ต่อจากฉบับที่แล้ว
5. รัฐบาลล้มเหลวในการนำเข้าวัคซีน
ตามแผนการของบริษัทประกันภัยเชื่อว่า ต้นปีพ.ศ. 2564 รัฐบาลจะทยอยนำเข้าวัคซีนมาฉีดให้กับประชาชน อีกทั้งยังเชื่อว่าประเทศไทยเป็นฐานผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา น่าจะมีส่วนช่วยให้อัตราการติดเชื้อลดลง แต่ปรากฏว่ารัฐบาลไม่กล้าลงทุนนำเข้าวัคซีนในช่วงแรก เพราะมองว่ามีราคาแพง รัฐบาลเชื่อมั่นว่ากระทรวงสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคได้ดี จึงวางแผนจะซื้อวัคซีนเมื่อราคาถูกลงพร้อมทั้งยังกีดกันไม่ให้หน่วยงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนอื่น สั่งซื้อวัคซีนเข้ามาเอง โดยอ้างว่ารัฐบาลต้องรับภาระหากเกิดอาการแพ้ขึ้นมา จนนำไปสู่การระบาดขนานใหญ่ และประชาชนแย่งกันฉีดวัคซีนหนีตาย
6. บริษัทประกันภัยไหวตัวช้า
ตอนที่สายพันธุ์เดลตาเริ่มระบาดในอินเดียนั้น ก็มีข้อมูลที่เห็นได้ชัดว่าสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเริ่มมีการติดเชื้อในประเทศไทยก็สามารถติดเชื้อทีเดียวเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ๆครั้งละ 10-20 คน ไม่เหมือนสายพันธุ์อู่ฮั่นที่ติดเพียง 1-2 คน ความจริงถ้าผู้บริหารของบริษัทประกันภัยใส่ใจรายละเอียดตรงนี้ ต้องรีบปิดการรับสมัครเพื่อประเมินความเสี่ยงใหม่ทันที แต่เนื่องจากปี 2563 มีผู้ติดเชื้อน้อย บริษัทเหล่านี้ได้กำไรมหาศาล จึงย่ามใจเปิดให้สมัครแบบไม่อั้น กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
7. ไม่มีระบบกลั่นกรองผู้สมัคร
จากการที่รับประกันภัยโควิดในปีแรก(2563)ได้กำไรมาก ในปีถัดมาจึงเปิดให้มีการสมัครทางออนไลน์แบบไม่อั้น คือใครกรอกใบสมัครเข้ามา ก็ให้มีผลคุ้มครองทันที ซึ่งผิดวิสัยของบริษัทประกันภัยที่จะต้องมีการประเมินความเสี่ยง ตรวจสอบคุณสมบัติเสียก่อน และการที่ให้ตัวแทนและนายหน้ารับสมัครอย่างไม่จำกัดนี้ ทำให้หลายบริษัทรับความเสี่ยงภัยมาเกินกว่าเกณฑ์ที่ระบบกำหนดว่า "ห้ามรับประกันวินาศภัยรายเดียวหรือหลายรายรวมกัน เพื่อวินาศภัยอันเดียวกัน ทั้งนี้ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินไปกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุนของบริษัท"
8. คปภ.ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในการเรียกร้องสินไหม
ตามข้อกำหนดเดิม คนที่จะเรียกร้องสินไหมแบบเจอจ่ายจบนั้น นอกจากจะต้องตรวจผลแล็บจากสถานพยาบาลแล้ว ยังต้องมีแพทย์ผู้รักษาเขียนใบรับรองแพทย์ให้ด้วย แต่เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากวันละหลายหมื่นคน แพทย์ผู้รักษาไม่มีเวลาเพียงพอที่จะมา เขียนใบรับรองแพทย์ให้ทุกคน ทางคปภ.จึงออกประกาศผ่อนปรนให้ใช้ผลแลปจากสถานพยาบาลว่าติดเชื้อโควิด ก็สามารถเรียกร้องสินไหมเจอจ่ายจบได้ ขณะเดียวกันทางคปภ.ขอความร่วมมือให้บริษัทประกันภัยรีบจ่ายสินไหมภายใน 15 วันที่ได้หลักฐานครบ ทำให้ไม่มีเวลาตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบกับมีคนเรียกร้องสินไหมจำนวนมาก คนทำงานไม่เพียงพอ จึงเป็นช่องโหว่ให้มีการทุจริตพอสมควร
9. ไม่มีบทลงโทษคนโกงแบบเด็ดขาด
มีข่าวหนาหูว่ามีคนจำนวนหนึ่งวางแผนโกงบริษัทประกันภัยเพื่อรับเงินสินไหมเจอจ่ายจบ เช่น การปลอมผลตรวจให้ตนเองติดเชื้อ หรือการจงใจที่จะทำให้ตนเองติดเชื้อเพื่อรับเงินสินไหม ถึงแม้ต้นปีที่ผ่านมาทางคปภ. จะออกประกาศออกมาแล้วว่า คนที่ตั้งใจทุจริตในการเรียกร้องสินไหมจากบริษัทประกันภัยนั้น ตามกฎหมายใหม่ สามารถถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถึงขั้นจำคุกได้ แต่ก็ยังไม่มีกรณีตัวอย่างที่ทำให้คนหลาบจำ จึงยังคงมีคนตั้งใจทุจริตอยู่พอสมควร ซึ่งคนในวงการคาดว่าน่าจะมีสัดส่วนทุจริตถึง 20% (ซึ่งอัตรานี้เป็นตัวเลขปกติของการทุจริต ที่พบเห็นในการเรียกร้องสินไหมในประกันภัยประเภทอื่นๆด้วย)
10. ยกเลิกสัญญาประกันภัยไม่ได้
ในฐานะผู้บริโภค พวกเราส่วนใหญ่ไม่ทราบกันว่า ในกรมธรรม์ประกันวินาศภัยทุกฉบับ จะมีเงื่อนไขให้บริษัทประกันภัยสามารถยกเลิกสัญญาได้ หากอัตราความเสี่ยงภัยเปลี่ยนไป แต่ในอดีตบริษัทประกันภัยจะใช้สิทธิ์นี้เฉพาะเมื่อการปฏิบัติตัวของลูกค้าทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น มีการตุนเชื้อเพลิงในโรงงานจำนวนมาก หรือมีการขับรถที่หวือหวา แต่ในกรณีโรคโควิดนี้ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติตัวของลูกค้า แต่เกิดจากการที่เชื้อกลายพันธุ์ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และหากบริษัทใช้สิทธิ์นี้ ก็ต้องยกเลิกกรมธรรม์ของลูกค้าทั้งหมดนับแสนคน ซึ่งไม่เคยมีปรากฏการณ์นี้มาก่อน แต่ตามแผนการของบริษัทประกันภัย ได้มีการวางหมากนี้ไว้แล้วว่า ถ้าความเสี่ยงภัยสูงขึ้นมาจริงๆก็ให้ใช้สิทธ์นี้ แต่เมื่อบริษัท …(ชื่อบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง)นำร่องทำเรื่องนี้ ก็ถูกโจมตีอย่างมาก ทำให้ต้องยอมจำนนรับความเสียหายไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิต ยืนยันว่า บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และไม่มีเงื่อนไขให้สามารถยกเลิกสัญญาระหว่างทางได้ จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยในทุกแบบผลิตภัณฑ์กับทุกบริษัท เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และไม่มีเงื่อนไขให้สามารถยกเลิกสัญญาระหว่างทางได้ จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยในทุกแบบผลิตภัณฑ์กับทุกบริษัท เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์
กระนั้น เราหวังว่าจะมีทางออกที่ดีร่วมกัน จากนี้จะมีทางออกที่ดีร่วมกัน และนำไปสู่การคุ้มครองและควมมั่นใจต่อพีน้องประชาชนผู้ทำประกันต่อไป