ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลจีนและรัสเซียอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ไม่จำเป็นต้องปิดบังมิดเม้มอะไรกันอีก ในด้านยุทธศาสตร์โลก สหรัฐอเมริกามีมหาสมุทรรอบข้างสองด้าน จึงมีความได้เปรียบจีนวซึ่งติดมหาสมุทรด้านเดียว และได้เปรียบรัสเซียอย่างมาก เพราะรัสเซียออกทะเลสากลลำบาก ทฤษฎีนี้ช่วยให้ผู้กุมอำนาจรัฐสหรัฐมั่นใจว่าสหรัฐจะเป็นมหาอำนาจโลกได้ตลอดกาล แต่เมื่อจีนคิดยุทธศาสตร์ “ทางสายไหมใหม่ “ OBOR - หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จะลุยสร้างโลจิสติกเชื่อมต่อจีน-เอเชียใต้ -เอเชียกลาง -ตะวันออกกลาง ไปถึงยุโรและอัฟริกา แก้จุดอ่อนของตนที่เสี่ยงกับการถูกปิดล้อมทางทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิค และอภิโครงการเส้นทางสายไหมใหม่นั้นทำท่าจะก้าวหน้าดีเสียด้วย สหรัฐอเมริกาย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อขัดขวาง เราจึงเป็นห่วงว่าจะเกิดสงครามตัวแทนขึ้นในภูมิภาคหลายจุดในอนาคต ได้แก่ คาบสมุทรเกาหลี , เกาะเซนคุกุหรือเตี้ยวอวี๋ไถ , หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ , ชายแดนยาวเหยียดระหว่างจีน-อินเดีย-ปากีสถาน ฯ และล่าสุดมีเรื่องที่ไม่น่าเป็นเรื่องคือกรณีชายแดน สตรึงเตรง(เชียงแตง)ระหว่างกัมพูชากับลาว ตามข่าวว่า เมื่อเดือนเมษายน ลาวส่งทหารเพียงสามสิบนายเข้าไปขัดขวางการตัดถนนในพื้นที่ชายแดนที่ยังมิได้ตกลงปักปันเขตแดนกัน แต่ในสัปดาห์ก่อน กัมพูชาเคลื่อนกำลังพลถึงห้าพันนายพร้อมอาวุธหนักเข้าประชิดชายแดนตรงที่มีกรณีพิพาท แม้ว่าพื้นที่บริเวณนั้น จะเป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ฝรั่งเศสตัดดินแดนเชียงแตงของอาณาจักรล้านช้างไปขึ้นกับกัมพูชา แต่ก็น่าสงสัยว่า ทำไมสถานการณ์จึงบานปลายขยสยรุนแรงอย่างรวดเร็วกระทันหัน ผู้คนจึงมักจะมองไปเบื้องหลัง อันเป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชาใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนเป็นพิเศษ ส่วนรัฐบาลลาวก็มีนโยบายทางการเมืองเดินตามรัฐบาลเวียดนามแน่นอนอยู่แล้ว รัฐบาลเวียดนามอ้างปมประวัติศาสตร์เดีดยฉันท์คนจีน ข้อนี้แป็นที่เปิดเผยชัดเจนไม่ต้องปิดบังกัน และปัญหาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ กองเรือของจีนกับเวียดนามก็เคยปะทะกำลังอาวุธกันมาแล้ว กรณีหมู่เกาะทะเลใต้ เวียดนามจึงเอียงไปอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาแน่นอน และในปีหน้าเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาก็จะได้ไปจอดทอดสมอในเมืองท่าของเวียดนามเป็นครั้งแรกหลังจากสหรัฐพ่ายพ้ในสงครามเวียดนาม การยินยอมต้อนรับเรือบรรทุกเครื่องบินของศัตรูเก่านี้ มีแถลงการณ์ยืนยันเมื่อวันที่ 7 ส.ค โดย พล.อ.เจมส์ แมททิส รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐและ พล.อ.โง ซวนหลิก รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม เห็นพ้องระหว่างการพบกันที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เมื่อเดือนกรกฎาคมก็เกือบจะเกิดการปะทะกันระหว่างจีนกับอินเดีย จีนอ้างว่าทหารอินเดียตั้งค่ายรุกล้ำชายแดนใกล้ภูฎาน อินเดียก็อ้างว่าจีนตัดถนนรุกล้ำชายแดน ปัญหาพิพาทระหว่างอินเดียกับจีนนั้นเคยเป็นสงครามเล็ก ๆ มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2494 และนอกจากน้นจีนยังใกล้ชิดให้การสนับสนุนปากีสถานมาก ทำให้อินเดียไม่พอใจ เพราะอินเดียกับปากีสถานแทบจะกลายเป้น “คู่แค้นถาวร” ไปแล้ว เรื่องหลายเรื่องข้างต้น จะมองว่ามันเป็นแผลเก่า ที่บังเอิญมาปะทุกันตอนนี้ เพราะทุกประเทศกำลังเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนกันก็เป็นไปได้ แต่ก็มีสิทธิ์ว่า มีเบื้องหลังมากกว่านั้น คือเป็นแผนเสี้ยมให้ประเทศรายล้อมจีนเปิดศึกกับจีน อันจะเป็นพันธนาการป้องกันมิให้จีนขยายอิทธิพลท้าทายสหรัฐอเมริกาได้ “สงครามตัวแทน” นั้นมีแต่ผลร้าย ขออย่าให้มันเกิดขึ้นจริงเลย บทเรียนจากประวัติศาสตร์ก็มีสั่งสอนอยู่แล้ว