ดร.วิชัย พยัคฆโส
[email protected]
รัฐบาลคลอด 10 มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพื่อแบ่งเบาภาระยามเศรษฐกิจย่ำแย่ลงจากโควิด-19 และสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ในการแบ่งเบาภาระของประชาชนให้มีชีวิตรอดต่อไป แม้ว่าจะเป็นมาตรการเล็กๆก็ตาม
มาตรการดังกล่าวที่ว่านั้นเป็นมาตรการมุ่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เช่น ลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ลดค่าแก๊สหุงต้ม ลดค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ลดค่าแก๊สสำหรับแท๊กซี่ กับทั้งลดค่าประกันตนสำหรับผู้ที่ทำงานในระบบอีกด้วย รวมแล้วเป็นเงินถึง 80,000 ล้านบาทและช่วยผู้คน 40 ล้านคน นับว่ารัฐบาลยอมกัดฟันลดให้โดยเฉพาะรายได้ของรัฐ แม้ว่ารัฐบาลจะยอบแยบจากเงินในกระเป๋าก็ตาม จนถึงกับอดีตรัฐมนตรี 3 คน แนะนำให้กู้เพิ่มอีก 1.5 ล้านบาทก็ตาม
ประเทศไทยยังโชคดีมีเครื่องยนต์อีก 2 ตัวที่ช่วยประคับประคองอยู่ ได้แก่ การลงทุนภาครัฐ และการส่งออก ส่วนการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาคประชาชนกลับไม่กระเตื้อง
การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งออกรวม 7.7 แสนล้านบาท เพิ่ม 17-18% ถือว่ายังดีอยู่ เพราะสินค้าเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคายางพารามีอัตราการใช้สูงขึ้น ทำให้ราคาพุ่งตามไปด้วย ประกอบกับเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกไก่แช่งแข็งออกไปซาอุดิอาระเบียเป็นครั้งแรกย่อมเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่จะทำให้ชดเชยยอดส่งออกลดลงของรัสเซีย ทั้งนี้เป็นผลงานของนายกประยุทธ จันทร์โอชา ที่สร้างสัมพันธไมตรีกับซาอุดิอาระเบียให้เห็นผล
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครวันแรก มีผู้เสนอตัวให้ประชาชนเลือกถึง 20 คน เป็นประวัติการณ์ มีผู้หญิง 4 คน นอกนั้นเป็นชายล้วน และแต่ละคนมีดีกรีที่ใครเคียงกัน เพียงแต่ว่าประชาชนจะถูกใจใคร และใครที่สามารถครองใจประชาชนชาวกรุงเทพได้มากกว่ากัน วันที่ 22 พ.ค. นี้ รู้เรื่องแน่ เราจะได้ใครมาเป็นผู้ว่า กทม.
แม้ว่ากฎหมายลูกจะใช้ระบบเบอร์เดียวกันหรือไม่ วันที่ 30 ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดแล้วว่าเป็นคนละเบอร์ ถึงอย่างไรคงไม่กระทบมากนักกับพรรคการเมืองหลายๆสิบพรรค โดยเฉพาะพรรคเล็กยังมีโอกาส
รัฐบาลยังคงวางใจกับการเมืองที่จะเข้ามาถึงในเดือน พ.ค.นี้ แต่มั่นใจว่าคงผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อที่จะบริหารประเทศต่อไปจนถึงการประชุม APEC ให้ได้