ทองแถม นาถจำนง ภิกษุ/ภิกขุ มีหลายความหมาย คามหมายหนึ่งคือ “ภิกขุหมายถึงผู้เลี้ยงชีพโดยการขอ เป็นปกติ” “ที่หมายถึง ผู้ขอ หรือผู้มีปกติขอ เพราะธรรมดา ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาย่อมเลี้ยงชีพโดยการเป็นผู้ขอ ไม่ประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเอง แต่ขอเพื่อความดำรงอยู่ เป็นไปในการดำรงชีวิต อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส เป็นประโยชน์กับผู้ที่ถวายทาน กับพระภิกษุ ที่จะได้บุญด้วย”(http://www.dhammahome.com/webboard/topic/22639) ครั้งหนึ่งพระเทวทัต เสนอพระพทุธเจ้าว่า ภิกษุสงฆ์ควรกินอาหารมังสวิรัติ ซึ่งไม่ทำลายชิวิตสัตว์ซึ่งพระพุทธเเจ้าทรงปฏิเสธ “คึกฤทธิ์ ปราโมช” เขียนให้อ่านสนุกว่า “พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเทวทัตจึงเป็นการตอบอย่างผู้ดี มิให้ผู้ฟังต้องกระเทือนใจ ถ้าจะตรัสตอบอย่างไม่ค่อยจะเป็นผู้ดีนัก ก็คงจะตรัสตอบพระเทวทัตว่า ‘เป็นขอทานแล้วจะไปเลือกได้อย่างไร’ ข้อความแบบนี้ ฝรั่งยังพูดกันเป็นคำพังเพยว่า Beggars can’t choose แปลเป็นไทยว่า “ขอทานเลือกไม่ได้” คำว่าภิกขุในภาษาบาลีนั้น ถ้าเขียนแปลงเป็นอักษรโรมัน ก็ต้องเขียนว่า Bhikkhu อ่านออกเสียงว่า บิ้กขุ ฟังดูใกล้กับคำว่า Beggar ในภาษาอังกฤษเสียจริง ภาษาบาลีนั้นความจริงก็เป็นภาษาฝรั่งโบราณอีกภาษาหนึ่ง ไวยากรณ์บาลีก็คือไวยากรณ์ฝรั่ง เพราะต้องจำแนกวิภัตติ ปัจจัย และศัพท์ในภาษายุโรปต่าง ๆ มากมายหลายคำนั้น ก็ตรงหรือคล้ายคลึงกับภาษาบาลีสันสกฤตอยู่มาก” พระพทุธเจ้าท่านเห็นว่า ภิกขุคือผู้ขอ จะไปกำหนดเลือกอย่างโน้นแย่งนี้ ก็ไม่ใช่ผู้ขอ และจะสร้างภาระให้กับฆราวาส แต่คนอินเดียก้กินมังสวิรัติกันมาแต่ปีมะโว้.... คือยาวนานมาก มันเริ่มมาแต่รัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช “คึกฤทธ์ ปราโมช” เล่าไว้อย่างนี้ครับ “จะกล่าวถึงพระเจ้าอโศกต่อไป เมื่อทรงประกาศออกไปมิให้ราษฎรกินเนื้อสัตว์ ให้กินแต่ข้าว ถั่ว งา ผัก และผลไม้แล้ว ก็ต้องมีมาตรการที่จะคอยบังคับให้ราษฎรปฏิบัติตามนั้น ระบอบการปกครองของพระเจ้าอโศกนั้นคือระบอบสายลับ ซึ่งเรียกว่าสปัศ (Spies ในภาษาอังกฤษ) สปัศนี้มีจำนวนมากและออกท่องเที่ยวไปในทุกทิศานุทิศในราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศก เมื่อเห็นผู้ใดกระทำผิดพระราชโองการในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ก็จะจดจำชื่อเสียงเรียงนามและบ้านที่อยู่กราบบังคมทูลเป็นทางลับมายังพระเจ้าอโศก พระองค์ก็จะตรัสใช้ให้ราชบุรุษไปเอาตัวผู้นั้นมาชำระแล้วลงราชทัณฑ์ ทุกคนก็ต้องคอยระวังตัวมิให้ตนเองผิดพระราชกำหนดกฎหมาย หรือแม้แต่พระราชนิยมอยู่เป็นนิจ ในเรื่องกินเจนี้ เมื่อได้ประกาศเป็นพระราชโองการออกไปแล้ว พวกสปัศก็คงจะได้ออกติดตามสอดส่องให้คนทั่วไปปฏิบัติ และคนทั้งปวงก็เลิกกินเนื้อสัตว์ กินแต่ผักอย่างเดียวเพราะเกรงพระราชอาญา กว่าพระเจ้าอโศกจะเสด็จสวรรคต คนทั่วไปก็คงจะติดการกินเจเป็นสันดานและเหม็นเนื้อสัตว์เสียแล้ว และการกินเจนั้นก็แพร่ออกไปทั่วประเทศเพราะศาสนาฮินดูก็ถือหลักอวิหิงสาเช่นเดียวกัน ต่อมาพวกแขกมะหง่น (Mogul) เข้ามายึดครองภาคเหนือไว้ได้ มีพระราชาธิราชผู้เป็นมุสลิมปกครอง การกินเนื้อสัตว์ก็เกิดขึ้นใหม่และแพร่หลายออกไป โดยเฉพาะในหมู่ชาวอินเดียที่หันมานับถืออิสลาม คนอินเดียทุกวันนี้ คนในภาคเหนือของอินเดียจึงกินเนื้อสัตว์ แต่คนส่วนใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้นั้นยังกินเจ ยกเว้นพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ในรัฐกัษมีรนั้น กินเนื้อแพะเนื้อแกะและไข่ได้ เห็นจะมีคนเอาแพะแกะมาฆ่าที่หน้าเทวสถานที่พราหมณ์ดูแลอยู่วันละมาก ๆ เพื่อสังเวยเทพเจ้า และอาจมีไข่บ้างก็ได้ เทพเจ้าของฮินดูนั้นยังฉันเนื้อสัตว์ ส่วนพราหมณ์ที่อยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของอินเดีย เช่น รัฐเอลาระ และที่อยู่รอบ ๆ ก้นอ่าวบังกหล่านั้นกินปลา เรียกเสียว่า “ผลไม้ทะเล” เพราะฉะนั้นพราหมณ์ไทยที่กินเนื้อสัตว์เช่นคนไทยทั่วไปและกินกระยาบวชตามกาลนั้น มิได้ผิดลัทธิแต่อย่างใดเลย ไม่น่าตำหนิติเตียน คนส่วนใหญ่ของอินเดียที่มิใช่พราหมณ์ คือคนที่อยู่ในวรรณะ กษัตริย์ แพศย์ และศูทรนั้นกินเจล้วน ชั่วแต่ว่ากินอาหารจากสัตว์ เช่น น้ำนม เนยใส (ฆี) เนยข้น (Butter) และเนยแข็งได้ และกินเอามาก ๆ เสียด้วย เพราะฉะนั้นจึงกินเจแล้วอ้วนพีดี”