เราเคยเสนอว่า ปัญหาความขัดแย้งสำคัญระหว่างรัฐบาลกับประชาชนที่รัฐบาลนี้จะประสบคือปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ส่วนปัญหาด้านอื่นจะไม่รุนแรง
ปัจจุบันนี้จะมองว่ามวลชนมีความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมมากขึ้นก็คงได้ หรืออาจจะมองว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมมันเน่าเสียมากขึ้นจนกระทบถึงชีวิตของทุกผู้คนทุกคนจนเดือดร้อน ทนไม่ไหวแล้วก็คงได้เช่นกัน
อย่างเรื่องบ่อน้ำเสียโรงงานเอทานอลแตก ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ชาวบ้านก็ทนกับกลิ่นเหม็นมากมาสิบปีแล้ว ไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ครั้งนี้ฝนตกมากทำให้บ่อพัง น้ำเน่ามากกว่าสามหมื่นลูกบาศก์เมตรทะลักท่วมบ้านสระบัวก่ำ ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ชาวบ้านเดือดร้อนมากกว่า 600 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตร ไร่นาเสียหาย และยังจะทำให้แม่น้ำท่าจีนเน่าเสียตามมาอีกด้วย
ราชการทำอะไรได้บ้าง ? ตอนนี้สั่งปิดโรงงาน 45 วัน และโรงงานบอกจะจ่ายค่าชดเชย (หลักหมื่นบาท) แล้วเรื่องก็คงจบเพียงเท่านี้
เพราะรัฐที่ล้าหลังย่อมเห็นว่า “อุตสาหกรรม” สำคัญที่สุด
อุตสาหกรรม-เหมืองแร่ มีสิทธิ์สร้างมลพิษนับสิบ ๆ ปี ชาวบ้านต่อต้าน ร้องเรียน อะไรไม่มีผล จนหลายสิบปีผ่านไปมีคนป่วยเจ็บล้มตายกันมาก ๆ ถึงจะลงมือจัดการกับอุตสาหกรรม-เหมืองแร่นั้น ๆ
พิษแร่ตะกั่วจากเหมืองคลิตี้ ผ่านมาหลายสิบปี จะมีอะไรเยียวยาได้ เหมืองแร่ในจังหวัดเลยก็ยังทำลายป่าเขา ปล่อยพิษอันตรายต่อมนุษย์กันต่อไปได้อีกยี่สิบปี !
ยังจันได้หรือเปล่า เรื่องที่สัตว์น้ำในแม่น้ำพองตายกันมโหฬารเพราะมลพิษจากห้วยโจด น่ำเน่าน้ำพิษจากโรงงานที่ปล่อยลงห้วยโจด ทำให้แม่น้ำพองวิบัติใหญ่หลวง เป็นบทเรียนครั้งใหญ่
แต่บทเรียนใหญ่เพียงใด ก็ยังจะเกิดซ้ำเกิดซากต่อไปในประเทศไทย เสียก่อน จึงจะปรากฏเป็นข่าวตามสื่อสาสรมวลชน ลองตรวจสอบดูเถิด ขณะนี้มีสายน้ำที่เป็นมลพิษสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านอยู่ในทุกจังหวัด แต่จะต้องเป็นพิษขนาด ทำเป็นน้ำประปาไม่ได้ วัวควายกินไม่ได้ จึงจะเป็นข่าว
ปัญหามลพิษทางน้ำ สรุปได้ว่า
1. ขาดการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพของไทย
2. กลไกการตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ของส่วนราชการต่างๆ ยังขาดประสิทธิภาพ และขาดการประสานงาน โดยเฉพาะกรณีไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ หลายเหตุการณ์เป็นปัญหาลักษณะเฉียบพลัน เช่นกรณีโรงงานเอทานอลที่ด่านซ้ายขณะนี้
3.ไม่มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด มาตรการด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พรบ.สาธารณสุข พรบ.โรงงาน และประกาศกระทรวงต่างๆ ที่ออกตาม พรบ.เหล่านี้ ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการนำกฎหมายไปบังคับใช้
4.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. และประชาชนในพื้นที่ ส่วนหนึ่งยังไม่ตระหนะกรึ้งภัยจากมลพิษ ส่วนหนึ่งตื่นตัว พยายามมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา แต่ต้องพ่ายแพ้อำนาจอิทธิพล
ปัญหานี้ถ้าผู้กุมอำนาจรับไม่ปรับรุงแก้ไข ย่อมจะถุกวิพากย์วิจารณ์และต่อต้านมากขึ้นเรื่อย ๆ