หลังจากการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิตสินค้าออกขายเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ทุกชนิดเปลี่ยนจาก ระบบแมนนวล manual เป็นระบบดิจิตอล Digital การแข่งขันกันผลิตสินค้าที่ทีเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ผู้คนก็มักจะยกเรื่องธุรกิจกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์มเป็นตัวอย่าง บริษัทยักษ์ใหญ่ต้องเจ๊งเพราะไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด แต่ทุกวันนี้นักธุรกิจก็คงรับรู้เรื่องนี้ดีแล้ว สินค้าใดที่ขายดีมีกำไรงาม แต่ถ้าสินค้านั้นไม่พัฒนาเปลี่ยนแลงให้ก้าวหน้าขึ้น ปล่อยผ่านไปแค่เพียงสองปีเท่านั้น กำไรที่ได้จากการขาย จะลดลง 50 % คือสินค้าตัวนั้นจะขายได้น้อยลงอย่างรวดเร็ว
หลักการทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ กับหลักการทางเศรษฐกิจเก่า ๆ มันกลับหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น สมัยโบราณสินค้ามีค่าคือของที่หาได้ยาก แต่สมัยนี้สินค้าที่มีค่าคือของที่มีจำนวนมหาศาลและมีเครือข่ายกว้างไกลทั่วโลก จึงมีปรากฏการณ์ที่ เครือข่ายบริการโทรศัพท์มือถือ แจกโทรศัพท์ฟรี เพื่อให้คนสนใจใช้บริการของเครือข่ายนั้น ๆ
เศรษฐกิจและธุรกิจ ทุนนิยมโลกาภิวัตน์จำเป็นต้องรื้อทฤษฎีการบริหารแบบเก่าทิ้งไป เรื่องนี้ได้รับการยอมรับกันทั่วไป ชนชั้นกลางในไทยก็รับรู้กันอยู่
แต่การเมืองการปกครองในทั่วโลก กลับยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ยังคงยึดมั่นอยู่กับทฤษฎีการเมืองการปกครองสมัยร้อยปีที่แล้ว นั่นคือทฤษฎีการเลือกตั้งหาคนเข้ามาใช้ “อำนาจรัฐ”
ธุรกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว เพื่อผลกำไร ธุรกิจเปลี่ยนระบบคิดในการทำงาน เพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด เช่น คนฉลาดกำลังกระโดดหนีจากอุตสาหกรรมภาคการผลิต Manufacture ไปทำธุรกิจการบริการ-การขาย-ผลิตตามปริมาณที่สั่งซื้อ
แต่ถ้าระบบอำนาจรัฐยังคงเอื้อโอกาสให้ “ธุรกิจ” ผู้กุม “ทุน” ก็จะไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบอำนาจรัฐ....
จนกว่า “ผู้บริโภค” จะรู้ทัน แล้วทนไม่ไหว เรียกร้องให้จัดการกับผุ้กุมอำนาจรัฐ ถึงเมื่อถึงจุดนั้น เป้าหมายที่จะไม่ใช่ “นักธุรกิจไ แต่จะเป็น “ผู้กุมอำนาจรัฐ”
สังคมทั้งโลกกำลังเผชิญปัญหาเดียวกันนี้ แต่ในระดับที่ต่างกัน
สำหรับระบอำนารัฐไทยนั้น “ทุน-ธุรกิจ” ยังสามารถช่วงใช้ระบบอำนาจรัฐแบบเก่าอื้อประโยชน์แก่ “ทุน-ธุรกิจ” ได้อย่างง่ายดาย จึงไม่จำเป็นจะต้องเร่งรัดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประบบอำนาจรัฐแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ทุกรัฐบาลไม่ว่าจะได้มาจากหนทางใด จะยังคงเกาะแน่นอยู่กับทฤษฎีการเมืองการปกครองแบบเดิม ไม่มีปัจจัยบังคับให้ต้องปฏิรุป เหมือนกับที่ภาคเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ถูกเทคโนโลยีสารสนเทศบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เรื่องนี้มิใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่ง
แต่เป็นเพราะ “ความไม่รู้” ของคนส่วนใหญ่ในโลก โดยเเฉพาะสังคมไทยมีอาการโรคนี้หนักหน่อย
ความเชย ความไม่รู้เท่าทัน ของผู้กุมกลไกรัฐ ทำให้ “เศรษฐกิจ-ธุรกิจ” ใช้โอกาสเบียดบังเอาผลประโยชน์ของแผ่นดินไปเป็นของส่วนตัวได้(คอร์รัปชันโดยนโยบาย) และนี่เป็นจุดเสื่อมเริ่มต้นล่มสลายของผู้กุมอำนาจรัฐในทุกรัฐบาล