ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ต่อจากฉบับที่แล้ว วันนี้ เรา มารู้จักกับ “ ลุงสุข ชมจันทร์ “ ที่จะมาแนะนำตัวเป็นคนที่สองต่อจาก “ นายชัยวัฒน์ “ ช่วงชีวิตของลุงสุข ชมจันทร์ มี เวลา 5 ปี จาก “ 7 สิงหาคม 2519 - เมษายน 2524 “ แม้จะเป็นเวลาไม่นานนัก แต่เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญสำหรับคนๆหนึ่ง อ้อหลายพันคน ที่ตัดสินใจครั้งใหญ่ เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญของนักอุดมคติ และหนุ่มสาวที่หวังจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาสู่สังคมไทย ยอมเสียสละทุกอย่าง เอาชีวิตและอนาคตเข้าแลก ตัดสินใจครั้งเด็ดเดี่ยวที่สุด ไปตายเอาดาบหน้า ออกจากบ้านออกจากเมือง ส่วนใหญ่ไม่บอกพ่อแม่ญาติพี่น้องด้วยซ้ำว่า “ ขอลาพ่อแม่ไปก่อน “ไปที่ไหน ก็ยังไม่รู้ ไปอยู่กับใคร ก็ไม่ทราบ เป็นคนที่ไม่เคยพบหรือรู้จักมาก่อน แปลกแต่จริงที่สุด ด้านหนึ่ง เป็นความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อ แนวทางการต่อสู้เพื่อเอกราชและประชาธิปไตย ประชาธิปไตย : ที่ถูกเผด็จการทหารและกลุ่มอนุรักษ์ ฉกช่วงชิงไปจากประชาชนคนทั้งประเทศ เอกราช : จากการถูกเข้าแทรกแซงและบงการรัฐไทย ทั้งการเมืองเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ไม่มีสิทธิประชาธิปไตย ประเทศไม่มีตัดสินอนาคตทางเดินของตน สิ่งที่มายึดเอา ประชาธิปไตยไป เราเรียกว่า “ ระบบเผด็จการ “ และ ”จักรพรรดินิยม “ สำหรับเอกราช อีกด้านหนึ่ง เป็นความหมดหวังสิ้นแล้วอนาคต จากภาพของการเข่นฆ่าประชาชนเมื่อ 6 ตุลา 2519 เป็นการถูกบังคับ ปิดทางเดินทางต่อสู้ บีบให้เราจนตรอก เรียกสิ่งนี้ว่า “ เราถูกบังคับให้จับปืน “แต่สิ่งที่จุดประกายหัวใจให้ลุกโชนโชติช่วง คือ ความหวังที่ยิ่งใหญ่ “นำธงชัยกลับมาปักกลางนคร” อุปสรรคทั้งการหลบหนี การเดินทางโหดทางลดคดเคี้ยวผ่านทุ่งป่าเขาภูสูงที่ชันและสูงลิบแตะขอบฟ้า ทั้งอาหารการกิน การเจ็บไข้ได้ป่วย โรคภัย ทาก สัตว์ร้ายฯ จากคนที่ไม่เคยลำบากยากเข็ญมาก่อน อีกทั้งอาวุธที่ตามไล่ล่ากระหน่ำจากตำรวจทหารและชาวบ้านจัดตั้งติดฯ ที่มองคนไทยด้วยกันเป็นศัตรู หลายคนเสียสละเสียชีวิต ทั้งด้วยอาวุธ ระเบิดจากปืนใหญ่และเครื่องบิน การทรมานอย่างเหี้ยมโหด และภัยธรรมชาติ ไข้ป่า(มาเลเรีย) โรคภัยอีกมากมาย สัตว์ร้าย ที่กระหน่ำใส่นักศึกษาประชาชนไม่หยุด แต่อีกด้านหนึ่ง : เป็นวีรภาพอันแจ่มจรัส ของจิตใจกล้าต่อสู้กล้าเสียสละของลูกหลานประชาชนการศึกษาเรียนรู้จากชาวบ้าน การติดอาวุธทางปัญญาและปืนจากสหายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมืองและยึดเมืองในที่สุด โดยมีความคิดลัทธิมาร์กซเลนินเหมาฯ นโยบาย 10 ประการของพคท. ยุทธศาสตร์ยุทธวิธี จังหวะก้าว ขั้นตอน ที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติอย่างช่ำชอง ภายใต้ แก้ว 3 ประการ : พรรค กองกำลังอาวุธ แนวร่วมรักชาติรักประชาธิปไตยอันกว้างใหญ่ไพศาล การพัฒนาตนเองของ นักศึกษาเยาวชนประชาชนที่อ่อนแอบอบบาง มาเป็นทปท. เป็นสหายกล้า จิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว “ ไม่กลัวความยากลำบากใดๆ มีแต่ความปรารถนาสูงสุดเพื่อชาติบ้านเมือง “แสดงออกหลากหลาย “ ความรู้สึกเศร้าใจ ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำศึกแนวหน้า “ส่วนสหายที่ได้ไป สดชื่น คึกคัก มีใจแน่วแน่ มุ่งมั่น จริงจัง ที่จะได้ไปรบ “ แก้แค้นแทนเพื่อนที่เสียสละไป” วีรภาพแห่งประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน ยังอยู่ในหัวใจลุงสุข มาตลอด เป็นทั้งความรักทางชนชั้น เป็นความภาคภูมิใจ และเป็นความโศกเศร้าทุกครั้งที่สหายได้เสียสละไป ลุงสุขสัญญากับตนเองว่า “ จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ทำงานหนักเอาจริงเพื่อทวงคืนประชาธิปไตยกลับคืนมา” เมื่อมาสรุปบทเรียนของชีวิตของตนเองและชีวิตประเทศในช่วงประวัติศาสตร์ผ่านมา นอกจากด้านจิตใจที่ยิ่งใหญ่วีรอาจหาญของนักศึกษาเยาวชนประชาชนไทย ที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต แต่ในด้านอ่อนก็มีไม่น้อย ในการขาดทักษะขาดประสบการณ์ในการตัดสินใจเอาชีวิตทั้งหมดเข้าแลก กับสิ่งที่เป็นอุดมการณ์เป็นหลักการที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นนามธรรม แต่ด้านรูปธรรมที่ต้องสรุปบทเรียนหนัก ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ความรู้ที่มีไม่พอ ความเข้าใจจำกัด ต่อ “พรรคและอุดมการณ์ ตามความเป็นจริง “แนวทางการต่อสู้ การนำของพรรค งานแนวร่วม งานมวลชน ยังมีข้ออ่อน ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะชนะ ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข ก็ไปได้ยาก จำกัดทั้งสองฝ่าย ทั้งพรรค และแนวร่วมและนักศึกษา การยึดติดของเก่า การเสนอของใหม่ก็ไม่ครบถ้วน ความคิดพึ่งตนเองและการพึ่งพาพรรคประเทศอื่น เราต้องศึกษาเรียนรู้เข้าใจ ภาพรวมของการต่อสู้ให้ครบถ้วนมากกว่านี้ จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค แนวโน้มและทิศทางของสถานการณ์ ทั้งของฝ่ายเราและฝ่ายศัตรูรวมทั้งแนวร่วมและสถานการณ์โลก การใช้ความรู้ สติปัญญา ความเป็นจริง อย่างเป็นกระบวนการเป็นจังหวะและขั้นตอนของยุคที่ผ่านไป นี่คือ ความงดงามของการสรุปบทเรียนที่เป็นจริง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ที่จะต้องได้มาอย่างไรก็ตาม แม้บางส่วนจะกลับมาสู่นาครด้วยความผิดหวัง บางคนยุติวางอุดมการณ์ณืไว้ที่ราวป่า แต่สำหรับ “ลุงสุข ชมจันทร์ “ ต้องขอขอบคุณพรรค แนวร่วม นักศึกษาประชาชน และชาวบ้านฯ เป็นความยิ่งใหญ่ในชีวิต แม้จะไม่สมบูรณ์และมีข้อจำกัด แต่ภาคภูมิใจที่สุด ที่ได้ไปประสบพบมาไม่มีคำว่า “ผิดหวัง“ ไม่ท้อแท้ แต่เป็นบทเรียนที่ต้องสรุป ที่จะผลักดันให้เราเดินก้าวต่อไปในทางที่ถูก ต้องขอบพระคุณชาวพรรค มิตรสหายทุกระดับ เพื่อนมิตรแนวร่วม นักศึกษาประชาชนและชาวบ้าน ชั่วชีวิตนี้ มิมีวันลืมเลือน แม้ความตายมาพราก ยังพูดได้เต็มปากว่า “พวกเรายิ่งใหญ่จริงๆไม่มีใดเทียบ” หัวใจงานใจกลางที่ได้ อันเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า คือ “การพึ่งตนเอง การจัดตั้งสร้างคุณภาพพลเมือง ”การให้มิใช่เอา การเสียสละ การไม่เอาเปรียบ ทำงานหนักเอาจริง อย่างมีความสุขกายสบายใจ อ้อการรักษาสนใจสุขภาพ ที่จะเป็นฐานที่มั่นที่แข็งแกร่ง ที่จะให้ใจและความคิดใช้เดินหน้าต่อไป นี่ทำให้เรามีความเข้มแข็ง มีพลังในการต่อสู้ เพื่อความดีงามของสังคม และประชาธิปไตยของประเทศ ข้อสรุปที่ได้ นำมาใช้ในชีวิตและการงาน จาก “ลุงสุข ชมจันทร์” 1. ทำให้นึกถึงประโยคอมตะของประธานเหมาฯ ที่นำประชาชนจีนที่ทุกข์ยาก ล้าหลัง ก้าวไปสู่ชัยชนะได้ “ ในโลกนี้ สิ่งที่ศัตรูของประชาชนกลัวที่สุด มีคำเดียวคือ “ การเอาจริง “ ของประชาชนจีน 2. สหายอาวุโสในสำนักแนวร่วม ได้กล่าวความจริงง่ายๆ ในเช้าวันหนึ่งกับลุงสุข ชมจันทร์ โดยชี้ไปที่ภูเขาสูง “เขาสูงปานใดก็ตาม ก็ไม่สูงไปกว่านี้ สหายเดินก้าวไปที่ละก้าว มันกมีแต่จะเตี้ยลง” 3. นึกถึง ข้อสรุปของ นายชัยวัฒน์ ที่ได้มาจากประสบการณ์ในชีวิต LABOR OMNIA VINCIT วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ ( รร.อัสสัมชัญลำปาง ) “ ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมหวลชวนจิตไซร้ บ่มี ฯ “ ( รร.เตรียมทหาร ) Seniority Order Tradition Unity Spirit = อาวุโส วินัย ประเพณี สามัคคี สปิริต ( วิศวฯจุฬา)อัตตา หิ อัตตโน นาโถ : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ( ธรรมของพระพุทธองค์ ) “ มีแต่ “ การศึกษา “ มิใช่สมบัติ ที่ป๋าจะให้กับลูกๆ. ( ป๋า : นายบุญช่วย สุรวิชัย ที่ให้กับลุกทุกคน ) มาถึงตอนนี้ อยากจะพูดถึงเรื่องสำคัญของมนุษย์ คือ ความล้มเหลวและความสำเร็จ ก. ความล้มเหลว เป็นแม่แห่งความสำเร็จ สรุปเรื่องความล้มเหลวและความสำเร็จ จากบทเรียนที่ผ่านมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ได้ดังนี้ ความล้มเหลว คือ เริ่มท้อตั้งแต่ทำ แล้วหยุด ทำไปได้ครึ่งทางไม่ถึงจุดหมาย แล้วเลิก หรือ ทำครั้งแรกสำเร็จ แต่หลังจากนั้น ทำแล้วไม่สำเร็จ จึงเลิกทำไปตลอด ความสำเร็จ คือ ทำครั้งแรกล้มเหลว แต่ไม่ท้อ มุ่งมั่น แน่วแน่ทำต่อ จนสำเร็จ หรือ เมื่อทำงานที่ยากขึ้น มีปัญหาอุปสรรคใหญ่ เริ่มท้อ และเมื่อสะดุดล้มเหลว ยังคงมุ่งหน้าต่อ แล้วได้สรุปบทเรียน แก้ไข ข้อบกพร่องผิดพลาด ครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดก็สำเร็จ ข. ความล้มเหลว มาจาก 1. ความจำใจต้องทำ ถูกบังคับให้ทำ โดยไม่เต็มใจ และสิ่งเหล่านี้ จะเฝ้าหลอนตัวเองไปตลอด 2. ไม่มีความรู้ สติปัญญา ความจริง 3. เริ่มทำโดยไม่ได้คิดให้รอบครอบ 4. ขาดความเพียร ( ไม่ศึกษาเรียนรู้ ความสำคัญของ ความเพียร ที่เป็นพื้นฐานของความสำเร็จ ) 5. ขาดความมุ่งมั่น แน่วแน่ เอาจริง 6. ขาดเป้าหมาย แนวทาง วิธีการ จังหวะก้าว ขั้นตอน 7. ขาดกำลังใจ ขาดการสนับสนุนจากญาติมิตร เพื่อนฝูง และผู้คน หรือ มีคนบั่นทอนกำลังใจอีกด้วย 8. พึ่งพาคนอื่น ( เป็นความเคยชิน ในสังคมระบบอุปถัมภ์แบบไทย ) 9. ขาดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ( ถูกบังคับให้ทำ ไม่เต็มใจ ไม่ศึกษาทำความเข้าใจก่อน ) 10. ขาดการสรุปบทเรียน ที่เป็นจริง ( ไม่มีการสรุปงานที่ทำไป ทั้งสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ ปล่อยไปตามยถากรร ค. ความสำเร็จ มาจาก 1. ทำอะไร ด้วยความอิสระ มองในเชิงบวกสร้างสรรค์ ทั้งเราเริ่มคิดเอง หรือมีใครให้ทำ 2. มีความรู้ สติปัญญา ความจริง ( ซึ่งมาจากการเรียนรู้ การปฏิบัติ การสรุปบทเรียน ) 3. เริ่มทำโดยคิดก่อน ให้รอบครอบ โดยใช้เวลาเพียง 20% แต่จะได้ผลรับถึง 80 -100 % ( คุ้มค่ามาก) 4. มีความเพียร ซึ่งสร้างจากใจ ความคิด จากแบบอย่างของพ่อแม่ การสอนของครูและพระ(ทุกศาสนา) 5. ความมุ่งมั่น แน่วแน่ เอาจริง เอาใจจดจ่อ ( concentrate ) 6. การมีเป้าหมาย แนวทาง วิธีการ จังหวะก้าว ขั้นตอน 7. มี หรือ ได้รับ กำลังใจ (เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก) การสนับสนุนจากญาติมิตร เพื่อนฝูง และผู้คน 8. พึ่งพาตนเอง และเชื่อมั่นในตนเอง 9. เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำว่า เป็นเรื่องดีต่อตนเองและคนอื่น โดยเฉพาะต่อส่วนรวมและประเทศชาติ 10. มีการสรุปบทเรียน ที่เป็นจริง อย่างต่อเนื่อง ( เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากจริงๆ ) ทำให้เรารู้จุดแข็ง ( พัฒนาให้ดีขึ้น ) จุดอ่อน ( ปรับแก้ไข ขจัดจุดอ่อน ) ตอนสุดท้าย จะไปพบกับ บทเรียนของ “ปู่จิ๊บ “ ที่ใครๆก็รู้ว่า “ รักหลานน้ำผึ้งมากขนาดไหน