของ ผู้บริโภคที่ยังเปราะบางซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดการเติบโตฝั่งรายได้ แรงกดดันด้านต้นทุนที่สูง และการแข่งขันที่เข้มข้น
โดยศูนย์วิจัยกิสิกรไทย มองว่า ต้นทุนการทำธุรกิจยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งต้นทุนอาหารสด วัตถุดิบในการปรุงอาหาร และพลังงาน ส่งผลกระทบต่อรายได้และผลกำไร ทำให้ผู้ประกอบการบางรายคงต้องปรับขึ้นราคาอาหารและบริการ แต่มองว่าการปรับขึ้นราคาต่อเนื่องยังทำได้จำกัด เนื่องจากกำลังซื้อยังเปราะบาง”
ทั้งนี้เทรนของธุรกิจครึ่งปีหลัง 2565 และแนวโน้มธุรกิจร้านอาหารในปี 2566 อาจเป็นทิศทางให้พี่น้องประชาชนและกลุ่มธุรกิจได้พิจารณา ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และอาจมองหาธุรกิจอื่นๆที่จะสร้างรายได้ใหม่ๆ ประคับประคองให้ผ่านสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติชนิดที่เงินยังเต็มกระเป๋า