สมัยก่อนกระแสสังคมทางการเมืองมักเกิดจากการกระตุ้นของสื่อสารมวลชน นั่นคือสื่อมีอทธพลมาก ปัจจุบันสื่อก็ยังมีพลังจุดนี้อยู่ แต่ลดน้อยลง เนื่องจากสังคมเกิดมีทางเลือกในการสื่อสารกันมากขึ้น สื่อมีช่องทางมากมาย กระจายผู้รบสื่อแบบแบ่ง ๆ กันไป คนที่จะเกาะติดอยู่กับสื่อใดสื่อเดียวแบบสมัยก่อน ลดน่อยลไปมากมาก อีกทั้งอิทธิพลของสื่อโซเชียลมีเดียเพิ่มสูงขึ้น อาจจะสร้างกระแสข่าวให้ฮือฮาแรง ๆ ได้เป็นช่วงระยะสั้น ๆ แต่การกระจายของสื่อและความเป็นส่วนตัวองโซเชียลมีเดียนั้นเอง กลับทำให้สังคมเกิด “มติมหาชน” ที่มีพลังยาวนานสร้างความเปลี่ยนแปฃลงทางสังคม อะไรที่ดูคล้าย ๆ มติมหาชนในทุกวันนี้นั้น เกิดเร็วแล้วจบเร็ว และมักจะไม่อยู่นานจนพิสูจน์ได้ว่า ความคิดเห็นที่แสดงออกมานั้น ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัญหาว่า “มติมหาขนคืออะไรกันแน่ ถ้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับแสดงความคิดเห็นตรงกัน เรื่องนั้นจะเป็นมติมหาชนหรือไม่ ? เสียงข้างมากในจำนวนพลเมือง เป็นมติมหาชนหรือไม่ ? เรื่องนี้คงจะต้องโต้แย้งกันมากมาย ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2493 เนื้อความส่วนหนึ่งว่า “มติมหาชนนั้นเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนาสาธารณะ และในระบอบประชาธิปไตยนั้น เจตนาสาธารณะเป็นเจตนาอันเดียวที่กำหนดการกระทำทั้งหลายทั้งปวง อันเดี่ยวกับสาธารณประโยชน์ เจตนาสาธารณะนั้นมีได้แต่เพียงอย่างเดียว คือเพื่อประโยชน์ของสังคม เพราะเจตนาสาธารณะเป็นเจตนาของสังคมส่วนรวม เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องเป็นเจตนาที่สุจริตและกอรปไปด้วยเหตุผล เจตนาของบุคคลที่สุจริตและกอรปไปด้วยเหตุผลนั้น จะมีไปในทางทำลายตนเองมิได้ฉันใด เจตนาสาธารณะก็ฉันนั้น ผิดกันแต่ว่าบุคคลแต่ละคนนั้นอาจมีสติวิปลาสคลาดเคลื่อนไปได้ แต่สังคมนั้นจะมีสติวิปลาสมิได้ เพราะสังคมหมายถึงคนทั้งชาติ ถึงแม้ว่าจะมีบุคคลบางหมู่บางคณะที่วิปลาสไป ก็ย่อมจะยังมีคนดีเหลืออยู่บ้าง เจตนาสาธารณะจึงต้องเป็นไปในทางดีเสมอ การแสดงออกซึ่งเจตนาสาธารณะนั้น ย่อมกระทำได้ด้วยมติ แต่จะถือเอามติของบุคคลใดเป็นประมาณ หรือมติของคณะบุคคลใดเป็นประมาณ หรือมติของคณะบุคคลใดเป็นประมาณก็ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น มติของบุคคลนั้นย่อมประกอบด้วยอารมณ์และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อันชักนำให้บังเกิดอุปาทาน ยึดถือในเหตุผลที่ถูกบ้างผิดบ้าง ฉะนั้นจึงจะถือว่ามติของคน ๆ เดียว เช่น นายกรัฐมนตรี เป็นมติมหาชนก็ไม่ได้.... มติใด ๆ อันจะแสดงออกซึ่งเจตนาสาธารณะนั้น จึงจะต้องดูผลนั้นเป็นบรรทัดฐาน ถ้าหากผลแห่งมตินั้นเป็นผลดีแก่สังคมเป็นส่วนรวม มตินั้นก็เรียกได้ว่าเป็นมติมหาชน แต่ถ้าผลนั้นบังเกิดเป็นผลร้าย มตินั้นจะเป็นมติมหาชนก็หามิได้ ไม่ว่ามตินั้นจะมาจากคนข้างมากทั่วประเทศ หรือเสียงข้างมากของรัฐสภา หรือของคณะรัฐมนตรีด็ตาม แต้ทั้งนี้จะได้แสดงให้เห็นว่ามติมหาชนนั้นไม่มีก็หาไม่ มติมหาชนยิ่อมมีอยู่โดยสมบูรณ์ และบุคคลใดหรือรัฐบาลใดที่บังอาจฝ่าฝืนมติมหาชน บุคคลนั้นหรือรัฐบาลนั้นก็จะต้องมีเหตุอันเป็นไป ดังที่รัฐบาลอื่น ๆ และบุคคลอื่น ๆ ต้องประสบมาแล้ว”