ต่อเนื่องจากบทบรรณาธิการฉบับที่แล้ว ในเรื่อง “ความเห็นแก่ตัวมันเป็นอุปสรรคของการเมือง” ที่ถอดความมาจาก การบรรยายธรรมะของท่าน “พุทธทาสภิกขุ” ในหัวข้อเรื่องที่มีชื่อว่า “การเมืองเรื่องของมนุษย์” เผยแพร่ทาง Youtube ช่อง หอจดหมายเหตุพทธทาส อินทปัญโญ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 ดังนี้ ต่อจากตอนที่แล้วดังนี้
“...เรามาดูชนิดของสิ่งของบุคคลที่เรียกกันว่าข้าราชการ ข้าราชการคือผู้ที่ทำงานของพระราชา ให้ประชาชนร้องออกมาว่าพอใจ พอใจ พอใจ ให้ใครทำหน้าที่ให้ประชาชนร้องออกมาว่าพอใจ คนนั้นเป็นพระราชา แล้วผู้ร่วมมือทั้งหมดนั้นก็เรียกว่าข้าราชการ คือผู้ทำงานของพระราชา
ข้าราชการในความหมายต่างๆกัน จนพูดว่าข้าราชการการเมืองข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมืองคือผู้ออกนโยบาย แล้วก็ควบคุมมันเป็นไปตามนโยบาย ข้าราชการประจำก็ปฏิบัติตามนโยบาย เป็นนักการเมืองฝ่ายรับคำสั่ง นักการเมืองฝ่ายออกคำสั่ง มีนักการเมืองฝ่ายรับคำสั่งแล้วก็มีนักการเมืองฝ่ายที่จะช่วยช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นไปตามนั้น เป็นหน้าที่กัน หน้าที่กันไปตามหน้าที่นั้น ต้องไม่มีการก้าวก่ายกัน ถ้ามีการก้าวก่ายกันมันต้องใช้คำว่าเสือกกระโหลก ประโยคภาษาหยาบคายของเด็กๆ มีการก้าวก่ายที่ไหนมันก็เป็นการเสือกกะโหลก มีลักษณะเป็นปากเที่ยว ทิ่มเที่ยวตำ เที่ยวที่ทำให้มันเกิดความโกลาหลวุ่นวาย ถ้าทำอย่างก้าวก่าย มันก็จะสูญเสียนักการเมือง ไม่ได้เป็นทั้งหมด
จริงๆมันดูละเอียดสักหน่อยว่า สุนัขปากร้ายเป็นนักการเมืองไม่ได้ สุนัขปากร้ายเห่าทั้งกัด กัดแล้วไม่วาง เป็นนักการเมืองไม่ได้ มันไม่มีอะไรที่จะยุติลงได้... มันต้องเป็นสุนัขเลียแผล เลียทั้งหมดไม่ว่าฝ่ายไหน จะได้ให้เรื่องมันหาย เมื่อกองกาชาดในยามสงครามกองกาชาดช่วยเหลือพยาบาลหมดทั้งสองฝ่ายไม่ว่าฝ่ายตัวเองหรือฝ่ายข้าศึกศัตรูนี่มันต้องมีลักษณะสุนัขเลียแผลอย่างนี้ ไม่ใช่สุนัขปากร้ายทั้งเห่าทั้งกัดแล้วไม่ปล่อย อย่างนี้มันก็เป็นการทำลายไม่ใช่เป็นการช่วยกันสร้างสันติภาพโดยไม่ต้องใช้อาชญา
ที่นี้ก็อยากจะให้มองไปทางพระพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ว่าพระพุทธองค์ มีอะไรเกี่ยวกับนักการเมือง อาตมาของยืนยันว่าพระพุทธองค์ก็เป็นนักการเมือง และเป็นการนักการเมืองชั้นสุดยอด เพราะว่าพระองค์ทรงมุ่งหมาย พยายามอย่างยิ่งที่จะจัดโลกทั้งมนุษยโลกเทวโลก มารโลก ยมโลกนรกสวรรค์ เมืองคน ท่านอยากให้มีความผาสุกโดยไม่ต้องใช้อาชญา นี่เป็นพระพุทธประสงค์ความพยายามของพระพุทธองค์ จึงเรียกว่าเป็นนักการเมืองชั้นยอด มีลักษณะพิเศษสูงสุดอย่างหนึ่งคือไม่มีการขัดแย้ง
การขัดแย้งเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “อุปัทวะ” อุปัทวะเป็นภาษาบาลีแปลว่า อุบาทว์ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่าศาสนาพุทธไม่กล่าวคำขัดแย้ง ในโลกนี้กับใครใคร ในโลกนี้แห่งมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดา และมนุษย์ ศาสนาพุทธไม่กล่าวคำขัดแย้ง และพวกเธอทั้งหลาย ก็จะไม่กล่าวคำขัดแย้ง กล่าวแต่คำที่ควรจะกล่าว แสดงความประสงค์ของตัวออกไป ชัดแจ้งแล้วก็ไม่ต้องมีความขัดแย้ง พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายอย่างนี้ ทรงประกาศออกมาอย่างนี้ และแนะนำให้เราพยายามทำกันอย่างนี้ พระองค์ก็เป็นผู้บอก ถ้าใครมันไม่ทำก็ไม่เป็นไร ใครไม่ทำไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร พระองค์ก็ยังทรงบอกอยู่นั่นแหละ ใครไม่ทำก็ได้ ท่านก็ยังทำหน้าที่ของท่านต่อไป ทำหน้าที่พยายามให้มันเกิดสันติสุข สันติภาพ แก่คนทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้อาชญา ทรงบอก ทรงชี้ทาง บอกชี้ทางอยู่ตลอดเวลา ก็คือพยายามทำบ้านทำเมือง ทำโลก ทุกๆโลกให้เกิดสันติภาพ โดยไม่ต้องขัดแย้งกับใคร...” (ยังมีต่อ)