แก้วกานต์ กองโชค “ทหารหมดจากอำนาจเมื่อไหร่ สิ่งชั่วร้ายเก่าๆ มันถอนไม่หมด ก็จะงอกงามกลับมาใหม่ได้ ถ้ามันไม่ใช่การดูแลประชาชน ผลการปฏิรูปที่ผ่านมา ผมยังไม่ให้คะแนนซักเท่าไหร่ อาจมีการปฏิรูปเป็นชิ้นๆ แต่รากโคนยังอยู่ อาจจะ 1-2 ปีก็กลับมาใหม่ ขณะที่นักการเมืองไทยเองชอบเสียเวลาอยู่กับพิธีการ การตัดริบบิ้นเปิดงานต่างๆ ใช้เวลาไปหลายชั่วโมง ประเทศชาติก็จะฉิบหาย ประสิทธิภาพการทำงานลเพราะไม่มีเวลาไปทำเพื่อบ้านเมือง" นายธีรยุทธ บุญมี นักวิชชาการชื่อดัง นั่นทำให้ความรู้สึกที่ต้องการให่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคนมีมากยิ่ง แปลไทยเป็นไทยก็คือ มะเร็งร้ายของสังคมไม่มีวันตายไปง่ายๆแม้กระทั่งความขัดแย้งในแวดวงการศึกษาโดยเฉพาะการตรวจสอบมหาวิทยาลัย 12 แห่งของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) บอกกับนักข่าวว่า ตามมีคำสั่งเรื่องการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ สกอ.ตรวจสอบมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลและการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ เบื้องต้นพบว่ามี 12 แห่งที่มีปัญหาและต้องเร่งเข้าไปตรวจสอบ แบ่งเป็นมหาวิทยาลัย มีปัญหาธรรมาภิบาลรัฐ 2 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีปัญหาเรื่องการจัดการศึกษาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 10 แห่ง ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงตั้งคณะกรรมการกลาง 2 ชุด ชุดละ 10 คนเพื่อไปตรวจสอบมหาวิทยาลัยรัฐ 1 ชุด เอกชน 1 ชุด ทั้งนี้การตรวจสอบดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 4 ของคำสั่ง คสช. หลังจากนั้นไม่นานนัก ชื่อของมหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ก็ถูกยอมรับว่า เป็น 1 ใน 2 แห่งของมหาวิทยาลัยของรัฐที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำลังตรวจสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา มีปัญหาเรื่องการแต่งตั้งอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย เนื่องมีความเห็นต่างในการตีความการปฏิบัติหน้าที่ของนายสาธิต ปิติวรา นายกสมาคมศิษย์เก่า มบ. และกรรมการสภา มบ. ว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ ซึ่งมีผลต่อการแต่งตั้งอธิการบดีและสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย รวมถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างฝ่ายต่างตีความตามข้อหารือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงคำสั่งศาล ปัญหาความขัดแย้งทางด้านการบริหารในมหาวิทยาลัย อาจจะนำไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ.อุดมศึกษาฉบับใหม่ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การไม่ต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยบางแห่ง โดยล่าสุด มีการไม่ต่อสัญญาจ้างอดีตนักเรียนทุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (มรท.) อ.ดร.เสนีย์ เจริญสุข หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (มรท.) กลายเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้นจนทำให้ต้องเดินทางไปพร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่จาก มรท. จำนวน 12 คน เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอความเป็นธรรม กรณีที่มรท.ไม่ต่อสัญญาจ้าง โดยไม่มีเหตุผล เมื่อวันที่ 7 ก.ย. นี้ ที่ผ่านมา ทั้งนี้เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2559 รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการ ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (Coordinating Center for the Public Higher Education) หรือ CHES ได้ออกแถลงการณ์ CHES เรื่อง ขอให้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ทบทวนมติของผู้บริหาร กรณีการไม่ต่อสัญญาจ้างพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีจำนวนมาก มีการระบุว่า ขณะนี้มีอาจารย์น่าจะมากกว่า 20 คนได้รับการแจ้งไม่ต่อสัญญา ทั้งยังระบุอีกว่าน่าจะมีเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการต่อสัญญากว่า 50-60 คน ซึ่ง CHES มีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ และเป็นเรื่องใหญ่มากที่จะมีการเลิกจ้างคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวนมากในปีงบประมาณนี้ จึงขอออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ทบทวนหรือหยุดยั้งมติของผู้บริหารดังกล่าวไว้ก่อน เพื่อความเป็นธรรม และขอเรียกร้องให้ฝ่ายบริหาร โปรดชี้แจงประเด็นดังกล่าวต่อสังคมเพื่อความเข้าใจต่อไป “ชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัยฯ ช่างตกอับและไม่มีความมั่นคง..ไม่ต่อสัญญาจ้าง..อ้างแต่เพียงว่า..ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาจ้าง” แค่นี้หรือ!! ผมเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ เป็นหัวหน้าสาขานิติศาสตร์ ผลการประเมินการปฏิบัติราชการอยู่ในเกณฑ์ดี มีผลงานทางวิชาการครบ” ข้อความทางเฟสบุ๊กของดร.เสนีย์ระบุไว้ นั่นจึงทำให้ “คำถาม” ตัวโตๆในรั้วสถาบันการศึกษา เริ่มกระจายออกสู่ภายนอกมากยิ่งขึ้น !!!