ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพบหนี้ครัวเรือนไทยปี 2563สูงถึงครัวเรือนละ 483,950 บาท เพิ่มขึ้น 42.3% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 12 ปี มาจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั้งภาคครัวเรือน และธุรกิจ ที่ทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งประชาชนขาดรายได้จากการให้ออกจากงาน และมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น ผ่อนสินค้ามากเกินไป ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น โดยจำนวนหนี้ มีภาระผ่อนชำระเฉลี่ยเดือนละ 11,799 บาท ขณะที่ในปีนี้ หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มทะลุครัวเรือนละ 500,000 บาท แม้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะประเมินว่ายังสามารถควบคุมได้ เพราะส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้ในระบบ ขณะที่ในปี2562 ที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนทั้งหมดเป็นหนี้ในระบบ 75.3% นอกระบบ 24.7% เทียบจากปี 2562 ที่มีหนี้ในระบบ 59.2% นอกระบบ 40.8%” อีกด้านหนึ่งน.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่ามาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ขยายเวลาการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินออกไป โดยเลื่อนเวลาการชำระเงินหนี้ ยืดอายุหนี้ให้มีระยะเวลายาวขึ้น รวมถึงการให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องเพิ่มเติม น่าจะช่วยชะลอแรงกดดันจากการชำระคืนสินเชื่อลงบางส่วน ซึ่งจะมีผลทำให้ภาพรวมสินเชื่อในปีนี้อาจไม่ชะลอตัวลงมากแม้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศน่าจะสามารถประคองอัตราการเติบโตในกรอบ 3-4.5% ในปี 64 ขณะที่การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้การผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ของ ธปท. ที่จะมีผลถึงสิ้นปี และการเร่งจัดการหนี้เสียในเชิงรุกก็น่าจะช่วยชะลอเอ็นพีแอล ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลทยอยขยับขึ้นอยู่ที่ระดับ 3.53% ต่อสินเชื่อรวมสิ้นปี 64 นอกจากนี้การติดตามจำนวนลูกหนี้ที่เข้ามาตรการช่วยเหลือรอบใหม่ที่อาจจะกลับมาเพิ่มขึ้นตามแรงกระทบต่อเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างไตรมาสแรกปี 64 และไตรมาสที่ 2 ปี 64 โดยข้อมูลความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนนี้ นอกจากจะเป็นเครื่องชี้ระดับแรงกดดันที่มีต่อปัญหาคุณภาพหนี้ในพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มกลับมานิ่งขึ้นอีกครั้งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเนื่องมายังแนวทางการตั้งสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยอย่างไรก็ตามสถาบันการเงินยังคงติดตามดูแลและให้ความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการในแต่ละภาคธุรกิจ พื้นที่ของสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด กระนั้น เราเห็นภายใต้สถานการณ์เศรษฐิกิจที่มีความไม่แน่อน ธปท. และสถาบันการเงินต้องเร่งคลอดมาตรการออกมาช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้และการลดดอกเบี้ย เพื่อต่อลมหายใจลูกหนี้