ทองแถม นาถจำนง
สมัยก่อนนั้ข้าพเจ้าเคยเสวนาเรื่องเกี่ยวกับการเมือง-เศรษฐกิจกับคนอื่นบ่อย ทั้งวงนักวชาการและวงเยาวชนนักศึกษานักกิจกรรม พบว่าประเด็นที่ผู้คนมักจะหลงเอามาสับสนปนกันคือระบอบเศรษฐกิจกับระบอบการเมืองการปกครอง
เช่น พูดถึงเศรษฐกิจระบบสังคมนิยมกับการเมืองระบบเผด็จการเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน คือถ้าใช้ระบบสังคมนิยมก็คือเผด็จการ ในทำนองเดียวกัน ก็มักจะพูดถึงประชาธิปไตยกับทุนนิยมเสรีเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน
อันที่จริง มันเป็นสองเรื่อง ที่ต้องจำแนกแยกกันพูด
จะบอกว่า เงินเฟ้อหรือของแพง คนเดือดร้อนมากเพราะเผด็จการ พูดอย่างนี้คือเอาสองเรื่องมาสับสนปนเปเข้าด้วยกัน
รัฐบาลในโลกนี้ที่เขาได้อำนาจรัฐมาด้วยการเลือกตั้ง แต่เลือกใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมนั้น เคยมีมากไม่น้อยแล้ว และรัฐบาลเผด็จการในโลกนี้นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นทาสของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี
อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ท่านเคยเขีบนบ่นเรื่องทำนองนี้ไว้เหมือนกันเมื่อ พ.ศ. 2516 (สยามรัฐหน้า 5 วันที่ 11 กรกฎาคม 2516)
“ราคาของกินของใช้ในเมืองไทยนั้น แต่ก่อนกินเวลาเป็นปี ๆ จึงขึ้นไปได้ถึง 9 เปอร์เซนต์
แต่ในระย 4-5 เดือนที่แล้วมานี้ ราคาของินของใช้ในบ้านเราขึ้นพรวดไปถึง 15 เปอร์เซนต์
คนก็ต้องเดือดร้อนกันมาก เมื่อเดือดร้อนแล้วก็ต้องหงุดหงิด
น่าสังเกตที่ความหงุดหงิดในเรื่องหนึ่งกลับไปแสดงออกในอีกเรื่องหนึ่ง
เป็นต้นว่าเกิดมีการเรียกร้อง มีการแสดงประชามติให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน....
อย่างไรก็ตา เราสำรวจดูความต้องการที่แท้จริงของเราหรือเปล่า ว่าเราต้องการอะไร หรือเดือดร้อนอย่างไร ?
เราใจแล้วหรือว่า เพียงแต่มีรัฐธรรมนูญภายในหกเดือน (หรือมีการเลือกตั้งเร็ว .... ตรงนี้นายทองแถม เติมเข้าไปครับ) ความต้องการติ่ง ๆ และความเดือดร้อนต่าง ๆ ของเราจะผ่อนคลายเบาบางลงไปได้ ?
หรือว่าจะกลับเพิ่มขึ้นอีก
เพราะการมีรัฐธรรมนูญนั้น (หรือมีการเลือกตั้ง ....ตรงนี้นายทองแถม ก็เติมเข้าไปอีกแล้วครับ) เท่ากับเป็นการเปิดเวทีให้นักการเมืองอาชีพได้เข้ามาแสดงกันเต็มที่
เพื่อตำแหน่งแห่งหน เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อความยิ่งใหญ่ เพื่อให้ดัง
การแสดงเช่นนี้เราเคยได้เห็นมาหลายชุดแล้ว
เราอยากมีรัฐธรรมนูญ และได้เรียกร้องเอารัฐธรรมนูญกันมาหลายครั้งหลายหนแล้วเช่นเดียวกัน
แต่พอมีรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งแล้ว เราได้อะไร ?
เราได้คณะราษฎร์
เราได้พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
เราได้พรรคเรีมนังคศิลา
เราได้พรรคสหประชาไทย
ทุกอย่างที่เราได้มานี้เป็นเพียงปัจจัย เพื่อให้บังเกิดผลขั้นสุดท้าย
คือจอมพลที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วของกินของใช้ถูกลงหรือเปล่า ?
ความปลอดภัยในชีวิตของเราเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?
ความราบรื่นในชีวิตของเราเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?
เปล่าทั้งเพ
เรามีรัฐธรรมนูญ เอาไว้เลี่ยงกันเท่านั้นเอง
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ มิใช่ว่าผมไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ
ต้องการครับ ต้องการเท่ากับคนอื่น ๆ
ชั่วแต่ว่า ผมต้องการรัฐธรรมนูญที่จะมาแก้ปัญหาต่าง ๆ ของเราได้จริง
ถ้ายังหารัฐธรรมนูญที่จะมีคุณภาพเช่นนั้นไม่ได้ ทำไมเราไม่จับเอาปัญหาของเราที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้นมาทีละอย่าง แล้วเรียกร้องให้คนที่รับผิดชอบแก้ปัญหานั้นให้จงได้”