รศ. ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากรายงานของ Worldometers พบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกล่าสุดทะลุ 100 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 2 ล้านคน และรักษาหายแล้ว 72 ล้านคน โดย 5 ประเทศแรกที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ 14,646 คน และ เสียชีวิตแล้ว 75 คน และรักษาหาย 10,892 คน (ข้อมูลการแถลงข่าว ศบค. 26 ม.ค. 2564) นับตั้งแต่มีการพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในไทยเมื่อเดือนมกราคม 2563 หรือประมาณปีเศษ ๆ การพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 เป็นเรื่องใหม่และเร่งด่วน โดยที่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีแต่การขึ้นทะเบียนให้กับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกกลุ่มชนิดของวัคซีน สำหรับประเภทของวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ผ่านการทดลองและให้ใช้ในมนุษย์ในภาวะปกติและฉุกเฉิน มี 3 กลุ่ม จาก 5 ประเทศมหาอำนาจคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และจีน ได้แก่ 1) mRNA ชิ้นส่วน สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ – บริษัท ไฟเซอร์กับไบโอเอ็นเทค และบริษัท โมเดอร์นา (Moderna) จากสหรัฐอเมริกา 2) ไวรัส Vector เชื้อไวรัสไข้หวัดทั่วไปที่อ่อนแอ – แอสตราเซเนกา (AstraZineca) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด อังกฤษ และ Spuknic V จากรัสเซีย และ 3) เชื้อที่ตายแล้ว – Sinovac และ SinoPharm จากจีน โดยวัคซีนทั้ง 3 กลุ่มต้องฉีด 2 โดส ผลจากการศึกษาวิจัยจะให้ประสิทธิผลประมาณ 90% แต่เมื่อนำไปใช้จริงประสิทธิผลจะต่ำลง ส่วนผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนของคนทั่วไป เช่น อ่อนล้า ปวดหัว ปวดเมื่อย เป็นไข้ ส่วนผู้ที่มีอาการแพ้ เช่น ผื่นขึ้นตามร่างกาย อาเจียน หายใจติดขัด หน้าบวม และมีรายงานการเสียชีวิตของผู้ฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศนอร์เวย์ด้วย ความคืบหน้าล่าสุดของการให้วัคซีนต้านโควิด-19 ทั่วโลกมีมากกว่า 66 ล้านโดส โดยประเทศที่ให้วัคซีนมากที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราส่วนของประชากรคือ อิสราเอล ถึง 1 ใน 3 และเป็นวัคซีนของบริษัท Pfizer (ไฟเซอร์) ที่พัฒนาร่วมกับไบโอเอ็นเทค (BioNTech) รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้วัคซีนไปแล้ว 20% ของประชากร ซึ่งเป็นวัคซีนจากบริษัทเภสัชภัณฑ์ของรัฐบาลจีน “ซิโนฟาร์ม” (SinoPharm) สำหรับการติดตามผลการให้วัคซีนที่น่าสนใจของอิสราเอลระบุว่า ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขี้นไป มีอัตราป่วยลดลง ส่วนการติดตามผลการให้วัคซีนจากประเทศอื่น ๆ จะมีเพิ่มขึ้นต่อไป สำหรับประเทศไทยจะเริ่มมีการให้วัคซีนต้านโควิด-19 โดยรัฐมีเป้าหมายฉีดวัคซีนให้คนไทยฟรีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากร หรือประมาณ 70 ล้านโดส สัญญาณล่าสุดไทยจะเริ่มฉีดเข็มแรก “วันวาเลนไทน์” 14 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ คนไทยอยากฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 จริงหรือ? (คำถามที่ทุกคนอยากรู้จริง ๆ) ประเด็นนี้น่าจะได้คำตอบจาก ผลการสำรวจของ “สวนดุสิตโพล” ที่กำลังเก็บข้อมูลจากคนไทยทั่วประเทศ คงจะได้รู้กันละว่า - คนไทยรู้จักวัคซีนโควิด-19 แต่ละบริษัทมากน้อยเพียงใด? - คนไทยกังวลเรื่องใดบ้าง? เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 * สำคัญที่สุด “คนไทยต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19” ประมาณกี่ % (ที่แน่ ๆ ตอนนี้เก็บข้อมูลไปแล้วกว่า 1,000 ตัวอย่าง ข้อมูลที่เป็นตัวเลขกลม ๆ) * ต้องการฉีด 70% แต่ต้องขอดูผลข้างเคียงก่อน ! ไม่ต้องการฉีด ประมาณ 15% (ทำไม? เป็นเพราะอะไร?) ติดตามข้อมูลอย่างละเอียดได้ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (31 ม.ค. 64) คงต้องติดตามกันละครับ !