มูลค่าการลงทุนทางตรงจากต่างชาติ หรือ FDI ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีตัวเลขประมาณ 2.1 แสนล้านบาท แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนาม ที่ในระยะหลังนี้มีข่าวว่า เนื้อหอมเป็นที่สนใจของบรรดานักลงทุนต่างชาติ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่เตรียมไปลงทุนที่นั่น โดยสถานการณ์การลงทุนของเวียดนามนั้น มีตัวเลขสูงกว่าไทย 4.26 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.55 แสนล้านบาท     

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยที่การดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาสู่ประเทศไทย ในรูปแบบผู้พํานักระยะยาว (long-tem resident) เป็นมาตรการสําคัญที่จะมีผล เป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้างและทุกระดับ

และให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมกำรสนับสนุนมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย เรียกโดยย่อว่า "คสดช. ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย โดยอนุญาตให้กลุ่มที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม สามารถเข้ามาในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษเพื่อการพำนักระยะยาว ผ่านการให้วีซ่าประเภท Long - Term Resident Visa หรือ LTR Visa ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้เตรียมการทั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายและงานระบบอำนวยความสะดวกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ สำนักงานบีโอไอซึ่งเป็นหน่วยงาน หลักที่ทำหน้าที่คัดกรองบุคคลต่างชาติศักยภาพสูงที่ประสงค์จะเข้ามาพำนักในประเทศไทยได้เปิดระบบให้มีการยื่นขอ LTR Visa ผ่านเว็บไซต์  https://ltr.boi. go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

"มาตรการดึงดูดชาวต่างชาติศักยภาพสูงเป็นหนึ่งในมาตรการที่ได้รับการผลักดันจากที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 หรือ ศบศ. เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลัง การระบาดใหญ่ ซึ่งรัฐบาลต้องการให้มาตรการนี้ เป็นทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของต่างชาติที่กำลังซื้อสูง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายและเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจาก มาตรการนี้ได้ดึงดูดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้นด้วย" น.ส.ไตรศุลี กล่าว

สำหรับชาวต่างชาติ 4 กลุ่มที่เป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยจะดึงดูดให้มาถือ LTR Visa ได้แก่ กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ กลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้มี ทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะให้สิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย สิทธิพำนักในประเทศไทย 10 ปี สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้า-ออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) และไม่ต้องยื่นขออนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (Re-entry permit) อนุญาตให้ทำงานใน ประเทศไทย โดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหลือร้อยละ 17 สำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ และมีผู้ติดตามได้ 4 คน

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมการในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยต่อเนื่อง เพื่อให้มาตรการนี้สามารถดึงดูดชาวต่างชาติ ทั้ง 4 กลุ่มเข้ามายังประเทศไทยให้ได้ตามเป้าหมาย 1 ล้านคน ภายใน 5 ปี โดยในส่วนของสำนักงานบีโอไอ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้ยื่นขอ LTR Visa  เมื่อไม่นานมานี้ ครม. ก็ได้เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภายในของ บีโอไอ โดยจัดตั้งส่วนราชการระดับกอง ขึ้นใหม่ 2 ส่วน คือ กองบริการบุคลากรต่างชาติ และกองเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้บีโอไอดูแลภารกิจดูแลชาวต่างชาติรวมถึงการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ เราเห็นด้วยกับแนวทางในการดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระนั้น มาตรการใดๆ ที่เกิดขึ้น ต้องไม่ลืมที่จะสร้างเกราะป้องกัน สำหรับคนไทย