“...เพลงเต่าเห่ที่ได้อัญเชิญมาเป็นแบบอย่างนี้ ก็คือเพลงที่กล่อมเห่ให้ลูกหลับและมีคุณธรรมที่กล่อมเกลาให้ลูกเป็นคนดี คงครองคุณธรรมพร้อมคือมีคุณธรรม ศรัทธาน้อมคือมีศรัทธาในศาสนาของตน ๆ ปัญญามีคือหาความรู้ จงละอคติสี่ อดติแปลว่า ไปไม่ได้ ไปไม่รอด จะทำให้ล่มจม อย่าเกิดขึ้น ยึดขันตียอมอดใจ ต้องมีขันติธรรม อุปสรรดจะหนักหนาลูกก็อย่าโศกาลัย คือต้องมีวิริยะคือความเพียร เมื่อหวังปองเทิดผองไท ต้องแกร่งไกลดุจศิลา ให้ลูกเป็นคนแกร่งเป็นคนกล้า นี่คือสิ่งที่แม่กล่อมลูก แม้เพลงอื่น ๆ แม่ก็กล่อมลูก ให้ลูกหลับคือกล่อมเห่ให้ลูกหลับและกล่อมเกลาให้ลูกเป็นคนดี
คือ-เสียงแม่ทักไพเราะเสนาะหวาน ยามแม่ทักลูกเพราะมาก 'กลับมาแล้วหรือลูก เหนื่อยไหมลูก...กินข้าวกินปลาหรือยัง.....หิวหรือยัง' แม่ทักเพื่อให้ลูกมีกำลังใจไม่เก้อเขิน
คือ-เสียงแม่ปลอบไพเราะเสนาะนาน แม่ปลอบเรายามเราทุกข์ เราโศก เอาน้ำหูมาหา เอาน้ำตามาฝาก แม่ก็ปลอบเรา ไม่ใช่ปลอบเฉพาะตอนที่เป็นเด็กเท่านั้น แม้ยามมีเหย่ามีเรือนไปแล้วทุกข์โศกอะไรก็มาหาแม่ เอาน้ำหูมาหา เอาน้ำตามาฝาก เมื่อแม่กล่อมแล้วปลอบแล้ว ลูกก็กลับไปเพราะสบายใจแล้ว แต่ไม่รู้หรอกว่าทิ้งความระทมขมขื่นไวให้แม่
สุดท้ายคือ-เสียงแม่ขานไพราะเสนาะเอย แม่ขานรับยามลูกเรียก
ประการต่อมา น้ำมือแม่ ทำอาหารเลี้ยงถูกคลอดมา
สุดท้าย น้ำแรงแม่ ทำมาหากินเลี้ยงลูก อาบเหงื่อต่างน้ำ...”
นี่เป็นเพียงบางช่วง บางตอน และส่วนเสี้ยวของพระคุณของแม่ ที่พระเทพปฏิญาณวาที ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้
ท่ามกลางสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ความตระหนัก คำนึงถึงความสำคัญของการสื่อสารในยุคดิจิทัล และผลกระทบที่ในหลายมิติ ที่เป็นวงกว้าง เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองในยุคปัจจุบัน ต้องเตรียมรับมือและพิจารณา
และคุณธรรมความกตัญญู ไม่ใช่เรื่องล้าสมัยและไม่ควรถูกลบเลือนไปจากสังคม