แก้วกานต์ กองโชค รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมกับสมาชิกวุฒิสภาแล้ว มีจำนวน 650 คน โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกอบด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน รวมเป็น 500 คน ส่วน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา 73 คน รวมเป็น 150 คน โดยประธานรัฐสภามาจาก ส.ส. และเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นั่นทำให้หกลายเป็นชนวน “ความปรองดองเทียม” ขึ้นมาทันที โดยเป้าใหญ่ของอดีตนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเดิมคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยข้อหาฉกรรจ์ว่า กำลังสืบทอดอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอีกรอบ หลังจากบริหารงานมาแล้ว 3 ปี โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน จัดเสวนาโต๊ะกลมสาธารณะ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2560 ในหัวข้อ “ปรองดองแบบคสช.เมื่อไรจะเจออุโมงค์” ซึ่งมีจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เข้าร่วมเสวนา จาตุรนต์ วิจารณ์ คสช.อย่างรุนแรงว่า “หน้าที่สำคัญที่คสช.บอกว่าจะทำหลังเข้ามายึดอำนาจคือเรื่องการปรองดอง แต่ก็ล้มเหลว คำว่าปรองดองไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นต่างไม่ได้ ต้องเห็นเป็นเสียงเดียวกัน แต่คำว่าสังคมปรองดองนั้น สามารถเห็นขัดแย้งแตกต่างกันได้ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง แต่ต้องใช้กระบวนการ กติกาที่เป็นธรรม แก้ปัญหาโดยสันติวิธี” ขณะเดียวกัน 3 ปีที่ คสช.เข้ามากลับสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มขึ้น มีการใช้มาตรา 44 ในเรื่องที่ยังเป็นความเห็นขัดแย้งของคน และตัวนายกรัฐมนตรีก็สร้างความเกลียดชังด้วยคำพูดประณาม เหยียดหยามฝ่ายหนึ่งเป็นประจำ “ผมยังมองว่ารัฐธรรมนูญใหม่นี้ยังจะทำให้เกิดปัญหามาก เพราะการทำประชามติไม่เป็นเสรี ถือเป็นการขยายความขัดแย้งไปในวงกว้างเพื่อต้องการบริหารประเทศยาวนาน ไม่ฟังความเห็นต่าง เมื่อกลายเป็นความอึดอัด และขัดแย้งกับประชาชนจำนวนมากอาจจะมีการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาอีกก็ได้ เป็นเงื่อนไขว่าคสช.ต้องอยู่ในอำนาจต่อ” จาตุรนต์วิเคราะห์ไว้เหมือนกับนักการเมืองคนอื่นๆ เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า “เราต้องยอมรับกติกาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะต้องการรัฐบาลแบบไหน ถ้าคนนอกต้องการเป็นรัฐบาลก็ต้องหาคนมาร่วมให้ได้ 280 เสียง ถ้ามีพรรคใดพรรคหนึ่งได้ 200 เสียงก็อยู่ยาก รัฐบาลต้องมีเสียงเกินครึ่งหนึ่งในสภาฯไม่อย่างนั้นออกกฎหมายไม่ได้ หรือถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลก็ล้มแล้ว” “พรรคการเมืองที่จะรวมกันก็ต้องได้ 376 เสียงขึ้นไป ซึ่งโอกาสยากมาก เพราะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นคนตั้ง ส.ว.ก็ต้องคัดเลือกคนที่เชื่อฟังตัวเอง ดังนั้นพรรคใหญ่ 2 พรรคต้องจับมือเกือบจะเป็นคณิตศาสตร์แบบนั้น แต่ก็เกิดขึ้นได้ และไม่ควรปิดโอกาสในการร่วมมือกันของ 2 พรรคใหญ่ ถ้าจะไม่ให้คนนอกหรือ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ อีก” จาตุรนต์เสนอทางออกแบบมีเป้าหมายร่วมกันของนักการเมือง คำถามคือ พรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ จะทำตามความคิดของเขาหรือเปล่า ยังเป็นปัญหา เช่นเดียวกับ “นิพิฎฐ์” ตอกย้ำการบริหารของ คสช.ว่า “วันนี้เราอยู่ในอุโมงค์ที่ไม่มีแสงสว่าง และไม่รู้ต้องเดินไปอีกไกลแค่ไหน หวังที่จะให้ คสช.ให้แสงสว่างเดินไปสู่ปลายอุโมงค์คงจะยาก” สาเหตุที่ความปรองดองยังไม่เกิด เพราะเนื้อหารัฐธรรมนูญไม่ได้เอื้อต่อการปรองดอง ไม่เป็นธรรม ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นจริงๆ หลังการเลือกตั้ง เพราะไม่มีทางที่จะตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากต้องดู ส.ว.ว่าจะไปทางไหน ถ้า ส.ว.ไม่ยืนข้างประชาชน รัฐบาลก็ไม่เกิด ถ้าตั้งรัฐบาลได้ก็เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ไม่มีทางที่ สว.จะยกเสียงข้างมากให้” เขาคิดคล้ายๆ จาตุรนต์ว่า “ถ้าโชคดีพรรคเพื่อไทยรวมเสียงกับพรรคประชาธิปัตย์ ต่ยาก สมมติเราเลือกตั้งเสร็จแล้ว แต่ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ผ่านมา 1 เดือน 2 เดือนแล้วก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญค้ำอยู่ เมื่อตั้งรัฐบาลไม่ได้ ก็ให้ทหารอยู่ต่อก็แล้วกัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราต้องทบทวน” ณัฐวุฒิ ตอกย้ำเรื่องรัฐธรรมนูญว่า “การปรองดองจะเกิดขึ้นได้สังคมต้องมีความเป็นประชาธิปไตยก่อน แต่วันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เอื้อ และมีการพูดว่าหลังกฎหมายลุก 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเสร็จ ก็จะไปสู่กลไกการเลือกตั้ง อย่าเพิ่งไปมองไกลขนาดนั้น ขณะนี้จากการที่กฎหมายลูกพรรคการเมืองมีผลใช้บังคับแต่ยังไม่มีการปลดล็อกให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม นั่นหมายความว่า เป้าหมายใหญ่ที่เป็นอุปสรรคของนักการเมืองก็คือ รัฐธรรมนูญปี 2560 รัฐธรรมนูญที่มี สว.ถึง 150 คน และมีสิทธิ์โหวตนายกรัฐมนตรีด้วยสิครับพี่น้อง !!!! โอกาส ปรองดองแบบ คสช. จึงเกิดขึ้นได้ยากเอาการ.....