แล้งซ้ำซาก น้ำท่วมซ้ำซาก ขยะล้นเมือง ในเมืองใหญ่เมื่อฝนตกหนักน้ำรอระบายท่วมถนนและไหลบ่าเข้าบ้าน ฯลฯ ปัญหาสภาพแวดล้อมนี้ หากไม่วิกฤติจริง ผู้คนก็มักจะเฉยชา มองข้ามปัญหา
อันที่จริงนักิชาการก็ได้เตือนไว้นานแล้ว ดังจะยกตัวอย่างคำสรุปผลการประชุมทางวิชาการของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมป์ เรื่อง “วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย” เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ 2530 ดังมีเนื้อความบางส่วนดังต่อไปนี้
“1.สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยกำลังประสบภาวะวิกฤติ ป่าและทรัพยากรอื่น ๆ กำลังงวดไปอัตราความเร็วที่น่าตกใจ มลภาวะทางอากาศและน้ำกำลังเลวร้ายใกขึ้นทุกปีที่มาของสภาพเหล่านี้มีจากเหตุหลายประการ งรวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย เช่น แรงผลักดันทางด้านประชากร การขาดแคลนที่ดินทางเกษตรกรรม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการเสาะหาผลประโยชน์ ขาดความตั้งใจทางการเมือง โครงสร้างทางกฏหมายที่ใช้ไม่ดีพอ ความอ่นอแอของการบังคับทางกฏหมาย ความฟุ้งเฟ้อทางวัตถุ การขาดความใส่ใจของคนโดยส่วนรวม ตลอดจนอุปสงค์หรือความต้องการจากเศรษฐกิจระดับโลก
2.วัฒนธรรมไทยก็ถูกคุกคามเช่นกัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ผลกระทบของค่านิยมจากกรุงเทพ ในเรื่อง “ความสมัยใหม่” และ “ความพัฒนา” ที่แผ่กระจายอย่างกว้างขวางไปถึงประชาชนที่อยู่ชนบท วัฒนธรรมของผู้บริโภคและการขยายตัวของการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วมีผลลบต่อวัฒนธรรมหลายประการ
3.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในประเทศไทยกำลังขาดความสมดุลอย่างร้ายแรง ปัจจุบันนี้มนุษย์อยู่ในตำแหน่งที่ดัดแปลงธรรมชาติ และไม่มีทีท่าว่ามนุษย์จะลดราความพยายามอันนี้ลงเลย ถึงแม้จะมีหลักฐานบ่งชัดว่ามนุษย์กำลังก้าวข้ามธรณีประตูไปสู่การทำลายล้างมรดกทางธรรมชาติและตนเองก็ตาม
4.สิ่งที่ต้องกระทำอย่างรีบด่วนขณะนี้ก็คือ การสร้างให้มีจิตสำนึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เราต้องนำคำสอนของพุทธศาสนาและจากแหล่งความรู้ที่สำคัญอื่น ๆ มาใช้สอนทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ให้รู้ถึงคุณค่าของการอนุรักษ์ การเคารพธรรมชาติ และความจำเป็นในการหยุดยั้งตนเองจากการเสาะแสวงหาผลประโยชน์จากแหล่งธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักว่าค่านิยมของคนไทยบางประการ เช่น ความต้องการเห็นผลทันตา ความประพฤติแบบปัจเจกชน(แทนที่จะเป็นกลุ่ม) การเพิกเฉย การไม่ประจันหน้า และการเอาใจผู้มีอำนาจ เป็นตัวบ่อนทำลายความพยายามที่จะเพิ่มพูนความเคารพต่อสิ่งแวดล้อม
5.ประเทศไทยซึ่งอุดมสมบูรณ์อย่างน่าพิศวงในแง่ของวัฒนธรรม สัตว์และพืชพรรณต่าง ๆ มนุษย์กำลังทำลายมรดกความมั่งคั่งสมบูรณ์นี้ไป เราต้องรักษาภูมิรู้ขอ “บุพชน” และของคนอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตใกล้กับธรรมชาติ และอาจรู้เรื่องราวเกี่ยวกับป่า วิธีการประกอบเกษตรกรรม ฯลฯ มากกว่าคนยุควิชาการสมัยใหม่ เราควรฟังประชาชนในท้องถิ่น และพยายามรักษาความหลากฟลายของวัฒนธรรม และแปล่งความรู้ของพวกเขา เสมอนกับที่เราต้องพยายามเก็บรักษาแหล่งยีน gene ของพืชและสัตว์ต่าง ๆ ไว้
6. ปัญหาทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของประเทศไทย มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามลำพัง หากแต่เป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแรงผลักดันตัวอื่น ๆ ของโลก”
เคือนมาสามสิบปีแล้ว วิกฤติทางสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมไม่ลดทอนลงแต่หนักหน่วงขึ้น จะปล่อยไปตามเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว