เมื่อสัปดาห์ก่อน (3 ต.ค. 60) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เนื้อหาสำคัญส่นหนึ่งคือ ให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อจนจบได้ เรื่องนี้อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน แต่ที่จริงมันเป็นเรื่องเก่า มันสะท้อนปัญหาความล่าช้าของประบวนการบัญญัติกฏหมายของประเทศไทย สังคมไทยมีปัญหาเด็กนักเรียนตั้งครรภ์ และปัญหาการทำแท้งเถื่อนกันมาก ปัญหานักเรียนตั้งครรภ์ในวัยเรียนนั้น ประเทศไทยถึงกับเคยครองอันดับสูงสุดในชียละเป็นอันดับสองในโลก กระทรวงสาธารณสุขพยายามจะแก้ไขมานานแล้ว ได้ผลักดันจนกระทั่งคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการพ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ 2553 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเด้กนักเรียนคือ ให้น.ร.-น.ศ.ที่ท้องสามารถเรียนต่อ หรือขอหยุดไปคลอดลูกแล้วมาเข้าเรียนใหม่ได้ หากหญิงท้องไม่พร้อมไร้ที่อยู่ให้พม.ช่วยจัดการ รวมถึงการหาพ่อ-แม่บุญธรรม กรณีที่แม่วัยเรียนไม่สามารถเลี้ยงดูได้เอง จากการรับหลักการใน พ.ศ 2553 สำเร็จเป็น พ.ร.บ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใน พ.ศ 2559 ใช้เวลาเจ็ดปี พ.ร.บ. นั้นคือ “พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙” เนื้อหาที่เกี่ยวกับเด้กนักเรียนคือ มาตรา ๖ ให้สถานศึกษาดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา (๒) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คําปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา (๓) จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับ การศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัย การเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกําหนดประเภทของสถานศึกษาและการดําเนินการของสถานศึกษาแต่ละประเภท ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง พ.ร.บ. ข้างต้น ยังต้องมีกฏหมายลูกของกระทรวงศึกาธิการออกมารองรับการปฏิบัติอีก ซึ่งว่าที่กฏหมายลูกจะได้รับการอนุมัติหลักการจาก ครม. ก็ต้องรออีกปีหนึ่ง คือมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงนี้คือ กำหนดประเภทของสถานศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษามัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา ต้องจัดให้มีการดูแล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา คุ้มครองนักเรียน นักศึกษา ที่ตั้งครรภ์ โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้เรียน รวมถึงความลับและความเป็นส่วนตัวของผู้เรียน จัดการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์ โดยต้องให้นักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์จะต้องได้เรียนจนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ หรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการยืดหยุ่นในวิธีการจัดการเรียนรู้ หลีกเลี่ยงการลงโทษและไม่ตำหนิ กรณีนักเรียนหรือนักศึกษาประสงค์จะหยุดพักการเรียนในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อดูแลบุตร สถานศึกษาต้องอนุญาตและให้นักเรียนหรือนักศึกษามีสิทธิในการศึกษาต่อ และต้องสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม กรณีที่นักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ต้องการย้ายที่เรียนใหม่ ให้สถานศึกษาเดิมประสานจัดหาที่เรียนใหม่ตามความเหมาะสม ปัญหากฏหมายแก้ไขนักเรียนตั้งครรภ์ในวัยเรียนใช้เวลาเดินทางเกือยสิบปีแล้ว การปฏิบัติที่เป็นจริงอย่างมีประสิทธิผลยังจะต้องผ่านกระบวนการอะไรอีกยวนานเพียงใด ใครเลยจะตอบได้ !