แก้วกานต์ กองโชค ในที่สุดความน่ารักของ “พาที สารสิน” ก็ไม่ได้ทำให้เก้าอี้ของเขามั่นคงเหมือนสายการบินได้ ที่สำคัญ กิจการของ “นกแอร์” ก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จากการที่ “พาที” กลายเป็นดาราดังอย่างแต่อย่างใด ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2560 วันที่ 14 ก.ย. 60 มีมติดังนี้ 1. รับทราบการลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนายพาที สารสิน โดยมีผลตั้งแต่ 14 ก.ย. 2560 เป็นต้นไป แต่นายพาที สารสิน จะยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทเช่นเดิม 2.แต่งตั้งนายพาที สารสิน กรรมการบริษัทให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 60 เป็นต้นไป 3. แต่งตั้งนายปิยะ ยอดมณี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 60 เป็นต้นไป เรื่องดังกล่าวถูกรายงานไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ไม่มีผลต่อราคาหุ้นบริษัทนกแอร์มากนัก ณ วันที่ 16 กันยายน 2560 ราคาปิดของหุ้นนกแอร์อยู่ที่ 5.20 บาท เหตุผลสำคัญที่นกแอร์ ไม่ได้ติดปีกบินเหมือนสายการบิน เพราะผลประกอบการของบริษัทค่อนข้างไม่สู้ดีนัก บริษัทรายงานผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรก ปรากฎว่า งบการเงินเฉพาะบริษัทในปี 2559 ระบุว่า ขาดทุน 1,084,043,315 บาท ในปี 2560 บริษัทขาดทุน 909,001,097 เมื่อดูจากงบการเงินรวมก็ไม่แตกต่างกัน ผลประกอบการ 6 เดือนแรกในปี 2559 ขาดทุน 1,329,852,242 บาท และในปี 2560 ขาดทุน 1,038,835,173 บาท ขาดทุนจนไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ผลประกอบการนกแอร์จะแสดงตัวสีเขียว แม้ว่า “พาที” จะโพสต์ในอินสตาแกรมส่วนตัวของ นายพาที @patee122 ด้วยข้อความว่า “Every change brings a brighter future. ทุกการเปลี่ยนแปลง ย่อมทำให้อนาคตสดใสมากขึ้น” แต่ไม่มีใครตอบได้ว่า ตัวเลขขาดทุนนับหมื่นล้านบาท จะลดลงไปเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ ที่สำคัญ ความเป็นดาราของพาที ก็ไม่ได้ทำให้นกแอร์มองเห็นกำไรในอนาตค พาที สารสิน หรือ “ดุ๋ง” เป็นบุตรคนที่สองของ อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ และ ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน (กิติยากร) ศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคลาร์ก รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทสื่อสารมวลชน ด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์ จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เขานั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ ตั้งแต่ก่อตั้งสายการบิน เมื่อปี 2547 และเริ่มเป็นที่รู้จักหลังไปร่วมเล่นภาพยนต์โฆษณาบัตรเครดิตธนาคารแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังได้ร่วมร้องเพลงในรายการชื่อดัง The Mask Singer หน้ากากนักร้อง และสวมบทบาทเป็น "หน้ากากนกอินทรีย์" ก่อนจะมีหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่พาที ถือหุ้นในนกแอร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นกแอร์ ได้กระจายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อนวันที่ 20 มิถุนายนปี 2556 ทำให้ชื่อเสียงของพาทีโด่งดังมากยิ่งขึ้น ข้อมูลสัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2560 ระบุว่า 1.นายณัฐพล จุฬางกูร ถือหุ้นร้อยละ 23.51 2.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 21.57 3.นายทวีฉัตร จุฬางกูร ร้อยละ 17.73 4. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1.86 5.นายพาที สารสิน ร้อยละ 1.29 6. นายสุวิทย์ สัมพัฒนวรชัย ร้อยละ 1.28 7.นางหทัยรัตน์ จุฬางกูร ร้อยละ 0.53 นั่นหมายความว่า ตระกูลจุฬางกูร คือเจ้าของที่แท้จริงด้วยสัดส่วนการถือกว่าร้อยละ 40 โดยก่อนหน้านี้ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ถือหุ้น 6% ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 5% ก่อนหน้านี้สายการบินนกแอร์ มีปัญหาภายในระหว่างฝ่ายบริหารกับนักบิน จนทำให้การยกเลิกเที่ยวบิน 9 เที่ยวบินในประเทศ เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2559 แต่ พาทีก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อการบริหาร “นักบิน”ผิดพลาด พาทียังตั้งกรรมการสอบสวนกลุ่มนักบิน แต่ก็ไม่มีผลการลงโทษ โดยกลับนายศานิต คงเพชร อดีตผู้จัดการแผนกรักษามาตรฐานการบิน และนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน เพราะเห็นว่า นายศานิต กระทำผิดร้ายแรงต่อบริษัท แต่แล้ว “พาที” ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกับ “ศานิต” ทั้งๆที่เขาควรจะแสดงสปิริต “นักบริหาร”มืออาชีพ มากนักแสงมืออาชีพ !!!