เปิดประเทศไปแล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ขณะที่แนวโน้มในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic หรือการเป็นโรคประจำถิ่นก็เข้าใกล้ไปทุกขณะ สัปดาห์นี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญของดวงใจพ่อแม่ ก็คือ การเปิดเทอม ที่คาดหวังกันว่านักเรียนจะได้เรียนในอบบ ออนไซต์ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเด็นการเปิดเรียนในเดือนพฤษภาคมนี้ มีการเตรียมความพร้อม โดยครูและบุคลากรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วมากกว่า 90% ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 12-17 ปีฉีดครบ 2 เข็มแล้วมากกว่า 90 % เพราะฉะนั้นต้องฉีดเข็มกระตุ้น หากเป็นผู้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ให้รับเข็ม 3 เป็นไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดส หรือเต็มโดส ส่วนผู้รับวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ให้ฉีดเข็มกระตุ้นเป็นไฟเซอร์เต็มโดส ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5.1 ล้านคน ฉีดเข็ม 1 แล้ว 2.8 ล้านคน คิดเป็น 54.5 % และเข็มที่ 2 แล้ว 8.9 แสนคน คิดเป็น 17.4 % โดยสูตรฉีดเป็นไฟเซอร์ฝาสีส้ม 2 เข็ม ห่างกัน 8 สัปดาห์หรือซิโนแวค-ไฟเซอร์(ฝาสีส้ม) ห่างกัน 4 สัปดาห์ มีนักเรียนประสงค์รับวัคซีนสูตรนี้เพิ่มเติม 1.6 แสนคน อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษายังคงต้องเป็นไปตาม มาตรการสร้างความปลอดภัย ป้องกันโควิด 19 ในสถานศึกษา (6 หลัก 6 เสริม 7 เข้ม) 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) : เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ท าความสะอาด 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) : ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก ส ารวจตรวจสอบ กักกันตนเอง 7 มาตรการเข้ม 1. ประเมิน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานผล ผ่าน MOECOVID 2. ท ากิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble) 3. จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ 4. อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5. แผนเผชิญเหตุ มีการซักซ้อม รวมถึง การเตรียมพร้อม School Isolation 6. ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ปลอดภัยเน้นมาตรการปลอดภัยรถ โรงเรียน 7. School Pass ส าหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา ที่สำคัญ นอกจากจะดูแลสุขภาพกาย ความปลอดภัย ของเด็กนักเรียน ด้วยเปิดเทอมเมื่อไหร่ ปัญหาการจราจรจะกลับมาเมื่อนั้น และไม่ว่าจะรถติดและเร่งรีบขนาดไหน อย่าลืมบทเรียนสำคัญของสังคมไทยคือ การหยุดรถให้เด็กข้ามถนนตรงทางม้าลาย เมาไม่ขับ และไม่เล่นโทรศัพท์ขณะขับขี่ ช่วยกันรักษาดวงใจพ่อแม่และอนาคตของชาติ อย่าให้การสูญเสียเกิดขึ้นซ้ำซาก