วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก เป็นอีกวันหนึ่งที่เราจะได้รำลึกถึงวีรกรรมของวีรบุรุษทหารกล้า ที่ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตย และสร้างคุณูประการที่สำคัญกับประเทศ มีการจำหน่ายดอกป๊อปปี้เพื่อจัดรายได้สมทบทุนสงเคราะห์ครอบครัวทหาร ตำรวจ พลเรือน และอาสาสมัคร ที่ได้อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ปกป้องประเทศชาติ จึงขอนำความจากคลิปวิดีโอ 6 สงคราม กองประชาสัมพันธ์ อพศ. องค์การทหารผ่านศึก เผยแพร่ไว้ใน Youtube ตัดความบางช่วงบางตอนมานำเสนอดังนี้
“สงครามโลกครั้ง 1 โดยปี 2560 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ประกาศเข้าสู่สงครมร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศส โดยส่งทหารอาสาจำนวน 1,284 คนเข้าร่วมรบ เมื่อเยอรมนี และ ออสเตรีย ขอเจรจาสงบศึกในปี พ.ศ.2561 ทหารไทยจึงเดินทางกลับมาตุภูมิอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงเกียรติประวัติทหารอาสาของไทย รวมทั้งบรรจุอัฐิทหารหารที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติการรบจำนวน 19 คน หลังสงครามสิ้นสุดส่งผลให้ยกเลิกสัญญากดขี่ที่ไม่เป็นธรรมที่ประเทศต่างๆเคยทำไว้กับประเทศไทย และยังได้มีการเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเป็นธงไตรรงค์
กรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2482 ในระยะเริ่มสงครามฝ่ายอักษะซึ่งมีเยอรมันเป็นผู้นำได้รับชัยชนะมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนในทวีปเอเชียนั้นญี่ปุ่นได้แผ่อำนาจครอบคลุมยึดครองอาณาเขตบางส่วนของประเทศต่างๆมากขึ้น ทั้งเกาหลี จีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส ไทยประกาศวางตัวเป็นกลาง เพื่อป้องกันประเทศให้พ้นจากภัยสงคราม ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2483 แต่ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบรรณซึ่งกันและกัน ฝรั่งเศสขอให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนในอาณานิคมอินโดจีน เพราะฝรั่งเศสเริ่มพ้ายแพ้สงครามในทวีปยุโรรวมทั้งดินแดนส่วนใหญ่ในเอเชียถูกคุกคามจากญี่ปุ่น ทำให้อาณานิยมอินโดจีนไม่ปลอดภัย แต่ไม่สามารถตกลงในเงื่อนไขที่ไทยเสนอไป จึงเกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยมีอนุสรณ์แห่งการสงครามคืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จารึกชื่อของวีรบุรุษชาวไทยผู้รักชาติพลีชีพในการต่อสู้ครั้งนั้น
สงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งทะเลภาคติ ฝั่งตะวันออกและจ.สมุทรปราการ ครั้งนั้นทหารอากาศ 38 คน ยุวชนทหาร 1 คนและครอบครัวทหาร 2 คน ได้สละชีพในการป้องกันเอกราชในการต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ประเทศไทยจำยอมให้กองทัพญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันเกิดขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐ เนื่องจากเห็นความจำนงค์ของชาวไทยและฝ่าฝืนบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาอังกฤษและสหรัฐ รับรองประกาศสันติภาพของรัฐบาลไทย
สงครามเกาหลี พ.ศ. 2493 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แทรกซึมและขยายเข้าไปในประเทศต่างๆที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูบูรณะประเทศ และคาบสมุทรเกาหลีก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ เกาหลีเหนือ กับเกาหลีใต้ ซึ่งในเวลาต่อมาก็เกิดกรณีพิพาทกันขึ้นในปีพ.ศ. 2493 ทำให้ทหารไทยต้องเข้าสมรภูมิอีกครั้ง ตามคำขอของสหประชาชาติ โดยไทยส่งทหารประกอบด้วย ทหารบก 1 กรมผสม ทหารเรือ จากหมู่เรือ ทหารอากาศจากหน่วยบินลำเลียง ส่วนสภากาชาดไทยได้จัดส่งหน่วยบรรเทาทุกข์ มีแพทย์ และพยาบาลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกองกำลังสหประชาชาติด้วย การรบในครั้งนี้ วีรกรรมของทหารไทยได้เป็นที่ประจักษ์และเลื่องลือในปฏิบัติการรบหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสู้รบที่เขาพอร์คชอป ที่ได้รับการยกย่องชมเชย และได้รับฉายาจากชาติพันธมิตรว่าพยัคฆ์น้อย
สงครามเวียดนาม พ.ศ.2509 หลังจากรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามใต้ขอความช่วยเหลือด้านการทหารจากประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงให้กองกำลังจัดส่งทหารไปร่วมรบหน่วยเฉพาะกิจที่เรียกว่า กลุ่มทหารอาสามสมัครหรือที่รู้จักกันในนาม“จงอางศึก” และต่อมากองทักบพได้จัดตั้งกองพลอาสามัคร หรือที่รู้จักกันในนาม “กองพลเสือดำ” ที่มีกำลังพลนับหมื่นนายขึ้น มาผัดเปลี่ยนกับกองพลทหารอาสาสมัคร ซึ่งได้สร้างวีรกรรมการรบครั้งสำคัญไว้หลายครั้ง จนสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง
การต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2508-2528 เป็นช่วงเวลาที่คนไทยด้วยกันได้จับอาวุธต่อสู้กันเอง ซึ่งต่างก็อ้างว่ากระทำไปเพื่อชาติ ฝ่ายหนึ่งนำโดยกองทัพไทย ฝ่ายรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกฝ่ายนำโดยกองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย มีพลพรรคและกองกำลังซึ่งเรียกว่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แม้ในที่สุดรัฐบาลจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด แต่ชัยชนะที่ได้รับก็เป็นชัยชนะที่ต้องแลกด้วยชีวิต เลือดและน้ำตาของคนไทยด้วยกัน ทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหาร ตลอดจนสูญเสียทรัพย์สินของชาติมากมายมหาศาล”