แม้พรรคการเมืองจะเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งกันแล้ว บางพรรคการเมืองขึ้นป้ายโฆษณาผลงานที่ผ่านมาตามมุมเมืองต่างๆ แต่ไก่โห่ แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะได้เลือกตั้งเมื่อไหร่ อาจเร็วหรือช้ากว่าที่คาดการณ์กันไว้
ท่ามกลางกระแสกดดันทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งดูเหมือนเป็นธรรมชาติของการเมืองไทย ที่ประชาชนย่อมจะเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผ่าน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ก็ดูเหมือนจะสะท้อนไปในทิศทางดังกล่าว
โดยนิด้าโพล รายงานว่า ผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า” เกี่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า จากการสำรวจเมื่อถามถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตและ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ44.82 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร
รองลงมา ร้อยละ 38.03 ระบุว่า จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน ร้อยละ 16.85 ระบุว่า จะไม่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความต้องการที่จะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ไม่อยากจะเปลี่ยนเลย รองลงมา ร้อยละ 28.28 ระบุว่า อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก
ร้อยละ 19.21 ระบุว่า ค่อนข้างอยากจะเปลี่ยน ร้อยละ 11.97 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน และร้อยละ 10.13 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามประชาชนถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 34.99 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 32.39 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ร้อยละ 21.34 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่มีส.ส. ในสภา ร้อยละ 10.82 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และร้อยละ 0.46 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/
อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจข้างต้น อาจเป็นแนวทางให้กับพรรคการเมืองต่างๆได้ทบทวนและปรับกลยุทธ์ในการต่อสู้ทางการเมือง แต่โดยพื้นฐานข้อเท็จจริงนั้น การเมืองไทยในการเข้าสู่อำนาจนั้น อาจมีหลายปัจจัยที้เป็นเงื่อนไข ไม่ใช่เพียงกระแสความนิยมเพียงเท่ารนั้นที่จะตอบโจทย์ในการเลือกตั้ง
เพราะกระสุนและเสบียบงกรัง รวมทั้งแทคติกนอกตำราต่างๆ ที่จะต้องระดมกันออกมาใช้ เพื่อรักษาฐานอำนาจเก่า และช่วงชิงอำนาจของฐานอำนาจใหม่ จะทำให้การเลือกตั้งใหญ่ที่จะมาถึงนั้น มีความดุเดือดเข่มข้นและสลับซับซ้อน