พิษโควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบหนักหน่วง รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งต่อระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจและระบบการเมือง ไม่ว่าโรงงานหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่ต้องทยอยปิดตัวไปเพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือที่จำเป็นต้องปิดชั่วคราว จากปัญหาการแพร่ระบาดคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มก้อน จากโรงงานและแคมป์คนงาน กลายเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งไม่เพียงแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ก่อนหน้านี้ผลการศึกษาของออราเคิล และ เวิร์กเพลส อินเทลลิเจนซ์ ที่เปิดเผยเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตของแรงงานทั่วโลก โดยผู้คนทั่วโลกต่างกำลังต่อสู้กับความเครียดและแรงกดดันในสถานที่ทำงานที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั้งนี้พนักงาน 70% มีความเครียดและความวิตกกังวลในสถานที่ทำงานมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยความเครียดและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลเชิงลบต่อสุขภาพจิตของแรงงาน 78% ทั่วโลก โดยก่อให้เกิดความ เครียดมากขึ้น 38% การขาดสมดุลของชีวิตส่วนตัวและงาน 35%ความเหนื่อยล้า 25% ความหดหู่จากการไม่ได้เข้าสังคม 25% และความโดดเดี่ยว 14% ขณะที่แรงกดดันใหม่ที่เกิดจากการแพร่ระบาดทั่วโลกได้ทับถมลงบนสิ่งที่กระตุ้นความเครียดในสถานที่ทำงานที่มีอยู่เดิมซึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วทุกวัน โดยรวมถึงแรงกดดันที่ต้องปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐาน 42% การรับมือกับภารกิจประจำวันและงานที่น่าเบื่อหน่าย 41% และภาระงานที่ยุ่งยากจนไม่สามารถบริหารจัด การได้ 41% อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดจาก กรมสุขภาพจิต ที่ทำการสำรวจสุขภาพจิตในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ (โควิด-19) ระลอกใหม่ พบว่าคนไทยปรับตัวรับมือสถานการณ์ได้ดีมากขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยพลังใจจากครอบครัว และคนใกล้ชิดยังเป็นปัจจัยสำคัญ และขณะนี้พบความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตสูงในกลุ่มแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะ จึงจัดเวทีเสวนาระหว่างกรมสุขภาพจิต และผู้แทนกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มวัยแรงงาน และบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน ทั้งนี้จากการติดตามผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 มาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในประเทศไทย ในภาพรวมของผลสำรวจ ความเครียด อาการซึมเศร้า ความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง มีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 มากขึ้น แต่การปรับตัวสูงขึ้นของปัญหาด้านสุขภาพจิตในช่วงการระบาดของปี 2564 ยังไม่ถึงระดับเดียวกับช่วงที่มีการระบาดในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนส่วนหนึ่งมีพลังใจที่ดีมากขึ้น เริ่มมีการปรับตัวรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีมากขึ้นและเมื่อสำรวจพลังทางใจของคนไทยปี 2564 พบว่าปัจจัยด้านพลังใจที่คนไทยมีอยู่มากที่สุด คือ การมีคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจ รองลงมาเป็นการมองว่าการแก้ปัญหาทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และตามมาด้วยความสามารถในการจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จากผลสำรวจยังพบอีกว่า สำหรับคนที่มีพลังใจลดน้อยลงจะทำให้รู้สึกว่าปัญหายากลำบากมากขึ้นและกังวลว่าจะเอาชนะปัญหานั้นไม่ได้ นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิตได้นำผลสำรวจล่าสุดมาจำแนกตามอาชีพ พบว่าระดับความเครียดมาก-มากที่สุด ในรายอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะมีอัตราสูงสุด (ร้อยละ 14.8) รองลงมาเป็น กลุ่มว่างงาน (ร้อยละ 8.8) และบุคลากรสาธารณสุข (ร้อยละ 6) ตามลำดับ ซึ่งอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะนี้ มีทั้งอาการซึมเศร้า (ระดับค่อนข้างมาก-มาก ที่ร้อยละ 7.4) และความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง (ระดับค่อนข้างบ่อย-เกือบทุกวัน ที่ร้อยละ 3.7) ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดในทุกกลุ่มอาชีพอีกด้วย เราเห็นว่า การเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และในแง่ของจิตใจ โดยเฉพาะยาใจนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างเครือข่ายในการให้ “ยาใจ” มากขึ้น ตั้งแต่ความเครียดและวิตกกังวลในระดับต้นๆ จะต้องเข้าถึงการบำบัดอย่างเร่งด่วน ไม่ปล่อยให้บานปลายกลายเป็นภาวะซึมเศร้า ทำร้ายตนเองและผู้อื่น เป็นสิ่ง