ชัยวัฒน์ สุรวิชัย  “เรา” เป็นผลผลิตจากความคิด ความรู้สึก และการใช้ชีวิตประจำวัน เปลี่ยนความคิดเปลี่ยนสมองของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ความสุขเป็นผลของการมีความคิดการนำเสนอประเด็นที่ถูกต้องและกล้าท้าทาย "  นี่เป็นเรื่องของความคิดและทัศนคติต่อเรื่องของความสุข ส่วนใหญ่เรามองว่าความสุขเป็นเรื่องของโอกาส หรือ สิ่งแวดล้อม บางคนเกิดมาพร้อมกับ happy brains มองโลกรื่นรมย์ บางคนเกิดมาแวดล้อมด้วยครอบครัวที่ดี ไม่มีปัญหา พวกนี้โชคดีนัก บางส่วนมองไปถึงเรื่องบุญกรรมแต่ปางก่อน หรือ เป็นผลจากการกระทำดีหรือไม่ดีเท่านั้น แต่ Richard Davidson จาก Center for Healthy Minds, ม.Wisconsin ผู้เขียนหนังสือ The Emotional Life of Your Brain มองอีกแบบ มองตาม neuroscientific research แล้วพบว่า ความสุขไม่ใช่ของขวัญจากจักรวาล มันเป็น “ทักษะ” ที่ทุกคนเรียนรู้ได้ เมื่อฝึกบ่อยๆเหมือนฝึกเล่นดนตรี จะเก่งขึ้น สมองจะเปลี่ยนไป ผู้คนที่ฝึกจะมีความสุขมากขึ้น เรื่องที่ต้องฝึกมีอยู่ 4 เรื่อง คือ 1. การคืนสภาพ Resilienceหรือจะเรียกว่ายืดหยุ่นก็ได้ คือการฟื้น คืนกลับจากสิ่งที่เป็นปัญหา  คืนกลับจากสภาพทุกข์ทนของคนได้เร็ว เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่ฝึกได้ แม้ว่าต้องใช้ความพยายามมาก มีงานวิจัยแสดงว่าการมีสติ การทำสมาธิสามารถทำให้วงจรคืนสภาพทำงานได้ดี แต่ต้องใช้เวลาฝึกประมาณ 6,000 ถึง 7,000 ชั่วโมง 2. การมองเชิงบวก Positive Outlook ทักษะนี้ คือ ความสามารถในการมองเรื่องดีดี เรื่องบวกของคนอื่น เป็นความสามารถจับประสบการณ์บวกต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต อันนี้ก็เกี่ยวข้องกับสมองคนเช่นกัน แต่ใช้เวลาฝึกไม่มากนัก การฝึกมองเชิงบวกนั้นใช้เรื่องของความเอื้ออาทรเป็นหลัก เมื่อรู้สึกดีต่อคนอื่น สมองจะเก็บไว้ในวงจรมันอย่างเร็ว 3. ความใส่ใจ Attention  จะได้ผลมาก ถ้าทำได้ถึง เอาใจจดจ่อConcentrate จิตใจที่ว้าวุ่นเป็นสาเหตุของความทุกข์ การมี focus ในสิ่งที่ทำสำคัญต่อความสุข การฝึกให้มี focus นั้นฝึกได้เช่นกัน  จริงๆแล้วมันคงเป็นเรื่องของสติ 4. ความกรุณา  Generosity ความใจดี ใจกว้าง กรุณา เอื้อเฟื้อไม่เห็นแก่ตัว นี่เป็นกุญแจสำคัญ ไม่เพียงแต่ทำให้คนอื่นมีความสุข เราก็มีความสุขไปด้วย ฝึกได้แน่นอน ความสุขมาทันที สรุป คือ เราเป็นผู้รับผิดชอบความสุขของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีใครช่วยได้ ลองฝึก 4 เรื่องนี้ดูแล้วจะพบว่าเราสามารถ remodel สมองตัวเองเพื่อเพิ่มความสุขได้จริงๆ นอกจากนี้ ยังมีหลักคิด 6 รูปแบบทางอารมณ์และวิธีการ ที่จะพัฒนาตนเอง มีความหมายของการค้นพบตัวเอง จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระดับหนึ่งของอารมณ์ 1. ความยืดหยุ่น  มันหมายถึงวิธีการช้าหรือได้อย่างรวดเร็วคุณสามารถกู้คืนจากความทุกข์ยาก  คนใช้เวลาเร็วช้า  ในการกู้คืนมากอย่างรวดเร็ว กลับมาที่พื้นฐาน 2. แนวโน้ม  หมายถึงความรู้สึกในเชิงบวกหรือลบ  ที่เกี่ยวข้องกับนิสัยชอบไม่ชอบต่อโลก 3. สัญชาตญาณทางสังคม  หมายถึงวิธีที่ถูกต้องคุณจะอยู่ที่ถอดรหัส เก็บค่าสัญญาณทางสังคมจากคนรอบตัวคุณ 4. ความตระหนักในตนเอง  การรับรู้ถึงความรู้สึกของร่างกายภายในตนเองที่สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึก 5. ความไวต่อบริบท  การปรับตอบสนองทางอารมณ์ของพวกเขาในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบท 6. อารมณ์ความสนใจ ความสนใจและอารมณ์มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดเพื่อให้  เราจะไปสวย  มีความสุข หากลงลึกไปในความหมายของการค้นพบตนเอง เชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระดับหนึ่งรายละเอียดทางอารมณ์ของเรา จากผิดเป็นถูก  จากไม่เข้าใจ เป็นเข้าใจ ทีละขั้นทีละตอน จนถึงเข้าใจลึกซึ้ง แต่มนุษย์เรา ที่เป็นสัตว์ประเสริฐที่สุดในบรรดาสัตว์และพืชที่มีอยู่ในโลก กลับ  “ รู้จักตนเอง “  น้อยมาก  รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของคุณค่าที่ตัวเรามีอยู่ “ อัตตา หิ อัตตโน นาโถ “  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หรือการพัฒนาตัวเองด้วยตัวเอง ที่ได้แต่พูด  ท่องจำ  หรือ การนำไปกล่าวอ้าง ให้สวยหรู  แต่ไม่ค่อยได้นำไปปฏิบัติ นี่คือ  ข้อแตกต่าง ระหว่าง   “ ผู้ที่ประสบความสำเร็จ “ และ “ ผู้ที่ล้มเหลว “ ในชีวิต 1. ผู้ที่ล้มเหลวในชีวิต หรือ ทำอะไรสำเร็จน้อย ทำให้เกิดความทุกข์ได้ง่าย  และไม่สามารถแก้ทุกข์ได้ด้วยตนเองพึ่งคนอื่น  ไม่คิดจะพึ่งตนเอง  ไม่ทำอะไรด้วยตนเอง แต่พึ่งพาคนอื่นเป็นหลัก ยอมรับอำนาจ  ความคิดความเชื่อของผู้มีอำนาจ มีตำแหน่งหน้าที่ หรือ หัวหน้า เชื่อในเรื่องของไสยาศาสตร์  เชื่ออะไรง่ายๆ เชื่อวัตถุหรือสิ่งของแปลกประหลาด ไม่ใช้สติปัญญา ความจริง  ในการจำแนกแยกแยะ “ ข้อมูล ข่าวสาร  คำบอกเล่า “ไม่ใช้หลักเหตุผล  หรือ ความคิดวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ ไม่ศึกษาหาความรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง ใช้อารมณ์  อคติ  ความแค้น ความไม่พอใจ  มาตัดสินใจ เป็นคนที่เกียจคร้าน  ไม่ทำงานหนัก  ไม่สู้งานที่ยากลำบาก  มีอุปสรรค ก็จะยอมแพ้ มักจะมีลักษณะบริโภคนิยม  ตกอยู่ในระบบอุปถัมภ์ พึ่งพาคนมีอำนาจอยู่ร่ำไป 2. ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือ มีผิดพลาดน้อย จะเป็นผู้ที่มีความสุข  แม้อยู่ในสภาพที่ทุกข์ยากลำบาก แม้จะมีทุกข์มีอุปสรรคเพียงใด  ก็จะสามารถฝ่าฟันไปได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง เน้นการพึ่งตนเอง  อาจจะมีการพึ่งพาคนอื่นบ้าง ก็เป็นบางครั้งบางครา ในเรื่องใหญ่ยาก ไม่ก้มหัวให้กับผู้มีอำนาจที่มิชอบธรรม แต่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรม เรื่องบ้านเมือง เชื่อในการแสวงหาความรู้สติปัญญา ความจริง  ด้วยตนเอง หรือกลุ่มคณะของตน ใช้หลักเหตุและผล  ความคิดวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้  ในการยอมรับ และการอธิบายให้ความสำคัญต่อการศึกษาเรียนรู้  ติดตามข่าวสารสม่ำเสมอเป็นคนขยัน มัธยัสถ์  ซื่อสัตย์ และเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ไม่เอาเปรียบ มักเป็นอิสระชน  ยืนหยัดพึ่งตนเอง สู้งาน สรุปบทเรียน เสริมข้อดี แก้ไขข้อบกพร่องตลอดเวลา การที่คนเรา  แยกออกได้  2  แบบ ดังที่กล่าวข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  หรือชาติกำเนิด  หรือบุญกรรม แต่ประการใด แต่ขึ้นกับความคิด การใช้ชีวิต การฝีกฝน ที่ให้ความสำคัญ หรือ ไม่สนใจ  ต่อ ชีวิต คือ 1.    การพึ่งพาตนเอง  หรือ  การพึ่งพิงคนอื่น โดยเฉพาะคนมีอำนาจมีผลประโยชน์ 2.    การศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ  “ การพัฒนาตนเอง “ ทั้งความคิด สมอง จิตวิญญาณ 3.    ความสำเร็จ หรือ  ความล้มเหลว  มิใช่เกิดทันที   แต่จะเป็นการสะสมความถูกและความผิด 4.    ฉะนั้นทุกคน มีโอกาสแก้ไขปรับปรุงได้  หากได้มีความคิดความเข้าใจที่ถูกต้อง