ในช่วงที่ผ่านมามีปฏิกิริยาที่น่าสนใจ ที่ในการแสดงคอนเสิร์ต และการโชว์เดี่ยวไมโครโฟนของบรรดาคนดัง มีการพาดพิงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แม้จะเป็นเรื่องปกติในบรรยากาศของรัฐบาลที่อยู่มานานถึง 4 ปี และโดยเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่รั้งตำแหน่งผู้นำมาถึง 8 ปี แม้ในทางกฎหทมายการดำรงตำแหน่งจะยังไม่ครบ 8 ปีก็ตาม

แต่ที่น่าสนใจก็คือ ปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเสียงวิจารณ์นั้น ยิ่งเหมือนเติมน้ำมันลงบนกองไฟ “สยามรัฐ”จึงขอนำบางช่วงบางตอนของจาก บทความพิเศษ / ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น) สยามรัฐออนไลน์  13 สิงหาคม 2564 มาเผยแพร่อีกครั้งดังนี้

“... ปรัชญาว่า “สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก” (Freedom of Expression) หรือ “สิทธิเสรีภาพในการพูด” (Freedom of Speech) และ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุม” ในปัจจุบันต้องอย่าลืมสิทธินี้ “สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกออนไลน์” ถือว่าเป็นเสรีภาพของทุกคน เป็น “สิทธิการเมือง” ในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด เป็นแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดหรือความเห็น ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่น รวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หาเข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ด้วย “ถือเป็นสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็น สิทธิพลเมืองของประชาชน (Civil Rights) เป็น “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” (Fundamental Right) ตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ที่รัฐภาคีต้องยอมรับ

เพียงมีข้อจำกัดในบางเรื่องว่า “สิทธินี้จะเข้มแข็งเพียงใดขึ้นอยู่กับการแสดงออกของประชาชนในแต่ละรัฐเท่านั้น” และ การใช้สิทธิดังกล่าวต้องมี “หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ” ควบคู่ไปด้วย ในท่ามกลางโลกแห่งการประชดประชันเย้ยหยัน อาจถึงขั้นเหยียด Bully เป็นวาทกรรม (Discourse) แห่งการดัดจริตมากไปหรือไม่คำว่า “โลกสวย” หรือ พวกโลกสวย คนโลกสวย คนคิดบวกมาก เชิงหวังดีเกิน หรือ “โลกยูโธเปีย” (Uthopia) เป็นคำกระแนะกระแหน พูดส่อเสียด ว่ามองโลกในแง่มุมที่ดีเกินไป หรืออ่อนต่อโลกเกินไป ทำอะไรก็ไม่ดีขัดต่อความดี หรือ ดีเกินไปกว่าชีวิตจริง แม้การพูดจาหยาบคายก็ว่าไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ดีไปหมด จนบางครั้งคนที่ชอบพูดตรงๆ และทำอะไรตรงๆ แบบ Inconvenient Truth หรือ “ความจริงที่เป็นปัญหา” แต่ไม่กล้าบอก เพราะแทงใจดำ...”