แสงไทย เค้าภูไทย
ภายใต้การปกครองของฮุนต้า คนเดือนตุลาฯที่เคยมีบทบาทชี้นำการเมืองและสังคมไทย วันนี้หายลับดับสูญไปมาก บ้างจากเป็นลี้ภัยการเมือง บ้างจากตาย สิ้นแรงส่ง สิ้นแรงสืบทอดอุดมการณ์ 14 ตุลาคม
แม้เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จะผ่านมา 40 ปี แต่วันนี้คนไทยก็ยังคงต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันอีกการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีฉบับใหม่กันซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า และยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า จะยังมีฉบับใหม่และใหม่กันอีกหรือไม่การเปลี่ยนแปลงการเมือง การปกครองของไทย จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2416 ที่ส่งแรงมาถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม2419 มาถึงวันนี้แรงส่งนั้นอ่อนล้าลงทุกขณะ
ความฝันของคนไทยที่จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนมีความเสมอภาค ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่มีชนชั้นเลือนหายไปจนถึงวันนี้ สภาพการเมืองไทยและสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก การทำรัฐประหารในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่ได้ช่วยให้การเมืองไทยและสังคมไทยดีขึ้นปัญญาชนไทยมองว่า ปัญหาการเมืองและปัญหาสังคมไทยนั้น เกิดจากชนชั้นสูงและกลุ่มอนุรักษ์นิยมเข้ามาแทรกแซงประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมระบบราชการไม่ว่าจะเป็นพลเรือน ทหาร ตำรวจ ยังติดยึดกับระบอบอุปถัมภ์ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอข้าราชการและนักการเมืองจับมือกันช่วงชิงผลประโยชน์เช่นเดียวกับระบบยุติธรรม ที่ยังมีระบบอุปถัมภ์แทรกแซงอยู่ จนถูกมองว่าเป็นตุลาการภิวัฒน์
การโค่นล้มระบอบเผด็จการทหารจากเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 16 เป็นเพียงการเว้นวรรคชั่วคราวของการแทรกแซงของชนชั้นสูงและกลุ่มอนุรักษ์นิยม การปราบปรามการลุกฮืออย่างนองเลือดของขบวนการนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 ทำให้ระบอบเผด็จการกลับมาใหม่มีความพยายามปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้าน
โดยมีการตั้งสภาปฏิรูปเป็นครั้งแรกภายใต้เงาของคณะปฏิรูปการปกครองแห่งชาติที่มีคณะรัฐประหารครั้งนั้นเป็นพี่เลี้ยงเมื่อปี 2519
แต่ประเทศไทยก็เป็นอย่างที่เคยเป็นเพราะไม่มีอะไรเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความแตกต่าง
วันนี้ สภาปฏิรูปฯ สภาขับเคลื่อนฯ อันเป็นผลพวงของการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ก็คงจะมีผลไม่ต่างไปจาก 40 ปีที่ผ่านมา
ซ้ำจะตกต่ำกว่า 40 ปีที่แล้ว เนื่องจากมีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองและทางสังคมแทรกเข้ามาการทำรัฐประหารที่ผ่านๆมา ทำให้คนไทยรู้สึกว่าตัวเองไม่มีสิทธิอำนาจและเสรีภาพอย่างแท้จริงในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ขั้วอำนาจหรืออำนาจรวมศูนย์ไปขึ้นอยู่กับสถาบันกษัตริย์ ขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย
มาวันนี้ แม้จะใช้รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อำนาจรวมศูนย์กลับไปขึ้นอยู่กับชนชั้นสูง ทหาร ข้าราชการและผู้มีบารมีในระบบอุปถัมภ์ แฝงเป็นมูลนายของประชาชนแทนสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแทบจะทุกรัฐบาลจึงต้องเอาใจทหาร เพื่อมิให้เข้ามาแทรกแซง เข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางการบริหารแผ่นดิน
ตัวอย่างในการเอาใจทหารในระยะใกล้ๆก็คือ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทหารของบประมาณ มาก ขออะไรก็ได้
แต่ก็ยังไม่พ้นถูกทำรัฐประหารการเข้ามาของระบอบทักษิณทำให้เกิดความหวาดระแวงของอำนาจแฝงในระบอบการเมืองที่ประกอบด้วยชนชั้นสูง และผู้มีบารมีนอกระบบการเมืองทักษิณ ชินวัตร เข้ามาในลักษณะทุนครอบงำชาติ ด้วยนโยบายประชานิยม และการเข้าถึงทุนของรากหญ้าได้ง่าย ที่ถูกละเลยมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นจุดบอดของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากหน่วยผลิตย่อยขาดศักยภาพในการผลิต
ชนชั้นรากหญ้า กลายเป็นขุมพลังขยายปริมณฑลอำนาจรัฐของทักษิณ ทั้งเป็นทางการและกึ่งทางการที่ท้าทายกลุ่มอำนาจนิยมและชั้นสูงหรือกลุ่มอมาตยาธิปไตย
ช่วงหลัง 6 ตุลาฯ 19 เมื่อทหาร ตำรวจกลับมาเป็นใหญ่พวกเขากลายเป็นกลุ่มหลักที่ตักตวงผลประโยชน์และทรัพยากรชาติจนเมื่อนักการเมืองกลับมาเป็นใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มทุนของทักษิณ ที่ขยายฐานอำนาจครอบงำข้าราชการและกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดการคอรัปชั่นครั้งมโหฬารแต่เพราะระบอบทักษิณขับเคลื่อนด้วยกลุ่มทุนที่ใช้นโยบายประชานิยม แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับประชาชนผลงานที่ออกมาจึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนการสำรวจความเห็นหรือโพลของสถาบันวิชาการที่ผ่านๆมาในด้านความเห็นด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการคอรัปชั่นที่ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย
ทักษิณยังเชื่อมั่นว่า “คนเดือนตุลา” ยังมีพลังพอที่จะสร้างฐานมวลชนให้แก่ตนไว้เป็นอำนาจต่อรองกับกองทัพได้ด้านคนเดือนตุลา ก็มองว่าทักษิณมีฐานมวลชนชาวรากหญ้ามาก มีทุนมากพอที่จะขับเคลื่อนเจตนารมณ์และอุดมการณ์14 ตุลาคมให้บรรลุเป้าหมายเพราะภารกิจและเป้าหมายในการทำ”สงครามชนชั้น”ของพวกเขายังไม่บรรลุผลกลุ่มซ้ายสุดโต่งรู้สึกว่าพวกเขาถูกหลอกให้ออกมมาจากป่าด้วยนโยบาย 66/23 และโครงการพัฒนาชาติไทย ที่เนื้อหาสาระเป็นการชักจูงให้ออกมาใช้การเมืองต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม และเป็นสังคมชนชั้นยิ่งมองไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่เคยต่อสู้กับรัฐบาลจักรวรรดินิยมร่วมรุ่นจนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นลาว เวียดนาม กัมพูชา พวกเขาก็โทษตัวเองที่คิดผิดเมื่อทักษิณ ชักชวนให้มาช่วยงานก็พากันคิดว่านี่คือการมีโอกาสได้ต่อสู้อีกภาคหนึ่ง
ทั้งจรัล ดิษฐาอภิชัย นพ.เหวงโตจิรการ ธิดา ถาวรเศรษฐ สุรชัยด่านวัฒนานุสรณ์(แซ่ด่าน)จากสงครามจรยุทธ สู่สงครามในเมืองแต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ มุ่งทางวิชาการและบางรายเป็นฝ่ายตรงข้ามทักษิณ ทั้งอิงพรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามและร่วมขบวนม็อบกปปส. มีดร.สมบัติ ธำรงธัญงศ์ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ดร.ธีรยุทธ บุญมี ดร.ประสารไตรรัตน์วรกุลแม่น้ำตุลาคม 14 แยกสายกันไป จะกลับมาบรรจบกันเมื่อใด และที่ใด คงจะไม่มีคำตอบจากคนเดือนตุลาในเจนเนอเรชั่นนี้