ชัยวัฒน์ สุรวิชัย วันนี้พูดเรื่อง “ การชุมนุมเพื่อหัวหน้าทักและผลประโยชน์” กับ “ การชุมนุมปกป้องชาติศาสน์กษัตริย์” ซึ่งความจริงมีความชัดเจน ผู้อยู่ในเหตุการณ์และได้รับผลกระทบ ต่างรู้ดีหมด: ว่ามันเป็นเช่นไร ข่าวที่ออกทางสื่อสารมวลชน ทางทีวีรายงานสด ทำให้ประชาชนเห็น ใครถูกใครผิด แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลนอมินี ความจริงก็ถูกอำนาจรัฐเปลี่ยนกลับไปตรงกันข้าม ใช่แล้วครับ วันนี้จะพูดถึง “ การชุมนุม ของ 2 ฝ่าย ที่มีความแตกต่างกันมาก เห็นผิดถูกชัดเจน “ 1. การชุมนุมของพธม. ปี 2551 โดยเฉพาะกรณี การสั่งสลายการชุมนุม 7ตุลา 2551 2. การชุมนุมบุกทำลายการประชุมอาเซียน + 6 ที่พัทยา ปี 2552 การชุมนุมปิดกรุงเทพ ยิงทหารประชาชนตายบาดเจ็บ และเผาบ้านเผาเมือง ปี 2553 - เรื่องง่ายๆที่มีความชัดเจน เช่น โลกกลม ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก คนทั่วโลกในยุคปัจจุบัน ต่างรับรู้และเป็นที่ยอมรับ เป็นที่ประจักษ์ในความถูกต้องเป็นจริง หาก มีใครมาบอก หรือแม้แต่พ่อมดแม่มด ผีร้ายซาตานมาบอกว่า “ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก “ คนทั่วโลกและคนทั่วไทย “ ก็จะ หัวเราะเยาะ “ และกล่าวว่า “ คนนั้นเมาหรือเสียสติไปแล้ว “ แต่บางครั้งบางเรื่องในยุคปัจจุบัน มีเรื่องราวที่แปลกประหลาดใจเกิดขึ้น อ้อ ในสังคมไทยนี้ ที่มี “คนๆหนึ่งและคนกลุ่มหนึ่ง “ บอกกับประชาชนและสาวกบริวารของเขาว่า “ โลกนี้แบน “ กลับมีคนเชื่อ และเชื่อแบบหัวชนฝา โดยไปกล่าวหาว่า “ คนที่บอกว่า โลกกลม “ เป็นฝ่ายผิด เรื่องโลกกลมนี้ อย่าไปคิดว่า “ เป็นเรื่องที่ชาวโลก รับรู้กันมานานแล้ว ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา เพราะในยุคมืดของโลกยุโรป “ ผู้มีอำนาจทางศาสนาและทางโกล “ บอกว่า “ โลกแบน “ เพราะ เป็นความเชื่อของพวกเขา และพวกเขาก็ได้ประโยชน์มากมายจากคนไม่รู้ ฉะนั้น เมื่อ “ กาลิเลโอ “ ออกมาประกาศว่า “ โลกกลม “ พวกเขาจึงลงโทษกาลิเลโอจับไปขัง - มาพิจารณา หลักคิดหลักยึด ของแต่ละฝ่าย ที่ตัวเชื่อถือ และทำให้สังคมคล้อยตาม หนึ่ง . ฝ่ายทักษิณ นอมินี พรรคเพื่อไทย นปช. …….. ก. เรื่องที่สนับสนุนเขาและพวกพ้องบริวาร 1. อำนาจประชาธิปไตยเลือกตั้งแบบตะวันตก ที่ถือว่า “ เป็นอำนาจสูงสุด “ เหนืออำนาจใดๆในสังคม 2. อำนาจฝ่ายบริหาร รัฐสภา ตำรวจ อัยการ ข้าราชการ 3. อ้างความเป็นนโยบายของรัฐ นโยบายประชานิยมโกงชาวนาโกงรัฐ สามารถทำได้ ไม่มีผิด 4. ประชาชน ที่เลือกตั้ง “ พวกเขา เข้ามาเป็นตัวแทน จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ 5. ศาล อัยการ ตำรวจ ฯ กรณีที่เขาได้ประโยชน์ ในการฟ้องร้องฝ่ายอื่นๆที่ขัดแย้งกับเขา ข. เรื่องที่ใช้โจมตีหรือทำลาย ความเชื่อต่อฝ่ายที่กระทำเขา หรือตรงกันข้ามกับเขา 1. การอคติต่อสถาบันหลักของชาติศาสน์กษัตริย์ ของกลุ่มซ้ายจัด หรือกลุ่มที่ไม่เอา ฯลฯ 2. เผด็จการกองทัพ ทั้งในการรัฐประหาร หรือ ในช่วงที่เขาเป็นรัฐบาลและกองทัพไม่สนับสนุน 3. ทัศนะของประเทศตะวันตก องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มสิทธิมนุษย์ชน ……. ที่ไม่สนผลของการบริหารของรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มุ่งแต่คัดค้านการรัฐประหารของกองทัพ ค. หลักการสร้างความศรัทธา ความเชื่อในตัวผู้นำ และความเกลียดต่อฝ่ายตรงข้ามกับเขา 1. การใช้อำนาจรัฐ อำนาจเงิน อำนาจสื่อ อย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการ 2. ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ก็ดึงเข้ามาร่วมรัฐบาล ส่งเสริมสนับสนุน และมีผลประโยชน์ร่วม 3. ผู้ที่ขาดข้อมูล ก็ใส่ข้อมูลจริงและเท็จให้ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ 4. ผู้ที่ขาดในเรื่องทุนและทรัพย์ จะใช้งบประมาณรัฐ นโยบายประชานิยม โดยไม่สนว่าผิดหรือถูก 5. ผู้ที่มีอคติต่อสถาบันและกองทัพ ก็จะให้ข้อมูลทางลบ และแสดงตัวเป็นผุ้นำต่อต้านฯ สอง ฝ่ายที่รักชาติรักประชาธิปไตย ที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติมาก่อน 1. ใช้ความจริงใจ บริสุทธิ์ ต่อประชาชนและบ้านเมือง แต่ทำเฉพาะช่วงที่มีวิกฤต 2. เอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติมาก่อน โดยไม่สนใจว่าจะเป็นรูปแบบใด 3. ยึดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักกติกาสูงสุดของบ้านเมือง คือ รัฐธรรมนูญ - การนำเสนอในเรื่องรัฐธรรมนูญ 1. จะนำหลักการที่สำคัญและเกี่ยวข้องของรัฐธรรมนูญมานำเสนอ 2. นำความคิดเห็นของผู้รู้จริงและมีประสบการณ์ในเรื่องรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาเสนอ อนึ่ง ใช้หลักการของรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนมของประชาชน คือ รธน. 2550 - 1. รัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนที่ 1. บททั่วไป มาตรา 22 (การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐ) การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 27 (ความคุ้มครองและผูกพันของสิทธิและเสรีภาพ) สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง มาตรา 28 (การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพ) บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้ มาตรา 29 (การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ) การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรธน.ที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม มาตรา 3 ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม มาตรา 63 (เสรีภาพในการชุมนุม) บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ มาตรา 64 (เสรีภาพในการรวมกัน) บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 (การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย) บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการ ดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว มาตรา 69 (การต่อต้านโดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 71 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย