ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนไทย ตอนนั้น พวกเราอายุกันคนละไม่เท่าไหร เพิ่งจบมหาวิทยาลัยได้กระดาษแผ่นเดียวหรือส่วนใหญ่ยังเรียนอยู่ ปู่จิ๊บ คนปีฉลู ที่มีพระธาตุวัดลำปางหลวง ลำปาง เป็นวัดเป็นพระประจำปี อายุย่าง 24 ปี เพราะเข้าเรียนวิศวฯแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปี 2510-2515 ขอโทษครับ 6 ปีเพื่อความแน่นของความรู้ ซึ่งความจริง เรียน ไม่ถึง 50 % ส่วนใหญ่ทำกิจกรรมทั้งระบบsotusของประสาทแดงและสโมสรนิสิตจุฬาฯ ทั้งสองส่วนที่ทำให้ได้ความคิดแบบวิศวกรรมที่เป็นเหตุเป็นผลเป็นวิทยาศาสตร์ input process output ทำให้การมองปัญหา การเข้าใจและการแก้ปัญหาอย่างรู้จริงและได้ผลในชีวิตการงานและบ้านเมืองฯ และการเสริมเติมเต็มด้วยประสบการณ์จากร่วมกิจกรรมต่างๆมากมายทั้งในคณะในจุฬาฯและนอกมหาวิทยาลัย ทำให้ได้ความเข้าใจทั้งศาสตร์และศิลปะในการใช้ชีวิต ที่สำคัญการได้เพื่อนที่ดีทั้งชายและหญิง พี่และน้องฯลฯ ทำให้ผ่านการใช้ชีวิตมาได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ( แต่ไม่มั่งคั่ง ) ด้วยความรักความสุขกับเพื่อนพ้องน้องพี่มาตลอด จบแล้ว ก็ได้ไปทำงานที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในฝ่ายโยธาและสำนักระบายน้ำ 2516-2519 โดยใช้เวลาว่างมาทำกิจกรรมทางการเมือง ที่พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ที่ได้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการฯ เป็นการออกลงงานมวลชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ โดยเฉพาะงานชาวนาในภาคเหนือในยุคตื่นตัวของคนไทย เลขาธิการพสท.คนแรก คือ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ได้ถูกฝ่ายขวาจัดสังหาร เมื่อ 28-29 กุมภา 2519 และพันเอกสมคิด ศรีสังคม ประธานพสท. ก็เพิ่งเสียชีวิตเมื่อต้นเดือนตุลานี้ในวัย 100 ปี - มาเข้าเรื่อง “ เธอ : ผู้อยู่เคียงข้างและเบื้องหลังความสำเร็จของคนเดือนตุลา “ เพราะประวัติศาสตร์ มักพูดแต่เรื่อง “ เขา : ผุ้นำคนเดือนตุลา คนนั้นคนนี้ ที่ได้ประกอบวีรกรรมต่าๆนานๆ ” ปีนี้ ตุลาคม 2560 ผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มา 44 ปี และ 41 ปี ของเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จึงสมควรที่จะพุดถึงเรื่อง “ เธอ “ จากข้อเท็จจริงที่ผ่านมา จากการประสบพบจริงในชีวิตทั้งในเมืองในป่าเขา 1. คนแรก ที่ควรจะพุดถึง คือ “ ตุ๊ก “ สหายเดือน คุณศิริพร บุญมี ชาวอักษรจุฬาฯ 2512 เป็นคนโชคดีที่ได้รับรักจากธีรยุทธ คนเก่งเรียน ( ที่หนึ่งประเทศไทย ระดับ มศ.5 ทั่วประเทศ) และเก่งกิจกรรมฯ แต่ความเป็นจริงในทัศนะปู่จิ๊บ ที่รู้จักใกล้ชิดร่วมเรียนร่วมเป็นร่วมตายมาตลอดเกือบ 50 ปี มองว่า “ คนโชคดี คือ “ เขา “ ธีรยุทธ บุญมี เพราะ “ตุ๊ก “ ช่วยธีรยุทธทุกอย่างในชีวิต นอกจากการเมือง จบมา “เขาและเธอ “ ตัดสินใจแต่งงาน ,เบื้องหลังคือ ความเสียสละของตุ๊ก ที่จะต้องไปใช้ชีวิตฮันนีมูลในป่า เพราะ “ธีรยุทธ “มองออกว่า “ สถานการณ์ในภาคหน้าเป็นอย่างไร จากฝ่ายขวาจัดและความซ้ายจัด เพราะก่อนหน้านี้ มีผู้นำคนเดือนตุลา ทยอยเดินทางไปต่างประเทศ และบางส่วนเข้าป่าในประเทศ เธอ มีความรับผิดชอบสูง ก่อนเดินทางเข้าป่าเพียง 1-2 วัน ต้องเอาจดหมายไปยื่นลาออกจากการบินไทย ตลอดเวลาที่อยู่ในป่า ( 7 สิงหาคม 2519 - เมษายน 2524 ) นอกจากไม่ได้เป็นภาระให้ธีรยุทธและพรรคฯ ยังช่วยจัดการดูแล ในข้ออ่อนของเขา “ ที่มักคิดเรื่องใหญ่ๆแต่ลืมเรื่องเล็ก แว่นตา กินยา พักผ่อน กำลังใจ ” งานส่วนร่วม ทั้งงาน กปปส. คณะกรรมการประสานงานผู้รักชาติรักประชาธิปไตย งานร่วมมือกับพคท.พสท. คนที่อยู่ในสำนักงานแนวร่วม A30 – R4 ทำอะไร ,เธอร่วมทำหมด และทำได้ดี รวมทั้งการซ้อมยิงปืนมาที่ 1 และได้ช่วยดูแลสุขภาพของ สหายชัยชนะ ( ธีรยุทธ ) ที่มีปัญหาเล็กกลางใหญ่ บางครั้งถึงกับต้องหามกัน ปู่จิ๊บ ประทับใจและได้กำลังใจจากเอทางอ้อม ในจิตใจแห่งความรับผิดชอบและความรักแท้ต่อธีรยุทธของเธอ 2. ถัดมา “ เธอ “ คุณป้อม ผกาพรรณ ภรรยาของอดีต สส.อุดร ทองน้อย ที่เพิ่งเสียไป ปลายกันยานี้ อุดร ทองน้อย เป็นคนมีอุดมการณ์ เป็นรองเลขาศนท. เป็นหนึ่งใน 100 ที่ร่วมลงชื่อเรียกร้องรธน. เป็นนักข่าวฯ และเป็น 1 ใน 15 สส.ของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยที่อายุน้อยที่สุด ในต้นปี 2518 และหลังออกมาจากป่า ก็กลับมาเป็นสส. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปี 2531 และตั้งสำนักงานทนายความฯลฯ ป้อม ทำงานอยู่ที่นสพ.ไทยรัฐ ในช่วงที่รักกันและแต่งงานกันกับอุดรฯ เมื่อ อุดร ทองน้อย ต้องตัดสินใจเข้าไปร่วมต่อสู้ในป่าในนามพสท. ปี 2519 , ป้อม กำลังตั้งท้อง ที่พสท. ปู่จิ๊บ ก็ได้พบและส่งจดหมายน้อยให้กับป้อมที่ตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับภรรยาของคุณอินสอน บัวเขียว อุดร ทองน้อย ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวเดินทางต่อไปข้างหน้า หวังให้บรรลุเป้าหมาย ความเป็นธรรมให้ประชาชน ป้อม ต้องเลี้ยงลูกอยู่คนเดียว จนเมื่ออุดรกลับมาในปี 2524 ชุดเดียวกับ ชำนิ พีรพล และปู่จิ๊บ หลังจากนั้น ก็มีลูกสาวอีกคนหนึ่ง ซึ่งก็เป็นป้อมอีกที่รับผิดชอบดูแลตัวเองและลูกทั้งสอง จนเติบใหญ่ อุดรทองน้อย ป่วยไม่สบายอยู่ถึง 4 ปี ก่อนเสียชีวิตลง ก็เป็นเธอที่ต้องดูแลสามีนักอุดมการณ์จนวาระสุดท้าย ในงานศพของอุดรทองน้อย ที่วัดบึงทองหลาง ลาดพร้าว 101 ก็เป็นป้อมและลุกรวมทั้งญาติพี่น้องที่จัดให้อุดร ปู่จิ๊บ มอง ป้อม ด้วยความชื่นชมและยกย่อง ป้อมเป็นคนแน่วแน่ รักสามีรักลูกและมีความรับผิดชอบสูง 3. จิ๊ด จิรนันท์ พิตรปรีชา หญิงเก่งระดับประเทศ แม่ลูกสองที่เก่ง และอดีตภรรยาเสกสรร ประเสริญกุล เป็นนักกลอนกวีนักแปลนักทำบทภาพยนตร์ และทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากมาย มีบทบาทโดดเด่นในสังคม จิ๊ดที่ผ่านชีวิตกิจกรรมในจุฬาฯ มีความสนใจและตั้งใจสูง เดินมาที่ตึกจักพงศ์ ที่ทำงานของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้มา นายกสจม. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ธีรยุทธ บุญมี เลขาศนท. และชัยวัฒน์ สุรวิชัน อดีตนายกสจม. เป็นจุดเริ่มต้นที่ปู่จิ๊บได้เห็นบทบาท ความสนใจในปัญหาสังคมและบ้านเมือง รวมทั้งความเก่งในกลอนกวีฯ เธอได้ร่วมขึ้นปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 15 ตุลา 2516 กับเสาวณีย์ ลิ้มมานนท์ พี่ฉายศิลปะฯ เรียกร้องให้ประชาชนร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อ จเหตุการณ์ค่อยคลีคลายลง ได้ประชาธิปไตยกลับมา จิ๊ด ก็เช่นเดียวกัน หลังจากสู้ในเมืองไม่ได้แล้วได้ร่วมเดินทางไปต่อสู้ในแนวรบใหม่ ร่วมกับสามี ( เสกสรร) เป็นคณะผู้นำนักศึกษาชุดใหญ่ 6-7 คน ที่มองสถานการณ์การเมืองที่เหี้ยมโหดสังหารผู้นำต่างๆไปมาก โดนเดินทางไปปารีส แล้วเข้ามาที่จีน เวียดนาม ลาวและไทย จิ๊ด เป็นหญิงเก่ง ที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมมากกว่าเสก ที่คงยึดมั่นในอุดมคติของตนสูง ในช่วงหลัง จากปัญหาส่วนตัวของเสก ซึ่งได้หย่าเลิกรากับจิรนันท์ จิ๊ดก็ทำหน้าที่เลี้ยงลูกได้อย่างดี และจิ๊ดเป็นคนมีน้ำใจ ในช่วงที่ปู่จิ๊บ สมัครสส.ที่ลำปางฯ ก็ได้ช่วยอัดเทปสนับสนุนอย่างดี และเป็นคนที่เข้าใจคน เพราะยังมองเสก ในด้านดี และยังคบกันอยู่ในฐานะเพื่อนและพ่อของลูก จิ๊ด ยังจะคงมีบทบาทตามเส้นทางของเธอ ในด้านความคิดศิลปวัฒนธรรมให้แก่สังคมต่อไป เธอเป็น น้องสาวที่พี่จิ๊บ อาจารย์ธีรยุทธ และดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ภูมิใจและชื่นชม 4. คุณรัตนา มฤคพิทักษ์ นักร้องเพลงเพื่อชีวิตน้ำเสียงดี และภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของประสาร มฤคพิทักษ์ เธอ เป็นหญิงเก่งอีกคนหนึ่งที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของสามีและลุกชายสองคนที่เก่งเหมือนพ่อแม่ บทบาทของเธอ ทั้งในเมืองและในป่า และกลับเข้ามาในเมือง มีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่อยู่หลังบ้าน คนที่ติดตามฟัง วิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย ( สปท.) ในช่วงนักศึกษาประชาชนเข้าร่วมกับพคท. จะได้ฟังเพลงเพื่อชีวิตที่ไพเราะของเธอในหลายรายการ รวมทั้งรายการของพสท.ในสถานการณ์ปฏิวัติ และในงานเพื่อนพ้องน้องพี่ในเมืองอีกเป้นบางครั้งบางคราว เมื่อมีจังหวะและโอกาส สหายแขก คู่ชีวิตของสหายศักดิ์สิทธิ์ ( ชื่อจัดตั้งเมื่ออยู่ในป่า ) ของคุณรัตนาและประสาร มฤคพิทักษ์ ชีวิตที่หนักลำบาก ฝ่าฟันอุปสรรคนานับปการ ทั้งในช่วงเดินทางเข้าสู่ชนบทภาคเหนือของประเทศร่วมกัน ( ธีรยุทธ และตุ๊ก ประสารและรัตนา วิสา คัญทัพ มวลชน สุกแสง และสหายธิดา (ว่าทีภรรยาคุณมวชน)ฯ เดินทางไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน และแยกกันบางครั้ง ตามภาระหน้าที่การงานของพสท.และกปปส. รัตนาอยู่ในป่าทำงานได้อย่างดี ไม่มีปัญหาใดๆ ไม่ทำให้ประสารและพสท.รวมทั้งพคท. ลำบากใจแม้แต่น้อย เมื่อคราวป่าแตก ( พรรคของเวียดนามลาว ตัดความสัมพันธ์กับ พคท.) รัตนาประสาร ต้องเดินทางไปจีน ไปอยู่นานเป็นปี ซึ่งมีสหายจำนวนหนึ่ง ต้องเดินทางไปจีนด้วย โดยไปทำงานบางเรื่องเพื่อบ้านเมืองต่อ รัตนา เป็นหญิงเก่ง และเป็นคนที่ตรงไปตรงมา ซึ่งมีส่วนช่วยประสารได้มาก เพราะเป็นคนรักเมีย 5. สหายธิดา สหายปัญญาชนมวลชนพื้นบ้านยโสธร ภรรยาและแม่ของลูกของคุณมวลชน สุขแสง อย่างที่เล่าไป ตอนเดินทางเข้าป่าทางภาคเหนือ สหายธิดาและเพื่อนสาวอีกสองคน ร่วมเดินทางไปด้วย เธอทั้งสาม เป็นลูกที่ดีของพรรค ที่สหายยนำบ่มเพาะให้มีความคิดในการรับใช้ประชาชน พวกเธอช่วยดูแลพวกเราตลอดการเดินทางจาก 7 สิงหา 19 จนไปถึงสำนักแนวร่วม เมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 พวกเธอทำหน้าที่พี่เลี้ยงและทำงานมวลชน ช่วยงานพรรคและงานแนวร่วม กปปส. และเดินทางไปแนวหน้า เป็นหญิงสาวที่น้ำใจงาม รับใช้มวลชนและรับใช้มิตรสหายนักศึกษาประชาชน ที่เข้าไปร่วมต่อสู้ในป่าอย่างดี ที่ว่า “ พวกเธอเป็นลูกที่ดีของพรรค “ มีความหมายยิ่ง ที่คนในเมืองและคนทั่วไป คงคาดไม่ถึง เพราะ เธอขึ้นต่อพรรค ขึ้นต่อจัดตั้ง ( สหายนำที่รับผิดชอบ ) อย่างไม่มีเงื่อนไข ส่วนตัวต้องขึ้นต่อส่วนรวม พรรคมอบหมายงานอะไรให้ ( แน่นอนว่า พรรคและจัดตั้งได้พิจารณาอย่างเหมาะสมกับความรู้ความสามรถ) พวกเธอต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปฏิวัติ ที่ความเป็นความตายอยู่เบื้องหน้า ปู่จิ๊บ ในสมัย เป็นสหายสุข ชมจันทร์ ได้ประสบพบเห็น จิตใจปฏิวัติของสหายหลายครั้ง เช่น ครั้งหนึ่ง คณะของเราต้องเดินทางจากถนน เข้าในป่าละเมาและเดินทางเข้าป่าลึก เพื่อขึ้นไปภูพาน มีคณะของตำรวจและชาวบ้านที่รัฐบาลจัดตั้ง ได้เห็นพวกเรา และติดตามมาอย่างกระชั้นชิด สหายทปท. แห่งกองทัพปลอดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย จำนวนหนึ่งได้รับคำสั่งให้ไปต้านไว้ ช่วงที่รีบเดินทาง เราก็ได้ยินเสียงปืนเสียงสู้รบ แต่เราก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะภารกิจของเราคือรีบไปให้ถึง หลังจากผ่านไปนาน จนพวกเราไปถึงที่ปลอดภัยแล้ว เราพ้นน้ำมือและอาวุธของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว แต่ทางจัดตั้งแจ้งให้เราทราบว่า “ มีสหายทปท.ส่วนหนึ่งได้เสียสละไป ( สหายใช้คำนี้ แทนว่า ตาย “) เพราะ สหายได้ทำหน้าต้านเจ้าหน้าที่รัฐ ปกป้องคณะเราด้วยชีวิต เราปลอดภัยแต่สหายเสียสละแทนเรา เรื่องทำนองนี้ นักศึกษาประชาชนที่เข้าไปต่อสู้ในชนบทขอบข่ายทั่งประเทศ คงได้เห็นได้ประสบกันมามาก ปู่จิ๊บ คิดถึงเรื่องนี้คราวใด ทำให้รำลึกถึงสหายของประชาชนเสมอ ทำให้เราต้องยืนหยัดทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป สหายสุข ชมจันทร์ ให้สัญญากับตนเอง ใช้เวลาที่เหลือคิดดีทำดีเพื่อตนเองผู้อื่นและบ้านเมืองไปถึงที่สุด