“เด็กคืออนาคตที่สําคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การสร้างคนไทยคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี” พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต (https://www.hfocus.org/content/2018/03/15600)
ทั้งนี้รัฐสภามีมติรับทราบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) แล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ต่อไป
หนึ่งในหมุดหมายที่บรรจุในแผนฯฉบับที่ 13 นี้ มีแผนในการพัฒนากำลังคนของไทย โดยมีการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาเอาไว้ตั้งแต่ในครรภ์มารดา
กำหนดให้พัฒนาเด็กช่วงตั้งครรภ์ถึงปฐมวัยให้ มีพัฒนาการรอบด้าน มีอุปนิสัยที่ดี โดยการ เตรียมความพร้อมพ่อแม่ผู้ปกครองและสร้างกลไกประสานความร่วมมือ เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับ บริการที่มีคุณภาพ และดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ – 6 ปี การพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็ก ปฐมวัยให้มีความรู้และทักษะการดูแลที่เพียงพอ มีจิตวิทยาการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย สามารถทำงาน ร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัยตาม หลักการพัฒนาสมองและกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก ควบคู่กับการพัฒนาการด้านร่างกาย สาธารณสุข และ โภชนาการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้านก่อนเข้าสู่วัยเรียน
การยกระดับสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นกลไกการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยรายพื้นที่ที่มีคุณภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้องเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน สติปัญญาสมวัย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน รวมถึงพัฒนาระบบสารสนเทศเด็กรายบุคคลเพื่อการส่งต่อไปยังสถานศึกษา และการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เป็นฉบับที่ 13 แล้วนั้น แม้จะมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ดีอย่างไร หากแต่การขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่ต้องอาศัยการบูรณาการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือ มารดาและผู้ปกครองที่เป็นหัวใจสำคัญ ท่ามกลางสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่อยู่ยากขึ้นทุกวัน