กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 2 ฉบับ เผยแพร่ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ประกอบด้วย 1.ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสําคัญของโรค ติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 พ.ศ.2565 และ 2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อ และอาการสําคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับ จะมีผลยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด- 19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วกําหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป

โดยการยกเลิก โควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายนี้ เนื่องมาจาก สถานการณ์การระบาดทั่วโลกมีแนวโน้ม จํานวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตรา การเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความ รุนแรงของโรคในต่างประเทศก็มีแนวโน้ม ลดลง ประกอบกับจํานวนวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความ ครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควร ปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับ การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน

ทางด้านนพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan  เรื่องโควิด 19 ความรุนแรงของโรคลดลง ระบุว่า

“...นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคในประเทศจีน ในตอนแรกความรุนแรงของโรค โอกาสที่จะลงปอดและมีปอดบวมเป็นจำนวนมาก และทำให้สูญเสียชีวิต 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาก็เห็นได้ชัดเจนบ้างในการระบาดแต่ละละรอก (wave) ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด

ข้อมูลของศูนย์ควบคุมป้องกันโรค สหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ออกมา จะเห็นว่าอัตราการเสียชีวิตขอ covid 19 ในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล ในช่วงของเดลต้า ร้อยละ 15.1 อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมาก ในช่วง โอมิครอน เหลือร้อยละ 4.9 ในจำนวนผู้ที่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล

เช่นเดียวกับในประเทศไทย อัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ ในปีแรก ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์หรือกว่าเล็กน้อย หลังจากนั้นก็เริ่มลดลง และมาในช่วง โอมิครอน อัตราการการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ น้อยลงมากๆ น่าจะน้อยกว่า 0.1% อย่างที่เห็นทุกวันนี้ จำนวนผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล ก็น้อยกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จำนวนผู้ที่ติดเชื้อมากกว่าที่นอนโรงพยาบาล น่าจะมากกว่าเป็น 10 เท่า

การที่ความรุนแรงลดลง และอัตราการเสียชีวิตน้อยลง มีผลมาจาก การได้รับวัคซีนไปเป็นจำนวนมาก การวินิจฉัยและการรักษาแต่เริ่มแรกทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ประกอบกับการมียารักษาที่ดีขึ้น และมีจำนวนมากที่เคยติดเชื้อมาแล้ว”

เราคาดหวังว่า การลดความรุนแรงของโรค ประกอบการลดมาตรการต่างๆที่ออกมา จะตอบโจทย์ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจ ที่ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป