สำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผยผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดประเทศอังกฤษ ที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ แลนเซ็ต พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบไขว้ โดยฉีดแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์เป็นโดสแรก แล้วตามด้วยโมเดอร์นาในอีก 9 สัปดาห์ต่อมา สามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดีขึ้นทั้งหมด หรือโดยข้อเท็จจริงคือ สูงกว่าเกณฑ์ที่ได้จากการฉีดวัคซีนของออกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซนเนกา 2 โดส
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันในโดสที่ 2 และหากโครงการสามารถทำได้เร็วขึ้นด้วยการใช้วัคซีนหลายชนิด ก็สามารถทำแบบนั้นได้ ซึ่งผลการศึกษานี้สนับสนุนการฉีดวัคซีนแบบยืดหยุ่นซึ่งเพิ่มความหวังแก่ประเทศยากจนหรือประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ที่จำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันระหว่างโดสแรกกับโดสที่ 2 กรณีขาดแคลนวัคซีน
ขณะที่ผลการศึกษายังพบด้วยว่า การฉีดไฟเซอร์-ไบออนเทค ตามด้วยโมเดอร์นา ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการฉีดไฟเซอร์-ไบออนเทค 2 โดส และการฉีดไฟเซอร์-ไบออนเทคตามด้วยโนวาแวกซ์ ให้แอนติบอดีสูงกว่าการฉีดแอสตราเซนเนกา 2 โดส
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขใชวัคซีนสูตรไขว์ ซิโนแวคกับแอสตราเซนเนกาเป็นสูตรหลักฉีดให้กับประชาชนและกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากสร้างภูมิกันสูงภายใน 5 สัปดาห์และต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ซึ่งเริ่มฉีดมาตั้งแต่เดือนกันยายน และสูตรอสตราเซนเนกา กับไฟเซอร์ที่เริ่มฉีดในเดือนตุลาคม
ทั้งนี้ การพบการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แม้ยังไม่มีผลการศึกษาความรุนแรงของโรคที่แน่ชัด แต่จากผลการศึกษาข้างต้น และความเห็นของศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ระบุว่าตอนหนึ่งว่า “การติดเชื้อ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ถ้าร่วมกับ ภูมิต้านทานจากวัคซีน จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงมาก ที่เรียกว่าเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม hybrid immunity และสามารถป้องกันได้ดีกว่า ในทำนองเดียวกันการให้วัคซีนเชื้อตาย เป็นการจำลองการติดเชื้อ มีภูมิต้านทานต่อทั้งตัวไวรัส รวมหนามแหลมด้วย และเมื่อร่วมให้กับวัคซีนอื่น ที่เป็นหนามแหลมสไปรท์ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าทำไมภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก และน่าจะเป็นแบบภูมิต้านทานลูกผสม hybrid immunity
ในอนาคตชื่อว่าการศึกษาภูมิต้านทานแบบลูกผสม น่าจะช่วยในการสนับสนุน ป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัส ไม่มีเฉพาะแค่หนามแหลมสไปรท์อย่างเดียวเท่านั้นบ้านเรามีวัคซีนหลากหลายมาก การใช้วัคซีนแบบลูกผสม อาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ก็ได้”
ทั้งหมดนี้ เป็นทั้งความหวังและแรงบันดาลใจ ที่เชื่อว่าไทยจะควบคุมโอไมครอนและได้มากกว่าเสียจากศึกรอบนี้