เดือนสิงหาคมที่จะมาถึงนี้ ตามปฏิทินการเมือง ถือว่าเป็นอีกเดือนที่จะเป็นด่านสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจาก 24 สิงหาคม 2565 แล้ว ได้หรือไม่ ถ้าได้ จะดำรงตำแหน่งไปได้ถึงเมื่อใด

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ กำหนดว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”

และบทเฉพาะกาลมาตรา 264 วรรคแรก “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี่เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

ซึ่งก่อนหน้านี้มีความเห็นเป็น 3 แนวทางหลักๆคือ ต้องพ้นวาระไปในวันที่ 24 สิงหาคมปี 2565 นี้ อีกแนวทางหนึ่งมองว่าอยู่ได้ถึงปี 2570 เพราะหลักการของกฎหมายที่จะไม่บังคับใช้ย้อนหลังให้เป็นโทษแก่บุคคล เว้นแต่จะบัญญัติไว้ให้ชัดเจน ซึ่งก็จะเริ่มนับอายุการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2462 แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มองย่อยลไปอีกว่า จะต้องเริ่มนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีวายสัตย์ปฏิญาณตน คือวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เลยทีเดียว

ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคืออยู่ได้ถึงปี 2568 โดยเริ่มนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2560

ทั้งนี้ เป็นที่แน่ชัดว่า ฝ่ายรัฐบาลจะไม่ยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมายยืนยนมาตลอด แต่เชื่อว่าจะมีคนไปยื่นตีความ โดยบอกว่าหากใครสงสัยก็ช่วยเข้าชื่อไปยื่น

ซึ่งก็น่าสนใจว่าใครจะเป็นผู้ริเริ่ม จะเป็น ส.ส.ในสภาฯ หรือบรรดานักร้อง (เรียน) ทั้งหลาย เพราะที่ผ่านมามีแต่การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์เพียงเท่านั้น

แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองว่า เกินกว่าการคาดเดา แต่หากพิจารณาของวินิจัฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เทียบเคียงกรณีของ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระได้แม้จะมีอายุเกิน 70 ปีก็อาจทำให้หลายฝ่ายพอมองเห็นทิศทางในประเด็นนี้