สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายงาน ณ วันที่ 12 มีนาคม 2564 มีการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับกัญชาแล้ว 1,385 รายการ แยกเป็นใบอนุญาตครอบครอง 158 รายการ ใบอนุญาตนำเข้า 8 รายการ ใบอนุญาตปลูก 138 รายการ ใบอนุญาตจำหน่าย 1,043 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการอนุญาตให้จำหน่ายเพื่อการรักษา ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในสถานพยาบาลของรัฐ ใบอนุญาตปรุง 5 ราย ใบอนุญาตแปรรูป/สกัด 33 รายการ ส่วนการส่งออกยังไม่มีการออกใบอนุญาตแต่อย่างใด ส่วนการอนุญาตกัญชง ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 การอนุญาตยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 เฉพาะกัญชง ในปี 2564 อย.อนุญาตรวม 10 รายการ โดยอนุญาตการปลูก 1 รายการ คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์, การอนุญาตผลิต (ที่มิใช่การปลูก) 1 รายการ เป็นการอนุญาตกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สกัดสารจากดอกกัญชง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์, การอนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์ 7 รายการ วัตถุประสงค์ เชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม และการอนุญาตส่งออก 1 รายการ วัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์หรือ อุตสาหกรรม คือ บริษัท เฮิร์บ เทรเชอร์ จำกัด โดยส่งออก CBD Isolated และ CBD Distillated ใบอนุญาตทั้งหมดมีอายุถึง 31 ธ.ค.2564 เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันอย.ออกใบอนุญาตไปแล้ว200กว่ารายส่วนใหญ่จะเป็นโมเดลวิสาหกิจชุมชนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)กระจายไปทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทยประมาณ100กว่าแห่งนอกเหนือจากนั้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคเช่นโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรโรงพยาบาลคูเมืองกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกองค์การเภสัชกรรมโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นและหน่วยงานที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยการเรียนการสอนเช่นมหาวิทยาลัยต่างๆ เภสัชกรหญิงสุภัทราระบุว่ารัฐบาลส่งเสริมให้มีการขออนุญาตปลูกทั้งกัญชาและกัญชงเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชน แต่เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องขออนุญาตปลูกหากไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องจะมีความผิดข้อหาครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท5ซึ่งมีอัตราโทษหนักสำหรับประชาชนวิสาหกิจชุมชนที่มีข้อสงสัยอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องกัญชากัญชงสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ใกล้บ้านหรือโทรศัพท์มาได้ที่สายด่วนอย. 1556 กด 3 ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” (14มีนาคม2564)ว่า หากมีการผลักดันให้ใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และหากมีการจำหน่ายในรูปแบบเชิงพาณิชย์ เชื่อว่าตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์ของไทยจะมีมูลค่าราว 3,600-7,200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่า ท่ามกลางการช่วงชิงของกลุ่มทุนในตลาดกัญชา และข้อกังขาในเรื่องของการส่งเสริมให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ในประเด็นเรื่องของขั้นตอนการขออนุญาตต่างๆนั้น รัฐบาลจะทำอย่างไรเพื่อสร้างกลไกให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้จากกัญชาอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่อยู่ได้