“...ประการที่สอง นอกจากน้ำนมแม่แล้ว น้ำที่สองคือน้ำเสียงแม่ น้ำเสียงมีความสำคัญ ท่านกล่าวไว้ว่าบรรดาเสียงใดในโลกนี้ เสียงอะไรจะสู้เสียงแม่ไม่มี พระครูพจนโสภณ (ช.อิสรานนท์) จึงกล่าวไว้ว่า
เสียงใดใดไพเราะเสนาะแน่ แต่เสียงแม่ไพเราะเสนาะยิ่ง
เสียงแม่ใสไพเราะเสนาะจริง เสียงแม่ยิ่งไพเราะเสนาะนาน
คือ-เสียงแม่กล่อมไพเราะเสนาะนัก คือ-เสียงแม่ทักไพเราะเสนาะหวาน
คือ-เสียงแม่ปลอบไพเราะนาน คือ-เสียงแม่ขานไพเราะเสนาะเอย
น้ำที่สองต้องยกให้น้ำเสียงสี่กระแสของแม่ คือเสียงแม่กล่อมไพเราะเสนาะนัก ไม่มีเสียงใดเลยไพเราะเท่ากับเสียงที่แม่กล่อม ไพเราะในจิตใจของลูก แม่กล่อมลูกสองกล่อม คือ “กล่อมเห่ให้ลูกหลับ และก็กล่อมเกลาให้ลูกเป็นคนดี” เพลงกล่อมแต่ละเพลงนั้นล้วนแต่มีเครื่องบำรุงใจ ดังนั้น ในการกล่อมแต่ละครั้งนั้น แม่ก็ปฏิญาณต่อลูกอยู่เสมอว่า....
นอนเถอะนะคนดี
แม่จะกล่อมลูกนี้โอ้โอละเห่
ขวัญใจอย่างร้องให้โยเย
ปฏิญาณต่อลูก...
ใจของแม่ทุกคนรักและห่วงกังวถลูกของตนเหลือนั่น
ลูกเอยแม่จะร่ำรำพันดูกจงจำมั่นหลับสู่ฝันใสภา
และลังเพลงเต่เห่ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (ในขณะนั้น) ได้พระราชนิพนธ์เอาไว้
เห่เอยค่ำแล้ว อาทิตย์แคล้วครรไลลา
ดาวประดับท้องนภา พระจันทราพารถจร
หลับเถิดนะสายใจ อย่าอาลัยและอาวรณ์
จะถนอมกล่อมให้นอน จะขอพรปวงเทวัญ
เติบใหญ่ให้แกล้วกล้า เรืองวิชาทุกสิ่งสรรพ์
มีเลือดไทยแต่ปางบรรพ์ มิเคยหวั่นผองไพรี
จงครองคุณธรรมพร้อม ศรัทธาน้อมปัญญามี
จงละอคติสี่ ยึดขันตีออมอดใจ
อุปสรรคจะหนักหนา เจ้าก็อย่าโศกาลัย
เมื่อหวังปองเทิดผองไท ต้องแกร่งไกลดุจศิลา
ขวัญเจ้าจงอยู่ดี ฟังคำที่จำนรรจา
แล้วหลับนัยนา นิทราให้สำราญเอย” (อ่านต่อฉบับหน้า)