ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 5. เหตุการณ์ 17 พฤษภาคม 2535 คู่ขัดแย้ง (1.) เริ่มต้นด้วยอดอาหาร ของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และต่อมา พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรม)ตัวหลักคือ พรรคพลังธรรมและชาวสันติอโศก และ ประชาชนคนชั้นกลางเป็นหลัก( ม๊อบมือถือ ) และมีส่วนร่วมฯจาก ครป. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และ พรรคเทพ อื่นๆ พรรคเทพ คือพรรคฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกฯของ พลเอกสุจินดา ผู้นำ รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ตระบัตรสัตย์มารับเป็นนายกฯ โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ : ความหวังใหม่ประชาธิปัตย์ พลังธรรม และพรรคเอกภาพ (2.) คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) รัฐบาลสุจินดา และพรรคมาร พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา พรรคสามัคคีธรรม ชาติไทย กิจสังคม ประชากรไทย ราษฎร เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่มีพลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี และการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย เมื่อกุมภา2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในเวลาต่อมาในหลวงรัชการที่ 9 ได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชั่วคราวอีกครั้งก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา หมายเหตุความจริงที่ไม่ได้บันทึก แกนนำใหญ่พรรคหนึ่ง ไปใช้ รร.Golden Horseประชุม แต่มีข่าวทหารบุก ก็ได้หลบไป(อ้างว่าไปวางแผนสู้)กลุ่มแกนนนำที่มีชื่อบางกลุ่ม พยายามสร้างวาทกรรมสวย แต่เวลาเกิดการต่อสู้ ไม่ได้สู้จริง ในระหว่างเหตุการณ์แหลมแกนนำบางส่วนหลบออกไปจากเหตุการณ์ บางส่วนไปต่างประเทศ มีการปล่อยข่าวลือว่า “ จะมีอดีตทหารใหญ่ที่มีบทบาทสูง “ จะยกกำลังมาช่วย (ความจริงถูกบล๊อคตัวไว้ ) หลังเหตุการณ์ มีการเลือกตั้งใหญ่ มีแกนนำพรรคการเมืองใหญ่ ปล่อยข่าว “ จำลองพาคนไปตาย “ เศร้า! 6. 11 ตุลาคม 2540 กลุ่มธงเขียว ( รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ) รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เกิดจากการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนกลุ่มต่างๆโดยใช้สัญญาลักษณ์ธงเขียว มีผลทำให้ นายกฯบรรหาร แต่งตั้ง คกก.ปฏิรูปการเมืองและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรธน.ขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรธน. จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และ 23 คน มาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรธน.ที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้มาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร 7. พธม. 2548-9 และ 2551-2552 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ต่อมาปลายปี 2548 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่เคยร่วมมือกับทักษิณและเกิดขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้มาร่วม มีจุดประสงค์ในการขับ รัฐบาล ทักษิณ และนอมินี ” สมัคร-สมชาย ” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากบริหารประเทศโดยระบอบทักษิณ ไม่โปร่งใส ใช้อำนาจมิชอบ กอบโกยผลประโยชน์ของใส่ตัว ครอบครัวและพวกพ้อง มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการขายหุ้นชินคอร์ป มูลค่า 73,000 ล้าน …… การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในการปราบปรามการชุมนุมของประชาชนอย่างรุนแรงในกรณีตากใบ-กรือเซะ และการกวาดล้างขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน ฯลฯ มี 5 แกนนำ : สนธิ ลิ้มทองกุล,พลตรีจำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย ,สมศักดิ์ โกศัยสุข ,สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และผู้ประสานงาน คือ สุริยะใส กตะศิลา ครั้งแรก 2548-2549 จบด้วยเหตุการณ์รัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ครั้งที่สอง ปี 2551-2 กลุ่มพธม. กลับมาชุมนุมใหญ่อีกครั้งในกรุงเทพฯ ในปี 2551 เพื่อกดดันให้นายกสมัคร และสมชาย พรรคพลังประชาชนออกจากตำแหน่ง จากการใช้อำนาจมิชอบฯ จบลงด้วย คำพิพากษาของคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ ยุบ พรรคพลังประชาชน พธม.ประกาศยุติบทบาทตัวเองที่ห้องส่งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ในวันที่ 23 สิงหา 2556 8. กลุ่มเสธอ้ายองค์การพิทักษ์สยาม (: อพส.) เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนที่รวมตัวกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปี 2555 โดยมีเหตุผลหลัก คือ รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล เป็นต้น นำโดย พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ (เสธ.อ้าย) พลเรือเอก ชัย สุวรรณภาพ พลอากาศโท วัชระ ฤทธาคนีฯลฯ กลุ่มสันติอโศก ชาวพธม. เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (กลุ่มเสื้อหลากสี) ฯลฯ เปิดตัวขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่ท้องสนามหลวง และมีการชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ 2 ครั้ง ( 1 ) วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่ราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง คนเข้าร่วม 30,000 คน ( 2) วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า 9. กปปส. คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข PDRC ปี 2556-2557 วัตถุประสงค์ ขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และปฏิรูปประเทศ แกนนำ คือกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณแบะแกนนำบางปีกของพรรคประชาธิปัตย์ และภาคส่วนต่างๆ ต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่า “ เป็นการชุมนุมใหญ่ ที่มีมวลมหาประชาชนเข้าร่วมเรือนล้าน” และมี การจัดตั้ง “ กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ “ ( กปท .) นำโดย คณะเสนาธิการร่วมโค่นระบอบทักษิณ" ที่มีพลเอก ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ ฯลฯ เป็นผู้นำ 10 .ยุครัฐบาลประยุทธ คสช กับ แม่น้ำ 5 สาย ( 2557- ปัจจุบัน ) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (National Council for Peace and Order (NCPO) มีการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง 22 พฤษภา 2557 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองการใช้อาวุธ รุนแรง หยั่งลึกสู่ระดับประเทศและครอบครัวคนไทย การใช้อำนาจการปกครองของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถทำได้ ไม่แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก มีปัญหาทุจริต และการใช้อำนาจมิชอบธรรม ขัดรัฐธรรมนูญ มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม การแก้ไขวิกฤต และการบริหารประเทศ โดยจัดตั้ง แม่น้ำ 5 สาย คือ 1.คสช. 2. รัฐบาล 3. สนช. 4. กรธ. 5. สปช.( สปท. ) • ที่นำมาเสนอข้างต้น เป็นการเสนอภาพกว้างๆ หากใครสนใจเจาะลึก จะต้องไปศึกษาค้นคว้าต่อไป • ณ ที่นี้ จะขอสรุปบทเรียนสำคัญที่เป็นจริง ซึ่งหลายฝ่ายไม่เคยพูดถึงหรือยอมรับ 1. ความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงสถานการณ์ พลังของประชาชน มีความจำกัด ทั้งในด้านคุณภาพของการต่อสู้ ทั้ง ผู้นำ และ ประชาชนผู้เข้าร่วม กำลังหลักที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ( ชั่วคราว ) เป็นกำลังของกองทัพ และการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ซึ่ง ก็มีความจำกัด ในด้านวิสัยทัศน์ ความเป็นผู้นำระดับรัฐบุรุษที่กล้าเสียสละกล้าตัดสินใจ ( มีไม่พอ) 2. กรณีผู้นำจากกองทัพ ที่ยอมยุติเหตุการณ์ เพราะมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผิดกับผู้นำพรรคการเมืองที่มาจากเลือกตั้ง ที่อ้างมาจากประชาชน จะไม่ยอมยุติเหตุการณ์โดยการลาออก ทำให้ความขัดแย้งที่ถึงขั้นวิกฤต ไม่มีทางออก ฯ 3. บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเข้าร่วมแก้และคลี่คลายวิกฤต จะโดดเด่นมากในรัชกาลที่ 9 4. ผู้นำของทุกฝ่าย ฯ ทั้ง กองทัพ พรรคการเมือง ภาคประชาชน มักจะอ้าง “ประชาชนมาก่อน” แต่ความเป็นจริง ประชาชนเป็นเพียงข้ออ้าง ทุกฝ่ายเอาความคิดและผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก ที่มักอ้างข้อมูลเบื้องสูงหรือข้อมูลลับ มักจะมิใช่ของจริง แต่เป็นการโกหกไม่บอกความจริงประชาชน 5.ผู้นำการต่อสู้ที่เด็ดเดียว มีความกล้าหาญเสียสละจริง ประเภท ยามศึกออกหน้า ยามชนะอยู่ท้าย มีน้อย เกิดสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเพลี้ยงพล้ำ จะหลบออกไปหรือหนีไปต่างประเทศ ด้วยข้ออ้างสารพัดฯ 6. ผู้นำที่มีอุดมคติ มักจะเป็นฝ่ายเสียสละเสมอ ยามศึกออกหน้า ยามสงบอยู่หลัง ผู้นำบางส่วน ที่มีส่วนร่วมบางระดับ แต่มักจะเข้าเสนอตัว และได้ตำแหน่งหน้าที่ทางรัฐสภารัฐบาล 7. ประชาชนที่มีอุดมคติ เอาจริง ต้องตระหนักว่า “การสร้างประชาชนให้มีคุณภาพ” ที่มีจำนวนมากพอ จะเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ ในการตรวจสอบถ่วงดุลหรือการเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาได้จริง 8. ประเทศไทยจะสามารถเปลี่ยนแปลงปฏิรูปได้จริง ต้องมีผู้นำระดับรัฐบุรุษ มีวิสันทัศน์ กล้าตัดสินใจ 9. ปู่จิ๊บ ยังคงมีความหวังและความเชื่อมั่น ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยได้เสมอ