ภัยคุกคามที่มองไม่เห็นในสังคมไทย คือสภาพจิตใจของผู้คน ซึ่งเหมือนระเบิดเวลา ด้วยผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และที่สำคัญคือปัจจัยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังอาละวาดอยู่เป็นเวลา 2 ปีกว่า
การเจ็บป่วย การกักตัว การสูญเสียคนที่รัก คนในครอบครัวและข้อห้าม เงื่อนไข ในการใช้ชีวิต การทำมาหากิน ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆท่านๆ แต่เด็กๆก็ต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่างๆ ความเครียดทั้งจากการเรียนออนไลน์ การรองรับแรงกดดันจากครอบครัวอย่างน่าเป็นห่วง
ข้อมูลจาก ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คลินิกเพศหลากหลายวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในเวทีเสวนา “ตั้งหลักใหม่ เติมความฝันเด็กและเยาวชนไทย" ว่า ผลพวงจากการระบาดของโรคโควิด- 19 ส่งผลให้เด็กและครอบครัวเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น อย่างคลินิกวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี พบว่าปัญหาสุขภาพจิต 90% มาด้วยซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด และไม่มีความสุข ที่เห็นชัดกว่าคือพ่อแม่ที่พาเด็กมาก็ซึมเศร้าด้วย อย่างครอบครัวหนึ่ง น้องวัยรุ่นมารับฮอร์โมนข้ามเพศอยู่นานแล้ว ตรงนี้ไม่อยู่ในสิทธิสวัสดิการ น้องต้องทำงานเก็บเงินมาจ่ายเอง แต่เมื่อคุณยายติดโควิด แม้จะไม่เสียชีวิตแต่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ คุณแม่ลาออกจากงานมาดูแล ก็กระทบเรื่องค่าใช้จ่าย น้องถูกขอให้กลับมาบ้าน ออกจากมหาวิทยาลัย ต้องมาใช้แรงงานในร้านสะดวกซื้อเพื่อให้ทุกคนในครอบครัวรอด เด็กคนนี้ก็ไม่ได้รับฮอร์โมนต่อ กลับมามีหนวดเคราจึงเครียด ถูกกดทับจากความรู้สึกที่ไม่เป็นตัวเอง ไม่ได้เรียนต่อ แบกรับภาระครอบครัว ขณะที่แม่ก็เผชิญกับความรู้สึกผิดว่ากลายเป็นผู้ทำลายอนาคตของลูกหรือไม่ เรียกว่าซึมเศร้ากันทั้งแม่และลูก ยังมีเคสอีกมากที่ยังไม่ได้เข้าระบบบริการ ยิ่งหลังโควิดเคสเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตเยอะ แต่ระบบบริการยังไม่เพียงพอ
ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นสำคัญมาก จะพบว่ามีเด็กฆ่าตัวตายจำนวนมาก และยังมีที่เด็กเสียชีวิตแต่ไม่เป็นข่าวอีกมาก ส่วนหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นเกิดจากเด็กเติบโตมาในสังคมที่ไม่โอบอุ้มความฝันที่จะได้เป็นตัวของตัวเอง เช่น จะเป็นเพศไหนก็มีอุปสรรค อยากทำอาชีพอะไรก็เลือกเองไม่ได้ เพราะอยู่ในสังคมที่ถูกกดทับด้วยคำว่าต้องอยู่รอด และระบบโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพชีวิต คุณภาพการ ศึกษาไม่รองรับ รวมถึงมีปัญหาเศรษฐานะ ทำให้ความฝันของเด็กไม่ถูกตอบรับ อย่างล่าสุดพบน้องคนหนึ่งอยากจะเป็นครูบนดอย แต่ปัญหาโควิดทำให้หลุดจากระบบการศึกษา ทั้งนี้การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก ต้องสร้างพื้นที่รับฟังเพื่อเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพื่อสั่งสอน ฟังให้ลึกว่าเขาต้องการอะไรในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง นอกจากที่บ้านแล้วเด็กก็ต้องการความปลอดภัยในโรงเรียน อยากได้ความเคารพและ การรับฟังเช่นกัน ส่วนภาครัฐมีปัญหาเรื่องโครงสร้าง ระบบสวัสดิการรัฐที่ไม่โอบอุ้มให้ทุกคนมีความฝัน ทั้งที่มนุษย์เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดและควรลงทุน จึงเป็นคำถามว่า เราไม่มีเงินลงทุนกับเด็กจริงหรือ”(ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 1 กันยายน2565)
นับเป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะการลงทุนกับเด็ก หรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้น คือ ต้นทางของการแก้ไขปัญหาทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่แน่นอนว่า จะได้เห็นผลจากปัญหาอาชญากรรม