สิทธิสตรีได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 27 “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม” วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล ที่สตรีทั่วโลกจะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม สำหรับประเทศไทย การส่งเสริมความเท่าเทียมของสตรี ที่เป็นรูปธรรมปัจจุบันคือ โอกาสทางการศึกษา การเข้าสู่ระบบราชการ หลายหน่วยงานเปิดกว้างมากขึ้น ที่ผ่านมามีการแก้ไขกฎหมาย ที่สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชายกับเพศหญิง คือกรณี การใช้คำนำหน้านาม เนื่องจากก่อนหน้านี้เพศชายไม่ว่าจะมีการสมรสแล้วหรือไม่ จะใช้คำหน้านามว่า “นาย” เหมือนกัน ทั้งก่อนและหลังสมรส ในขณะที่เพศหญิง ก่อนสมรสใช้คำหน้านามว่า “นางสาว” แต่หากสมรสแล้วต้องเปลี่ยนเป็น “นาง” ทำให้ถูกเลือกปฏิบัติ เช่นการหางานทำ สำหรับสตรีที่บุตรแล้วมักถูกปฏิเสธการจ้างงานเป็นต้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคำนำหน้านาม พ.ศ.2551 กำหนดให้หญิงที่มีอายุ 15 ปีบขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” หญิงซึ่งจดทะเบียนแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยแจ้งต่อนายทะเบียน หากหย่ากันแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ตามความสมัครใจอีกเช่นกัน ขณะที่สภาพสังคมในปัจจุบัน ผู้หญิงไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียง “หลังบ้าน” ทำงานบ้านดูแลสามีและคอยเกื้อหนุนอยู่เบื้องหลังเท่านั้น หากแต่ผู้หญิงจำนวนมากที่กลายเป็น “เสาหลัก” ออกไปทำมาหาเลี้ยงครอบครัว หลายองค์กรผู้หญิงได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ผู้บริหาร ทั้งในภาครัฐ และเอกชน มีข้อมูลปรากฎด้วยว่า ประเทศไทยมีผู้นำหญิงระดับองค์กร เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือซีอีโอ มากถึง 40% มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบสูงสุดด้านบัญชีและการเงินขององค์กรหรือ ซีเอฟโอ ประมาณ 42% สูงสหรัฐอเมริกาที่มีผู้หญิงเป็นซีอีโอเพียง 5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีการส่งเสริมบทบาทความเสมอภาคและความเท่าเทียมของสตรี หากแต่ด้วยหลากหลายปัจจัย ผลักดันให้สตรีจำนวนมากเช่นกัน เลือกที่จะทำอาชีพเสี่ยง เช่น กรณีที่เลือกรับงานเอนเตอร์เทน ซึ่งเป็นที่นิยมและมีรายได้สูง ขณะที่บางรายต้องพาตัวเองไปพบกับจุดจบจนเป็นข่าวดังเมื่อปีที่แล้วและเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า มายาคติของสังคมที่มองสตรีเป็นวัตถุทางเพศ