รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะอยู่จนครบเทอม 4 ปี ถึงเดือนมีนาคม 2566 หรือไม่???...ต้องจับตา 4 วันอันตราย ‘ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ’ 19-22 กรกฎาคมนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 และเป็นครั้งสุดท้ายของรัฐบาลประยุทธ์ โดย 3 ครั้งก่อนหน้านี้ รอดมาทุกครั้ง (ครั้งที่ 1 - 31 มกราคม 2563 ครั้งที่ 2 - 25 มกราคม 2564 และครั้งที่ 3 - 16 สิงหาคม 2564)
#การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ 4 ฝ่ายค้านยื่นญัตติได้ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 11 คน ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยังกล่าวหานายกรัฐมนตรีโดยใช้ถ้อยคำว่า "เป็นผู้นำที่พิการทางความคิด " โดยแกนนำพรรคฝ่ายค้าน ‘พรรคเพื่อไทย’ (พท.) ตั้งชื่อภารกิจครั้งนี้ว่า “ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน”
เหตุผลที่ส.ส.ฝ่ายค้านขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเห็นว่าผลงานของรัฐมนตรีและนายกรมต.ไม่เข้าสายตา จึงต้องใช้กลไกของระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กล่าวกันว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเครื่องมือที่มีพลังสูงสุด เพราะสามารถ ‘เขย่าขาเก้าอี้’ รัฐบาลให้สั่นคลอนหรือหักได้ในที่สุด
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า “ฝ่ายบริหารต้องได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติ" จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แม้ว่าจะมีวิธีการอื่นที่ใช้ควบคุมและตรวจสอบรัฐบาล เช่น การตั้งกระทู้ถาม การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การถอดถอนจากตำแหน่ง
ทั้งนี้การอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านต้องกระทำในรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกรัฐสภาคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายค้าน กับสมาชิกวุฒิสภา
เพื่อเป็นสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า สวนดุสิตโพลจึงทำโพลหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ” รวม 7 ประเด็น ได้แก่
1.ณ วันนี้ ถึงเวลาหรือยังที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2.ท่านสนใจติดตาม “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” ที่กำลังจะมีขึ้นมากน้อยเพียงใด?
3.ท่านอยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
1. การแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม 2. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน
3. การควบคุมดูแล การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข 4. การใช้งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง อนุมัติโครงการต่างๆ
5. การทุจริต คอร์รัปชัน เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 6. ผลงานของนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล
7. ลดความเหลื่อมล้ำ ความเท่าเทียมกันในสังคม 8. สินค้าแพง การดูแล ควบคุมราคาสินค้า
9. อื่นๆ
4. สิ่งที่ท่านอยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
1. การควบคุมอารมณ์ ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติกัน 2. การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของสภา
3. ค้านอย่างมีเหตุผล 4. ได้เห็นบทบาท การทำหน้าที่ของ ส.ส.
5. บรรยากาศการอภิปรายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 6. ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
7. ประธานสภาทำหน้าที่ด้วยความยุติธรรม เป็นกลาง 8. เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
9. ผู้แทน (ส.ส.) ทำหน้าที่แทนประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่งดออกเสียง
10. มีเอกสาร หลักฐานที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมายืนยัน 11. รักษาเวลา ควบคุมเวลาได้ดี
12. รัฐบาลตอบข้อซักถามได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา 13. รัฐบาลปรับปรุงการทำงาน นำข้อเสนอแนะไปใช้
14. หัวข้อ/เนื้อหาที่นำมาอภิปรายไม่ซ้ำกัน 15. อภิปรายด้วยเหตุผล นำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาพูดกัน
16. อื่นๆ (ระบุ)................
5. สิ่งที่ท่านไม่อยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
1. การโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง 2. การประท้วงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ลุกขึ้นประท้วง
3. ใช้คำพูดหรือกิริยาท่าทางที่ไม่สุภาพ 4. ตอบคำถามไม่ครบ ฟังไม่รู้เรื่อง
5. นั่งหลับ เล่นมือถือ 6. นำเสนอเอกสาร/ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด
7. พาดพิงบุคคลอื่น พูดนอกประเด็น 8. พูดจาโจมตีกันไปมา นำเรื่องเก่ามาพูด
9. ไม่เข้าประชุม 10. ไม่เคารพประธาน ไม่เคารพที่ประชุม ไม่ทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของสภา
11. ไม่รักษาเวลา 12. เล่นเกมการเมืองมากเกินไป ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน
13. อื่นๆ (ระบุ)................
6. หลังจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจถึง 4 ครั้งในช่วง 4 ปี ท่านคิดว่า การอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นจะส่งผลให้เกิดการยุบสภาหรือไม่?
7. ท่านคิดว่ารัฐมนตรีคนใด ที่ควรจะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม 2. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
3. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย 4. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส
5. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง 6. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์
7. นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย 8. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย
9. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข 10. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
11. อื่นๆ (ระบุ)................
ท้ายนี้ ผลสรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 4 จะเป็นเช่นไร ฝ่ายค้านจะทำหน้าที่สำเร็จหรือไม่ คารมกับข้อมูลเชิงประจักษ์อะไรเหนือกว่ากัน รัฐบาลจะรอดหรือไม่ แล้วถ้ารอดมีโอกาสจะไปต่อหรือไม่ จะมีดาวรุ่งสภาดวงใหม่หรือไม่ ห้ามพลาดครับ...