ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เธอ ผู้อยู่เคียงข้างและเบื้องหลังความสำเร็จของคนเดือนตุลา “เธอ” สตรี ผู้แบกฟ้าไว้ครึ่งฟ้า เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตที่ผ่านมา โดย : ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ส.สุข ชมจันทร์ และ ปู่จิ๊บ ระดมคิดเขียนออกมา ควรจะจบลงได้แล้ว แต่ไม่ได้ เพราะมีสาวใหญ่น้อย ไม่ยอม บอกว่า “ แล้ว เธอ ของอาจารย์ เล่า” ฉะนั้น ก็ต้องเขียนถึง “ เธอ “ สหายศิลา แห่งภูพาน “ สถานที่พบรักครั้งแรกของสหายสุข ชมจันทร์ 1. ก่อนอื่น เรามาฟังเพลง “ภูพานปฏิวัติ “ คำร้อง-ทำนอง: สหายปรีชา (จิตร ภูมิศักดิ์) ยืนตระหง่านฟ้าแผ่ไพศาลทิวยาวยอดสูงสง่า ภูพานมิ่งขวัญคู่หล้าแหล่งไทย ธงพรรค เด่นแดงเพลิง สะบัดโบกพลิ้วเหนือภู สู้พายุโหม หวิวหวู ไม่เคยหวั่นไหว ประทีปแห่งยุค เหมือนแสง อาทิตย์อุทัย นำทางสู่ชัย มิได้ไหวหวั่น มั่นในศรัทธา นักรบเหนือภูพาน ทหารของมวลชน เด็ดเดี่ยวอดทน เลือดเนื้อ พลีเพื่อประชา ทุกดงดิบลำเนา ขุนเขาสูงเสียดฟ้า พวกเราฟันฝ่าดั้น ด้นทนทาน เสียงปืนก้องคำราม คุกคามทั่วแดนดง ระเบิดทุ่มลง ปานฝน ไม่เคยสะท้าน สงครามประชาชน ทุกคนล้วนอาจหาญ ยืนหยัดตระหง่าน ดั่งภูพานไม่หวั่นผองภัย มวลชนเกรียงไกร ชี้ขาดชัยสงคราม เพลิงปฏิวัติแผ่สะพัดโหมฮือเป็นเปลวลุกลาม ธง...แดงเด่นงามโบกทายท้าเหนือยอดภูพาน เพลงปฏิวัติ-ภูพานปฏิวัติ 2. อุทยานแห่งชาติภูพาน พื้นที่ครอบคลุมท้องที่อ.พรรณานิคม อ.เมือง อ.กุดบาก อ.ภูพาน จังหวัดสกลนคร อ.สมเด็จ อ.ห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ 3. เรื่องราวของภูพาน จากข้อเขียนของสหายปัญญาชนคนหนึ่ง คนหนุ่มสาว พวกเขาต่างคนต่างมา เข้าป่าทางสกลนคร กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร และอำนาจเจริญ สุดท้ายศูนย์การนำฯ สั่งให้เขตงานต่างๆ ส่งตัวนักศึกษาขึ้นมาศึกษาทฤษฎีการเมืองที่ฐานที่มั่นภูพาน นับจาก จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อปี 2509 กลุ่มนักศึกษาที่เข้าโรงเรียนการเมือง-การทหาร ปี 2519 ก็ถือว่าเป็น “ปัญญาชนปฏิวัติ” รุ่นที่ 2 ของภูพาน ศูนย์การนำฯ เปิดโรงเรียนเป็นเวลา 1 เดือน และจบหลักสูตรต้นเดือนตุลาคม 2519 ทางสหายนำจึงจัดกิจกรรมผูกแขนรับขวัญทหารใหม่ที่หมู่บ้านอำนาจรัฐแดง ช่วงค่ำ วิทยุเสียงประชาชนฯ สรุปเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษา พร้อมกับเสียงเพลงเลือดต้องล้างด้วยเลือดและวีรชนปฏิวัติ นักศึกษากลุ่มนั้น ประกาศจะล้างแค้นแทนเพื่อนด้วยปืนตอบปืน ความจริง ช่วงปลายปี 2518 ต่อ ต้นปี 2519 ชาวสังคมนิยมฯ ส่วนหนึ่ง ได้เดินทางไปภูพาน เพื่อไปศึกษา งานมวลชนและงานจัดตั้ง กับสหายนำ แต่ไปได้ไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะ “ มีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ “จึงต้องเดินทางกลับมา ดูแลงานพรรคต่อ 4. มารับรู้ ถึง “ ลุงสยาม สหายนำสูงสุดของเขตฐานที่มั่นภูพาน “ ผ่านข้อเขียนของ “แคน สาลิกา “"ชายแปลกหน้าของหมู่บ้าน" ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านในภาคอีสานยุคก่อนปี 2500 ในรูปแบบต่างๆ บ้างก็เป็นหมอยา, ช่างตัดผม, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ ที่บ้านนาไร่ใหญ่ มีชายแปลกหน้าขี่ม้าเข้ามาที่หมู่บ้าน เขามีอาชีพช่างไม้ ไม่มีใครรู้ประวัติเขามากนัก และชายคนนั้นก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมบ้านนาไร่ใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว กลางวันชายแปลกหน้าจะเป็นช่างไม้ รับจ้างทำงานทั่วไป ตกกลางคืน ชายชาวใต้จะนำหนังสือพิมพ์มหาชน มาอ่านให้ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งฟัง ซึ่งการล้อมวงในคุยกันยามค่ำคืน ก็เป็นรูปแบบการปลุกระดมมวลชนในนาม "องค์การชาวนากู้ชาติ ต่อมา ชายแปลกหน้าแต่งงานกับสาวนาไร่ใหญ่ ซึ่งเธอเป็นลูกสาวคนสุดท้องของครอบครัวชาวนา ที่มีพี่ชายสองคนเป็น "แกนนำ" องค์การชาวนากู้ชาติประจำหมู่บ้าน เมื่อบ้านนาไร่ใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (สมัยโน้น อำนาจเจริญเป็นอำเภอหนึ่งของอุบลฯ) กลายเป็นหมู่บ้าน "สีแดง" ชายแปลกหน้า จึงหายตัวไปจากหมู่บ้าน ปี 2515 ชายแปลกหน้าปรากฏตัวที่ "ฐานที่ภูพาน" ในนาม "สหายสยาม" หนึ่งในองค์การนำอีสานเหนือ และรับผิดชอบฝ่ายทหาร สามารถบัญชาการรบต้านยันการล้อมปราบของฝ่ายกองทัพภาคที่ 2 และ ปกป้องฐานที่มั่นไว้ได้ และในปีถัดมา "สหายสยาม" เป็นเลขาธิการพรรค ภาคอีสานเหนือ การมาพบกันเจอกันของ สหายศิลา และสหายสุข ชมจันทร์ ที่ภูพาน เริ่มจากสหายหญิงก่อน ในช่วงปี 2522- 23 “ สถานการณ์การปฏิวัติที่ดียิ่ง “ ซึ่งพคท.ใช้เป็น คำประกาศปลุกระดมต่อชาวพรรค นักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วมฯ เริ่มเสื่อมลง เพราะ ในฐานที่มั่นและเขตจรยุทธ์ต่างๆเริ่มมีปัญหา “ ความขัดแย้งทางแนวทางและความคิด กับ พรรค “ จึงเริ่มมีการทยอยออกมาจากชนบทเข้าสู่เมืองเป็นระยะๆ แต่ปรากฏว่า “ เขตฐานที่มั่นภูพาน “ เป็นเขตงานที่เหลือไม่กี่แห่ง ที่การปฏิวัติยังคึกคักมีชีวิตชีวา โดยประจักษ์พยานที่ปรากฏ คือ “ มีนักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วมฯ จากในเมืองและต่างประเทศ “ เดินทางตีตั๋วทัวร์เข้ามา “ ดูงาน การปฏิวัติ ของพรรคนักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วม” ด้วยความประทับใจ ทางสหายนำฯ ที่ทำหน้าที่ดูแล นอกจากลุงสยามแล้ว ก็มีสหายเจริญ ผุ้นำระดับรองฯ ทำหน้าที่นี้ สหายสุขและชาวสังคมนิยมฯ และนักศึกษาปัญญาชน,แนวร่วมฯ ที่อยู่ในเขตงานนี้ ได้ร่วมทำหน้าที่ด้วย วันหนึ่งของกาลเวลาที่สดใส ที่ทำให้สหายหนุ่มนักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วม คึกคักมีชีวิตชีวา คือ “ มีคณะหนึ่งจากในเมือง ที่เข้ามาดูงาน ประมาณ 15 วัน ประกอบด้วยหญิงชาย หนุ่มสาวฯ “ จุดเด่นอยู่ที่ “ นักศึกษาสาวจากมหาวิทยาลัยเกษตรฯบางเขน นาม สหายศิลา “ ส.สุข ชมจันทร์ ได้รับเชิญจากสหายเจริญ ให้ช่วยทำหน้าที่ร่วมในการพาไปดูงานและแลกเปลี่ยนฯ ซึ่ง ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ที่ไม่เหมือนสหายหนุ่มหลายคน ที่พูดถึง “ เธอ “ มาเข้าหู สหายสุข ฐานที่มั่นภูพาน นักศึกษาฯที่เข้ามาร่วม หลัง 6 ตุลา มีหลายสถาบันแต่ส่วนใหญ่มาจาก ม.เกษตรบางเขน ได้เล่าให้ฟังว่า “ เธอ “ เป็นหญิงเก่งกล้าแกร่ง ที่ยืนอยู่แนวหน้า ในการตอบโต้กับนิสิตฯที่ต่างความคิด แต่ที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับกัน คือ “ ความงาม และเด็ดเดี่ยว “ ส.สุข ในฐานะแนวร่วมฯ ได้มีโอกาสคุยกับเธอ โดยส่วนใหญ่จะรับฟัง “ ประเด็นที่เธอเล่าให้ฟัง “ เรื่องงานปฏิวัติ งานที่เธอทำ ในช่วง ปี 2519 ที่เรียนอยู่ ปีที่สองและหลัง6ตุลา ได้เดินทางไปเขตอีสานใต้ ได้ทำหน้าที่พยาบาลแดง และออกมาทำงานในเมือง และการกลับไปเรียนต่อ ………… และต่อมา เมื่อเริ่มสนิทคุ้นเคย “ เธอ เล่าเรื่องที่บ้าน และขอความคิดเห็นและคำแนะนำ “ เมื่อถึงเวลาเดินทางกลับ โดยลงไปทางตีนดอย สหายสุข ก็ได้เดินทางไปส่ง “ สหายศิลา “ ด้วย แล้ววันเวลาก็ผ่านไป ฟ้าที่เคยแจ้งสว่างไสว เริ่มมืดมิดลง ความขัดแย้งเริ่มก่อตัวที่ภูพานด้วย นักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วมฯ เริ่มมีความขัดแย้งและความเห็นต่อพรรคมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ ความเฉยชาและความสนใจงานปฏิวัติเริ่มน้อยลง วินัยเริ่มหย่อนยาน เพราะเกิดความรู้สึกที่ต่างไป ความมั่นใจในการปฏิวัติที่มีพคท.นำ เริ่มลดลง มีความคิดว่า “ ทำไปทำไม หากเป็นเช่นนี้ “ทางฝ่ายนำพคท.ภูพาน ได้จัดสัมมนา “ นักศึกษาปัญญาชนและแนวร่วมขึ้น “ แต่ไม่ได้ผลมากนัก ในช่วงก่อนหน้าและช่วงนี้ สหายนำฯ โดย สหายเจริญ ได้เชิญ สหายสุข ไปคุย 2 เรื่องสำคัญ เรื่องแรก เป็นการเชิญให้เข้าร่วมมาแก้ปัญหาวิกฤต เพราะทางพรรคเชื่อมั่นในจิตใจของสหายฯ ซึ่งส.สุข ก็ตอบรับ ต่อสหายนำของพรรค “ ด้วยความยินดีและเร่าร้อน ที่ต้องการทำงานเพื่อมวลชน “และ “ เรื่องสหายศิลา “ โดยส.เจริญ ได้ถามความรู้สึกฯ ,สหายสุข ก็ตอบรับว่า “ เธอเป็นหญิงเก่ง “ เรื่องหลัง ก็ดูเหมือนหายไป เพราะสถานการณ์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไปจนยากที่จะกลับมา ส.สุข นอกจากทำหน้าที่คุยแลกเปลี่ยนแล้ว ยังมีเรื่องของชาวพรรคสังคมนิยมฯ ที่ต้องตัดสินใจ ฯ ในที่สุด พสท.ก็ประกาศถอนความสัมพันธ์กับ พคท. แล้วเดินทางกลับสู่เมือง ในเดือนเมษา 2524 หลังจากนั้นระยะหนึ่ง ในวันนั้น ที่บ้านแนวร่วมฯ ที่ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย ไปร่วมคุยงานและพักอยู่ ส.ศิลา หรือ คุณสุธิดา ก็ได้ไปปรากฏตัวขึ้น และได้คุยกัน เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นใหม่ คุณสุธิดา กำลังเรียนใกล้จะจบ ส่วน นายชัยวัฒน์ ไปทำงานเป็นนายช่างโครงการสร้างทางต่างจังหวัด การพัฒนาความสัมพันธ์และความรักสดชื่นมีชีวิตชีวา มาแทนสถานการณ์การเมืองที่มืดมิดและจบลง แล้วในวันที่ 12 พย. 2524 คุณแม่บุญจันทร์ สุรวิชัยและญาติ ได้เดินทางไปสู่ขอ “ นส.สุธิดา นามวงค์ “ซึ่งมีเพื่อนวิศวจุฬาฯ 5-6 คน ที่สนิทกันไปร่วมด้วย ทั้งงานพิธีหมั้น-แต่งงาน และงานเลี้ยงที่จันทบุรี เมื่อเริ่มมีลูกชาย 2 คน “ พี่เจี๊ยบน้องโจ๊ก “ ซึ่งเกิดที่แฟล๊ต 8 ชั้นดินแดง ที่ได้ไปซื้อเป็นที่อยู่ ถึงแม้พ่อจิ๊บ จะไม่หล่อ แต่ลูกทั้งสอง ก็หล่อเหลาเอาการไม่แพ้กัน เพราะ “ แม่จุกสวยและน่ารัก” แม่จุก ได้ทำหน้าที่เลี้ยงดู และทำงานไปด้วย โดยไปฝากเลี้ยงที่ nursery แม่วันพ่อเปี๊ยก ที่อยู่แฟล็ตเดียวกัน เพราะพ่อจิ๊บ ต้องไปทำงานต่างจังหวัด ในช่วงลูกเล็กๆ และกลับมาทำงานที่กรุงเทพและช่วยงานที่เอไอเอ แม่จุกเป็นหญิงเก่ง ทำงานหนัก เอาจริงตั้งใจมั่น ในการทำงานสร้างฐานะ ในฐานะตัวแทนและผู้จัดการ AIA เราเริ่มขยับขยาย โดยไปลงทุนซื้อบ้านที่บ้านภาณุ แถวบรมราชบนนี ซึ่งทำให้ต้องทำงานหนักขึ้น แต่ในเรื่องของบ้านเมือง เราไม่เคยหยุด เมื่อมีเหตุการณ์เราร่วมอยู่ตลอดจนจบ หลายครั้ง ที่ลูกเจี๊ยบโจ๊ก ได้ไปร่วมชุมนุมคัดค้านด้วย ในเหตุการณ์พฤษภา 2553, และ 2549-2557 การชุมนุมของพธม. และ กปปส. โดยเช้าวันที่ 7 ตุลา 2551 แม่จุก ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ชีวิตที่เหลือของเรา คงดำเนินไปเช่นนี้ อ้อ เรามีความสุขเพิ่มขึ้น เมื่อมีหลานน้ำผึ้ง เรียก “ย่าจุกปู่จิ๊บ” ให้ชื่นใจ