คอลัมน์ ผีเสื้อกระพือปีก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ก. ปู่จิ๊บ ซึ่งอยู่ในระหว่างเดินทางสัญจร พบปะกับเพื่อนมิตร "นักคิดนักอุดมคตินักสู้เพื่อประชาชน" ซึ่งได้แง่คิดที่ดีมีประโยชน์มาก เพราะส่วนใหญ่ตั้งจิตมั่น จิตอาสา คิดดีทำดี เพื่อส่วนรวม เพื่อสนองคุณ แด่พ่อหลวงร.๙ ของปวงชนชาวไทย และจะเป็นประโยชน์มากขึ้น หากได้ทำสิ่งสำคัญง่ายๆ ดังต่อไปนี้ . 1. ขอให้สรุปทบทวนชีวิตที่ผ่านมา อย่างตรงไปตรงมา ทั้งส่วนตัวครอบครัวและส่วนรวม อะไรคือข้อดี-จะเสริมเติมต่อให้ดีมากขึ้น , ข้ออ่อน-จะแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น 2. ใช้ความรู้ความคิดสติปัญญา หาความจริงของ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ก่อนจะนำมาใช้หรือเผยแพร่ต่อไป,อะไรที่ยังไม่ชัดไม่แน่ใจ-จะไม่พูดหรือเผยแพร่ต่อ ,เพราะจะเป็นการแพร่เชื้อโรคไปสู่สังคม,ทำให้เกิดความสับสนมากขึ้น ไม่เป็นผลดีมีแต่ผลเสีย ,นี่คือความรับผิดชอบต่อสังคมที่สาธุชนคนดี ควรให้ความสำคัญ น่ะจ้ะ 3. การได้ข้อมูลที่ถูกต้อง จักมีประโยชน์ในการนำไปศึกษาวิเคราะห์ปัญหาต่างๆของตนเองและบ้านเมืองสิ่งที่เป็นข่าว Data ต้องนำมาพัฒนาต่อ > Information > Knowledge > Wisdom > Vision หากยังไม่ได้ข้อเท็จจริง ต้องศึกษาแสวงหา โดยไม่จำเป็นต้องรีบร้อนไปนำเสนอ “ไม่ตกรถไฟ” ดอก สหายเอย แต่หากมีนิสัย “ต้องมาก่อน “ รีบสรุปแล้วเอาไปนำเสนอทันที จะหน้าแตก และหมดราคาความน่าเชื่อมือ บางผู้นำ นำ“ข่าว “ไปนำเสนอในที่ประชุม , และต้องตอบว่า” เขาเล่าว่า “ เมื่อถูกถามว่า “ ได้มาอย่างไร “ เพราะ “ ข้อมูลที่ถูกต้อง “ คือ กระดุมเม็ดแรก ที่จะนำไปสู่ “ การได้คำตอบที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา “ แม้แต่ผู้นำส่วนใหญ่ ยังอาศัย “ ข่าวหรือข้อมูล “ ที่ผิดพลาด มาพูดวิพากษ์วิจารณ์ จึงผิดเป้าไปไกล จ้ะ 4. ให้คิดบวกสร้างสรรค์ ,อย่าคิดลบ อย่ามองคนอื่นไม่ดีหมด ,ซึ่งเป็นเหตุซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก,ให้เน้นการแก้ไขที่ตัวเองก่อน จะเกิดประโยชน์มากกว่า. 5. หลักคิด 3 ข้อ คือ ๑. สิ่งดีที่เราทำได้ทันที ๒. สิ่งดี แต่ติดเงื่อนไข-ไม่มีปัจจัย ที่จะทำได้. ๓. สิ่งดี ที่จะเกิดขึ้นขึ้นได้ โดยจะต้องลงแรงลงคิดและอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนมิตรและคนอื่น. แต่เชื่อไหม คนมักจะไปคิดและทำใน ข้อ 2. ซึ่งนอกจะทำไม่ได้แล้ว ยังเกิดความหงุดหงิดอีก,ขอให้ทำใน ข้อ 1 และ ข้อ 3 . 6. หลักความคิดในการทำงาน คือ " ยิ่งทำงานเพื่อคนอื่นเพื่อสังคม ยิ่งจะทำให้เกิดความสุข , เป็นความสุข ที่เกิดจาก "การให้ " และยิ่งเป็นการแก้วิกฤตของบ้านเมือง ทำให้ส่วนรวมดีขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ส่วนตัวดีขึ้นได้อย่างแท้จริง และเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดินด้วย . ข. ปู่จิ๊บพร้อมกับเพื่อนมิตรชราเดินยักแย่ยักยัน ขึ้นไปบนเขาสูง ,มองลงมาขัางล่าง จึงเห็นภาพชัด ลักษณะของสิ่ง-โครงสร้างระบบ"มิใช่มองที่ตัวบุคคล"ที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ,จึ่งน่าสนใจยิ่งนัก มิใช่ฤา 1. โครงสร้าง-ระบบ ที่ไม่เป็นธรรม/ทั้งการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม และกระบวนการยุติธรรม , คือ เอื้อประโยชน์ให้แก่ชนชั้นนำ-ชั้นสูงของสังคม ,โดยเอาเปรียบชาวบ้านชาวเมืองคนชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ. คำถามที่ตามมา คือ นี่คือระบอบประชาธิปไตย ที่เราต้องการ ฤา 2. ลงลึกไปถึงระบบการเมืองเลือกตั้งของไทย, มีการปฏิรูป ที่พอจะเป็นความหวัง หรือจะสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนไทย ว่า -จะแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศได้ไหม , ต่อมา คือพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ได้มีการปฏิรูปแล้วหรือไม่, คือ 1. นักการเมือง เป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชนจากทุกภาคส่วนของประเทศ? 2. พรรคการเมือง มีหลักการที่กำหนดไว้ถึงวิธีการ ที่จะได้ตัวแทนที่ดีที่มาจากภาคส่วนต่างๆอย่างไร 3. เป็นคนดีมีอุดมคติ ที่รับรู้ปัญหาของชาติบ้านเมืองหรือไม่ มีประสบการณ์ในการต่อสู้เพื่อประชาชน ? 4. ยึดหลัก ไม่ซื้อเสียง ฯลฯ เพื่อให้ได้เป็น สส. , หากพบใครมีพฤติกรรมดังกล่าว ต้องลงโทษเด็ดขาด 5. มีสปิริตมีความรับผิดชอบต่อบทบบาทหน้าที่ของ สส. รมต. นายกรมต. เช่น หากมีความผิด คอร์รับชันโกงกินและใช้อำนาจมิชอบธรรม จะต้องยอมรับ การถูกลงโทษ 6. การเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน เป็นไปในทางสรรสรรค์ หรือหวังทำลายความน่าเชื่อถือ 3. ระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามหลักการไหม? คือ มีการถ่วงดุล-คานอำนาจกัน ระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติ-ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการฯ ,แต่ระบบปัจจุบันของไทย, สส.ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กลับ เป็นผู้กำหนดรัฐบาล, ซึ่งหมายความว่า :ฝ่ายนิติบัญญัติ กับ ฝ่ายบริหาร เป็นฝ่ายเดียวกัน ,โดยสรุป :เมื่อพรรคการเมืองส่งผู้สมัครเป็น สส. หากได้เสียงข้างมาก ก็ได้เป็นรัฐบาล, จึงคุ้มค่า/กำไรสูงสุด ในการลงทุน-ทุ่มทุนและทำทุกอย่างที่ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง เพื่อให้เป็น สส.รัฐบาล,นายกฯ 4. มากล่าวถึง "ประชาชนไทย" , ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีเงื่อนไขสำคัญคือ ประชาชน มีคุณภาพ -กล้าต่อสู้กล้าเสียสละ มีสปิริตมีความรับผิดชอบ ต่อสังคมและบ้านเมือง,เอาจริง ต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ต่อสู้กับผู้มีอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ,และรัฐบาลที่ดีที่มีความรับผิดชอบ ในการพัฒนาและสร้างประชาชนให้มีคุณภาพ และปรับสร้างระบบต่างๆให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคน ให้เป็น ผู้เอาการเอางาน Active Citizen , แต่ นักการเมืองไทย ทำเช่นนี้ไหม ? ความเป็นพลเมือง: เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตย โดยมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคุณธรรม มีสิทธิและหน้าที่ -มีเสรีภาพและความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมทางการเมือง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เคารพผู้อื่นและกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรมไม่ยอมรับ( และไม่ทำ) ความไม่ถูกต้องของรัฐเอกชนและประชาชน และต้องออกปกป้องความเป็นธรรม ฯลฯ 5. เมื่อรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐ ยังมิได้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะทางการเมือง-การเลือกตั้ง และประชาชนยังขาดคุณภาพ ยังทุกข์ยาก ฯ ทำให้ขาดข้อมูลและการพิจารณาที่ถูกต้อง ,แต่จะให้มีการเลือกตั้ง, ผลที่ออกมา ก็จะได้นักการเมืองและพรรคการเมืองเก่าหน้าเดิม มาเป็นสส. เป็นรัฐบาล ,ซึ่งก็จะเป็นแบบเดิม คือ มาทำเพื่อตัวเองพวกพ้อง และนายทุนเจ้าของพรรค เป็นหลัก แล้วประชาชน ก็จะทุกข์ยากและไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างเดิม , เราจะปล่อยให้มีการเลือกตั้งแบบเดืมๆไปหรือ ซึ่งเท่ากับ โยนอำนาจในการบริหารและอนาคตของประเทศ ให้คนไม่ถึง 2000 คน มากำหนดอนาคตของบ้านเมืองของคน 7 0 ล้านคน หรือ? 6. มีอีกหลายประเด็น ที่สามารถช่วยกันนำเสนอได้......,แต่ สำหรับเพื่อนมิตรที่รักบ้านเมือง เรามองประเด็นเหล่านี้อย่างไร ,และเราควรจะคิดจะทำกันอย่างไร ? What is to be done? 7. มีเพื่อนผู้อาวุโสสูงสุดวัย 85 ปี ฝากข้อคิดที่น่าสนใจ,ที่ทำให้เขา ไม่หยุดแต่ยังคงทำงานหนัก ว่า- หากเขาหยุดในขณะที่บ้านเมืองยังมีวิกฤตหนัก,ตัวเขาและลูกของเขา สามารถอยู่ได้อย่างสบาย ,แต่หากคิดให้ลึกไปถึง "หลานเหลน" ซึ่งยังเป็นเยาวชน ยังเป็นเด็กเล็กอยู่, เขาที่มิใช่ใครอื่น แต่คือ เลือดเนื้อเชื้อไขของเราเอง และเยาวชนไทยที่เป็นลูกหลานและเป็นอนาคต, จะอยู่กันอย่างไร และอนาคตของบ้านเมืองไทย จะเป็นอย่างไร ? 8. ตอนนี้ คุณตาคุณยาย ยังคงเดินหน้า พบปะคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เพื่อบอกกล่าวเล่าเรื่องว่า : เราทำอะไร เพื่ออะไร ,และเมื่อถามว่า : ทำไมจึงทำงานอยู่ , คำตอบ คือ " ทำแล้ว มีความสุข " , ความสุขจากการคิดดีทำดี เพื่อบ้านเมือง เราบอกว่า “ เราเป็นคนรักชาติบ้านเมือง “ และเราร่วมต่อสู้มาตลอดชีวิต ได้บ้างเสียบ้าง แต่งานยังไม่บรรลุแล้ว เรา จะทิ้งภาระหน้าที่และความรับผิดชอบไป ต่อหน้าเด้กเล็กเด็กน้อยเป็นลูกหลานของชาติ ไปได้อย่างไรแล้ว หาก “ ลูกหลานของเราและของประเทศไทย “ ยังต้องมาทุกข์ยากลำบากอีก ?เรา จะนอนตายตาหลับได้อย่างไร แล้วเราจะมีความสุขเอาความสบายมาอ้างว่า “ สู้มามากแล้ว แก่แล้ว ขอพักขอสบายบ้าง “ ได้ฤาแล้วจะตอบตอบ “ บรรพบุรุษ “ ที่ลงแรงลงชีวิต สู้มาให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ในวันนี้ ได้อย่างไร . ค. ปู่จิ๊บและคณะฯ ได้มีโอกาสลงไปใต้ดิน และมองขึ้นไป เห็น “ สิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น “ เช่น 1. พรรคการเมือง จะได้เห็น การประชุมหารือวางแผน เพื่อจะหาเสียงให้ได้มาเป็นสส. และ การเป็นรัฐบาลมากกว่า การปฏิรูปตนเอง การจะมีนโยบายแก้วิกฤตบ้านเมือง และผลประโยชน์ของประชาชน ฯลฯ บางพรรคยิ่งหนัก “ คอยรับคำสั่งเจ้าของพรรค “ ขณะเดียวกัน ก็ออกข่าวโจมตีรัฐบาลสร้างคะแนนเสียง… 2. หน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ คิดแผนข้อเสนอ เอาใจรัฐมนตรี และปฏิบัติตามคำสั่ง เพื่อหวังความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยขาดความสนใจการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างจริงจัง 3. รัฐบาล เร่งแก้วิกฤต สร้างภาพพจน์ที่ดี จึงอาศัยข้าราชการและทุนใหญ่ ที่มีศักยภาพ ปสท.กว่าชาวบ้าน 4. กลุ่มทุนใหญ่ วิ่งเข้าหารัฐบาล ยอมรับข้อเสนอประชารัฐ เพื่อสร้างเงื่อนไข การได้ประโยชน์ได้งาน 5. ชาวบ้าน ส่วนใหญ่ ขาดการศึกษาความกระตือรือร้นในการเพิ่มศักยภาพ แต่แบมือเรียกร้อง 6. ผุ้นำสังคมและประชาสังคม ขาดการศึกษาหาทางออกของชาติที่มีความเป็นไปได้ แต่ยึดติดความคิดเก่าขาดความคิดที่จะสรุปบทเรียนและแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และเริ่มอ่อนแรง เพราะยิ่งสู้มากยิ่งเจ็บตัว…….. บางกลุ่ม ยังคิดหาทางออกทางสู้ “ คดีทางการเมือง “ ที่รัฐบาล ไม่ได้นึกถึงบุญคุณที่ทำเพื่อบ้านเมืองแต่ ก็ยังเหลือบเห็น คนบางส่วน ยังมีความฝันอันสูงสุด ยังทุ่มเทเอาจริง เริ่มต้นที่ตนเองและกลุ่มของตนมีทั้งผู้อาวุโส วัยกลางคน และหนุ่มสาว ที่ยังเชื่อมั่น ใน “ ความดีความถูกต้องและความเป็นธรรม “ .